กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

นมวัว (Cow Milk)

นมวัวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ศึกษาได้จากบทความนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
นมวัว (Cow Milk)

นมวัว เป็นนมจากสัตว์ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคมากที่สุด เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของแคลเซียมและวิตามินหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันนมวัวมีให้เลือกหลากหลายมากขึ้น เช่น นมขาดมันเนย นมพร่องมันเนย นมวัวชนิดปราศจากแลคโตส นมเสริมเวย์โปรตีน เพื่อให้คนทุกเพศ ทุกวัย สามารถเลือกดื่มได้ตามความต้องการของร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของนมวัว

นมวัว 100 กรัม ให้พลังงาน 61 แคลอรี มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โปรตีน 3.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
ไขมัน 3.3 กรัม
น้ำตาล 5.1 กรัม
แคลเซียม 113 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 91 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 143 มิลลิกรัม
โซเดียม 40 มิลลิกรัม
โคลีน 14.3 มิลลิกรัม
โฟเลต 5 ไมโครกรัม
วิตามิน A 102 I.U.
วิตามิน D 40 I.U.
โอเมก้า 3 75 มิลลิกรัม
โอเมก้า 6 120 มิลลิกรัม

สรรพคุณของนมวัว

นมวัวมีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

  1. ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น การดื่มนมวัวในช่วงท้องว่างช่วยขับถ่ายได้คล่องขึ้น เนื่องจากนมวัวมีคาร์โบไฮเดรตที่เป็นน้ำตาลแลคโตส ช่วยควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายง่าย
  2. ช่วยซ่อมแซมและพัฒนากล้ามเนื้อ นมวัวมีโปรตีนและกรดอะมิโนหลายชนิด เช่น ลิวซีน ไอโซลิวซีน และลานีน ทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื้อภายในร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  3. บำรุงสายตา นมวัวมีวิตามินเอมีส่วนช่วยบำรุงสายตา ป้องกันความผิดปกติของประสาทตาที่เกิดจากการใช้งานหนัก ทำให้การมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น
  4. เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง แคลเซียมสูงและฟอสฟอรัสในนมวัว ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูกได้
  5. ลดการเกิดตะคริว นมวัวมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ช่วยขยายหลอดเลือด ลดอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว รวมถึงอาการปวดท้องประจำเดือนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้สบายตัวมากกว่าเดิม
  6. ช่วยลดน้ำหนัก นมวัวมีแคลอรีต่ำและมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก การดื่มนมในมื้อว่างจะช่วยให้อิ่มท้องและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอย่างอื่นอีก จึงช่วยให้น้ำหนักลดลงได้
  7. ลดอาการแสบร้อนกลางอก สารคาเซอีน (casein) ในนมวัว สามารถลดอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่เป็นกรด หรือการรับประทานเผ็ดเกินไปได้

แนวทางการใช้นมวัวเพื่อสุขภาพ

  1. บำรุงผิวหน้า เพิ่มความขาวกระจ่างใส นำนมวัวจืด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา และน้ำมะนาวเล็กน้อย มาพอกให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้จนแห้งแล้วล้างออกให้สะอาด
  2. กระชับรูขุมขน นำสำลีแผ่น ชุบนมวัว นำมาแปะลงบนใบหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วนำนมสดมาทาบนใบหน้าพร้อมนวดผิวเบาๆ ก่อนล้างออกด้วยน้ำเย็น

เมนูสุขภาพจากนมวัว

นอกจากนำมาดื่มแล้ว นมวัวยังนำไปประกอบอาหารต่างๆ ได้อีก เช่น

  1. นมปั่นสตรอว์เบอร์รี นำนมสดกับสตรอว์เบอร์รีมาปั่นรวมกันจนละเอียด เทน้ำแข็งใส่ลงไป ดื่มได้ทันที สามารถเปลี่ยนเป็นผลไม้อื่นๆ ได้ตามต้องการ
  2. เฉาก๊วยนมสด หั่นเฉาก๊วยเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทำคาราเมลไซรัป โดยการใส่น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลคาราเมล น้ำเปล่าลงไปต้มในหม้อตั้งไฟ คนให้ทุกอย่างเข้ากัน ปิดไฟ ยกขึ้นพักไว้ นำน้ำแข็งและนมสดใส่ลงในโถปั่น ปั่นจนน้ำแข็งและนมกลายเป็นเกล็ดละเอียด ตักเกล็ดน้ำแข็งนมสดใส่แก้ว ใส่เฉาก๊วย ราดด้วยคาราเมลไซรัป คนให้ทุกอย่างเข้ากัน
  3. แคนตาลูปนมสด ตักแคนตาลูปให้เป็นก้อนกลมๆ แช่ทิ้งไว้ในตู้เย็น ใส่น้ำลงไปในหม้อแล้วยกขึ้นตั้งไฟ เคี่ยวกับใบเตยและน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันจนข้น เสร็จแล้วนำนมสดไปแช่เย็นจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ตักเกล็ดน้ำแข็งนมสดใส่ถ้วย ใส่แคนตาลูป ราดด้วยน้ำเชื่อม ยกขึ้นเสิร์ฟ
  4. นมสดทอด นำนมสดใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำตาลลงไปกวนให้เข้ากัน นำนมสดอีกส่วนไปละลายกับแป้งข้าวโพด เทลงไปในหม้อที่มีนมสดต้มอยู่ คนต่อไปเรื่อยๆ จนสุก ปิดไฟ ใส่เนย ผิวมะนาวขูด คนให้ทุกอย่างเข้ากัน เทใส่ลงไปในถาด เกลี่ยให้เท่ากัน แช่เย็นทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง เมื่อนมเซ็ตตัว ให้ตัดออกเป็นชิ้นพอดีคำ นำไปชุบไข่กับเกล็ดขนมปังทอดให้เหลืองกรอบ โรยด้วยผงอบเชย ยกขึ้นเสิร์ฟได้ทันที
  5. กุ้งนึ่งนมสด หั่นกุ้งเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่นมสด พริกไทยและเกลือลงไป นำมาใส่หม้อนึ่ง พร้อมข้าวโพด แครอทหั่นเต๋า นึ่งด้วยไฟอ่อนประมาณ 15 นาที

ข้อควรระวัง

ปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากที่แพ้นมวัว โดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการประมาณ 3-6 เดือน โดยเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะเกิดอาการได้หลายระบบ เช่น ท้องอืด อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดผื่นแพ้ผิวหนัง ลมพิษ อาการทางระบบทางเดินหายใจต่างๆ โดยบางคนอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นหายใจไม่ออกและหมดสติได้ หากเป็นเช่นนี้ให้หยุดดื่มนมโดยเด็ดขาด และควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที รวมถึงการได้รับคำแนะนำเรื่องชนิดของนมที่ใช้สำหรับเด็กแพ้นมวัวต่อไป โดยไม่ควรทดลองเปลี่ยนชนิดของนมด้วยตนเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย, โรคแพ้นมวัว,(http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail.php?id=100), 17 กุมภาพันธ์ 2554.
The Self NutritionData, Milk, whole, 3.25% milkfat Nutrition Facts & Calories (https://nutritiondata.self.com/facts/dairy-and-egg-products/69/2)
Megan Ware, All about milk (https://www.medicalnewstoday.com/articles/273451.php), 14 December 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป