อ็อกซีท็อกซินคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อ็อกซีท็อกซินคืออะไร?

อ็อกซีโทซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทเกี่ยวกับการคลอดและการให้นมทารก เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด อ็อกซีโทซินจะถูกสร้างขึ้นในส่วนของสมองที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ก่อนที่จะเก็บไว้ยังต่อมใต้สมอง การมีฮอร์โมนอ็อกซีโทซินในร่างกายตามธรรมชาติ จะช่วยกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณว่ากระบวนการคลอดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมหลังจากคลอดในมารดาอีกด้วย ในกรณีที่มีฮอร์โมนชนิดนี้ตามธรรมชาติไม่เพียงพอ แพทย์อาจให้ฮอร์โมนแบบสังเคราะห์ที่เรียกว่า Pitocin ทางเลือด เพื่อเพิ่มความแรงของการบีบตัวของมดลูกระหว่างการคลอด หรือเพื่อลดการเสียเลือดภายหลังจากการคลอด 

การใช้ฮอร์โมนอ็อกซีโทซินในแง่มุมอื่น

ในช่วงหลายปีมานี้ มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลของอ็อกซีโทซินต่อสมอง ที่สนับสนุนว่าฮอร์โมนนี้อาจมีบทบาทมากกว่าการคลอดและการให้นม โดยการทดลองในสัตว์และมนุษย์ พบว่าฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและพฤติกรรม เช่น การเลี้ยงดูลูก และยังมีความสามารถในการสลายความวิตกกังวลได้อีกด้วย 

อ็อกซีโทซินยังช่วยเพิ่มความรู้สึกในแง่บวกและทักษะทางสังคมไปพร้อมๆ กับการลดภาวะทางการรับรู้ ทางจิตเวชและทางพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น โรคซึมเศร้า อาการซึมเศร้าหลังจากอุบัติเหตุ (Post-traumatic stress disorder: PTSD) และโรคออทิสติก (Autism) อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักฐานทางคลินิกที่แสดงว่าการใช้อ็อกซีโทซินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคทางจิตเวชน้อย 

ปกติแล้ว อ็อกซีโทซินสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือผ่านการพ่น โดยมีชื่อการค้าว่า Pitocin และ Syntocinon โดยฮอร์โมนในรูปแบบพ่นมักใช้ในการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับผลทางด้านจิตเวชเป็นหลัก เนื่องจากยาในรูปแบบพ่นจะทำให้ฮอร์โมนสามารถเดินทางจากกระแสเลือดไปยังสมองได้ดีกว่ายาฉีด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)