กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โปรตีน (Protein) คืออะไร?

เนื้อเยื่อทุกๆส่วนของร่างกายนั้น ล้วนมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โปรตีน (Protein) คืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โปรตีน เป็นหนึ่งในสารอาหาร 5 หมู่ที่ทุกคนจะต้องได้รับ คุณสามารถหาสารโปรตีนได้จากเนื้อสัตว์หลายชนิด รวมถึงไข่ และถั่วชนิดต่างๆ
  • โปรตีนมีความสำคัญในการบำรุงดูแลร่างกายหลายด้าน เช่น ซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายที่สึกหรอ ทำให้ระบบอวัยวะ เนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานปกติ เสริมสร้างความเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก
  • หากรับประทานโปรตีนมากเกินไปจะทำให้เกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้นได้ เช่น ท้องอืด ตับมีปัญหา ท้องร่วง ความดันโลหิตต่ำ ไตทำงานหนักขึ้น เสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับไขข้อ
  • อาหารประเภทโปรตีนบางประเภทมีความเสี่ยงทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น นมวัว ไข่ อาหารทะเล ถั่วลิสง ถั่วเหลือง หากได้รับประทานอาหารเหล่านี้ คุณจะต้องสังเกตอาการตนเองว่า มีอาการแพ้ หรือรู้สึกผิดปกติอะไรหรือไม่
  • นอกจากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คุณควรต้องออกกำลังกายเป็นประจำ และหมั่นไปตรวจสุขภาพกับแพทย์เสมอ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร 

ในทุกๆ เซลล์บนร่างกายของเรา ตั้งแต่กล้ามเนื้อกระดูกไปจนถึงเส้นผม และขน ล้วนมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น 

โปรตีนคือ พอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่ประกอบกันเป็นสายยาว โดยมีมากกว่าถึง 20 ชนิด จัดเรียงตัวกันไปในแบบต่างๆ รวมถึงมีโครงสร้าง และหน้าที่แตกต่างกันไปตามการจัดเรียงนั้นๆ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
  • ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ รวมถึงสร้างเซลล์ใหม่
  • ช่วยให้อวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานอย่างปกติ
  • มีส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เม็ดเลือด ฮอร์โมน และเคมีสำคัญในร่างกาย
  • เสริมสร้างการเจริญเติบโต และพัฒนาการในเด็ก วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์

การรับสารโปรตีนเข้าสู่ร่างกาย 

เราสามารถรับโปรตีนเข้าร่างกายได้ง่ายที่สุด โดยการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนเข้าไป แล้วโปรตีนจะถูกย่อยสลายเป็นกรดอะมิโนในระบบทางเดินอาหารของร่างกายของเรา 

โปรตีนจะมีความแตกต่างไปจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรต และไขมันอย่างหนึ่ง คือ จะไม่เก็บสะสมอยู่ในร่างกาย หรือเป็นพลังงานสำรองที่กลับมาใช้ในคราวหลังได้

ดังนั้นคุณจึงต้องรับประทานโปรตีนให้เพียงพอทุกๆ วัน เพื่อให้ร่างกายสามารถดึงสารอาหารชนิดนี้มาใช้ได้อย่างเพียงพอ

ปริมาณการรับประทานโปรตีนของผู้คนแต่ละวัยจะแตกต่างกันไป ดังนี้

  • เด็กวัยรุ่นชาย และกลุ่มคนวัยผู้ใหญ่เพศชาย ควรได้รับโปรตีนประมาณ 7 ออนซ์ หรือประมาณ 200 กรัมต่อวัน
  • กลุ่มวัยรุ่นหญิง และกลุ่มคนวัยผู้ใหญ่เพศหญิง ควรได้รับโปรตีนประมาณ 6 ออนซ์ หรือประมาณ 170 กรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 2-6 ปี ผู้หญิง ผู้สูงอายุ ควรได้รับโปรตีนประมาณ 5 ออนซ์ หรือประมาณ 142 กรัมต่อวัน

หรืออาจคำนวณปริมาณโปรตีนที่ร่างกายแต่ละคนควรได้ในรับในแต่ละวัน จากสูตรต่อไปนี้  

0.8 x น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แหล่งอาหารที่พบโปรตีน

  • เนื้อสัตว์ต่างๆ สัตว์ปีก แต่ทางที่ดี คุณไม่ควรรับประทานในส่วนของหนังสัตว์ เพราะเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวที่อาจสะสม และไม่ดีต่อร่างกาย
  • เนื้อปลา นอกจากสารโปรตีนแล้ว เนื้อปลายังมีกรดไขมันโอเมกา-3 ด้วย ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยรักษาโรคร้ายต่างๆ ได้หลายชนิด
  • ไข่ 
  • ถั่วชนิดต่างๆ 
  • ธัญพืช เช่น จมูกข้าวสาลี ควินัว 

ตัวอย่างอาหาร ซึ่งมีโปรตีนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีดังนี้

  • ไก่งวง
  • เนื้อไก่ไม่ติดหนัง
  • เนื้อวัวไม่ติดมัน
  • เนื้อหมูไม่ติดมัน
  • ปลา หรือหอย
  • ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วพินโต ถั่วดำ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเลนทิล ถั่วแยก ถั่วชิกพี
  • เมล็ดพืชต่างๆ เช่น อัลมอนด์ ฮาเซลนัท ถั่วผสม เนยถั่ว เมล็ดทานตะวัน วอลนัท
  • ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้
  • อาหารไขมันต่ำต่างๆ

นอกจากการรับประทานสารโปรตีนให้เพียงพอ การพิจารณาปริมาณไขมันในอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนก็เป็นสิ่งสำคัญ 

ดังนั้นควรเน้นรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ อีกทั้งการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนมาก ยังช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และลดโอกาสการเกิดโรคร้าย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน มะเร็งบางชนิดได้

โทษจากการรับประทานโปรตีนมากเกินไป

เมื่อร่างกายมีโปรตีนสะสมมากเกินไป อาจเกิดภาวะต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ 

  • ปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ
  • ปวดท้อง
  • ท้องร่วง
  • เพิ่มโอกาสการเป็นโรคเกาต์ เนื่องจากกรดยูริคในร่างกายเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการอักเสบของข้อ
  • ความดันต่ำ
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  • ไตทำงานหนักมากขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ในร่างกายนี้ ทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการหมั่นตรวจเช็คสุขภาพขั้นพื้นฐานเป็นประจำ เช่น การตรวจเลือดเพื่อดูระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด การตรวจวัดระดับความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ  

หากพบความผิดปกติใดๆ ก็ตาม จะได้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรืออาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยา ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานของร่างกายกลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด หรือชะลอการดำเนินโรคไม่ให้ลุกลาม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โปรตีนกับการแพ้อาหาร

ความหมายของการแพ้อาหาร คือ อาการเจ็บป่วยที่เกิดจากปฏิกริยาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ตอบสนองต่อสารอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป 

อาการแพ้อาหารในคนแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่ส่วนมากอาหารที่มักทำให้เกิดอาการแพ้จะมีดังต่อไปนี้ สังเกตว่า อาหารหลายอย่างนั้นก็อุดมไปด้วยโปรตีน

อาการแพ้อาหารถือเป็นอาการร้ายแรงที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากคุณมีอาการผิดปกติจากการรับประทานอาหาร เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว คันในปาก หรือตามตัว หายใจไม่ออก ใบหน้า หรือลิ้นบวม คลื่นไส้อาเจียน ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

โปรตีนแม้จะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย แต่ก็ควรรับประทานโปรตีนให้หลากหลายทั้งโปรตีนจากพืชและจากสัตว์ ร่วมกับการรับประทานสารอาหารประเภทอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม 

อีกทั้งควรดูแลสุขภาพด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด ออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ควบคู่กันไปด้วย สุขภาพจึงจะแข็งแรงสมบูรณ์ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
24 ข้อดีของการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ
24 ข้อดีของการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ

การลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตส่งให้เกิดผลดี

อ่านเพิ่ม
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?

น้ำตาลจากมะพร้าวเหมาะสำหรับคนต้องการอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือไม่?

อ่านเพิ่ม