ว่าด้วยเรื่องของ “โอเมก้า” ทุกคนรู้ดีว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าดีแบบไหน อย่างไรบ้าง โอเมก้ามีหลายประเภท ส่วนที่ถูกพูดถึงมากที่สุดเห็นจะเป็น โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 ซึ่งมีความสำคัญมากทั้งคู่ ว่าแต่เจ้าโอเมก้านี้มีประโยชน์อย่างไร ทานมากแล้วดีหรือไม่ หาคำตอบได้ที่บทความนี้
โอเมก้า 3 คืออะไร?
โอเมก้า 3 คือกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง เป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ร่างกายของคนเราขาดโอเมก้า 3 ไม่ได้ แต่กลับไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ฉะนั้นจึงต้องได้รับจากการทานอาหารที่มีปริมาณโอเมก้า 3 แทน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โอเมก้า 3 แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ กรดไขมันอีพีเอ (EPA), กรดไขมันดีเอชเอ (DHA), และกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (ALA) อาหารที่พบว่ามีปริมาณโอเมก้า 3 เยอะ ได้แก่ อาหารจำพวกปลาและอาหารทะเล โดยเฉพาะจำพวกปลาน้ำเย็น เช่น แซมอน แมคเคอเรล ทูน่า และซาร์ดีน เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ชั้นดี
ประโยชน์ของการได้รับอาหารที่มีโอเมก้า 3
- มีความสำคัญต่อเด็กเล็ก หลายคนคงเคยเห็นโฆษณานมเด็กที่มักจะเน้นอยู่เสมอว่า มีโอเมก้าสูงเหมาะกับเด็ก นั่นเป็นเพราะโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ประสาท ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมองของเด็ก เด็กที่ได้รับโอเมก้าที่เพียงพอจะทำให้สมองถูกพัฒนาได้ออย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณแม่สามารถทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ จะช่วยสร้างพัฒนาการและสุขภาพของทารกได้
- ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ กรดไขมัน EPA และกรดไขมัน DHA ที่พบได้ในโอเมก้า 3 นั้น สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ คนที่ทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 มาก ๆ จึงทำให้หัวใจแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้
- ลดการเกิดโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม เพราะโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท และระบบการเรียนรู้ การรับรู้ และระบบความจำ
- ลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม การได้รับโอเมก้า 3 ที่เพียงพอ ช่วยลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมอยู่ตลอดเวลา ผืที่ต้องใช้สายตาเพิ่งมองสิ่งของชิ่นเล็ก ๆ นักเรียนนักศึกษา รวมถึงผู้สูงอายุ ควรทานอาหารประเภทปลาและถั่วให้มาก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากใครที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแล้ว โอเมก้า 3 อาจ ไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการป่วยหรือชะลอภาวะตาบอดแก่ผู้ที่ป่วยแล้วได้
แหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 3
อย่างที่หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “ปลาและอาหารทะเล” เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 แต่ที่แนะนำควรเป็นอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เพื่อไม่ให้โอเมก้าถูกทำลายไป ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงนิยมทาน แซมอนซาซิมิ นั่นเอง นอกจากนี้ยังพบโอเมก้า 3 ได้จากอีกหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น ถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง โยเกิร์ต น้ำผลไม้ นม น้ำนมถั่วเหลือง หรืออาหารทารกบางอย่าง เป็นต้น
โอเมก้า 6 คืออะไร?
โอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัว ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้เช่นเดียวกันกับ โอเมก้า 3 แต่เราสามารถได้รับจากการรับประทานอาหาร กรดไขมันโอเมก้า 6 ที่สำคัญมีอยู่ 2 ประเภท คือ กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic acid : LA) และกรดไขมันอะราคิโดนิก (Arachidonic acid : ARA) พบมากในในน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน ข้าวโพด เป็นต้น
ความสำคัญของโอเมก้า 6 คือเป็นตัวถ่วงสมดุลของโอเมก้า 3 อีกทีหนึ่ง ดังนั้นหากร่างกายได้รับทั้งโอเมก้า 3 และ 6 พร้อมกันก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาในการทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 6 คือ
- รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวจึงลดปัญหาผิวแห้งแตกเป็นขุย
- ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ
- กรดไขมันโอเมก้า 6 ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ร่างกายมีระบบไหลเวียนโลหิตที่สมบูรณ์ กรดไขมันโอเมก้า 3 จะทำงานตรงกันข้ามกันคือทำให้เลือดไหลเวียนดี ยับยั้งการอักเสบ จึงไม่ควรที่จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไป เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้าทั้งสองชนิดแม้จะทำงานตรงกันข้ามกัน แต่ร่างกายของเราต้องการกรดไขมันทั้งสองเพื่อถ่วงสมดุลกัน ต้องทานให้เป็นและสมดุล
โอเมก้า 3 กับ โอเมก้า 6 ต่างกันอย่างไร?
ไขมันโอเมก้า ทั้ง 3 และ 6 เป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวเช่นกัน แต่จะทำงานที่ตรงข้ามกัน จึงทำให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ร่างกายเราจะใช้ประโยชน์ของทั้งคู่ จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้ ยกตัวอย่าง กรดไขมันโอเมก้า 3 ทำให้เลือดไหล ยับยั้งการอักเสบ แต่ถ้าหากคุณมีบาดแผลกลุ่มของกรดไขมันโอเมก้า 6 จะทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งจะทำงานตรงข้ามและถ่วงดุลกัน
หลายคนอาจคิดว่าร่างกายเราต้องการโอเมก้า 3 มากกว่าเนื่องจากการสื่อสารในโฆษณาส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนั้น แต่ความตริงแล้วร่างกายต้องการกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 3 : 1 จนถึง 5 : 1 เท่า แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะกรดไขมันโอเมก้า 6 ส่วนใหญ่พบได้ในน้ำมันพืชที่เรากินทุกวัน จึงไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารอาหารประเภทนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
น้ำมันปลา
น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของปลา เช่น ส่วนของ เนื้อ หนังปลา หางหรือ หัววปลา เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่เยอะมาก โดยเฉพาะปลาทะเลที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น
น้ำมันปลามีประโยชน์อย่างต่อร่างกายหลากหลาย เช่น ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดอาการข้อเสื่อม เสริมการทำงานของสมอง ลดการเกิดอัลไซเมอร์ ลดอาการซึมเศร้า ปวดหัวไมเกรน ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หอบหืด และโรคผิวหนังบางชนิด
แต่อย่างไรก็ตามการประกอบอาหารด้วยความร้อนจะทำให้โอเมก้า 3 หายไป แต่การกินปลาสดในบ้านเราอาจไม่ได้รับความนิยมมากนัก อีกทั้งอจามีสารปนเปื้อนเช่น ปรอท ทำให้เป็นอันตรายโดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ หลายคนจึงนิยมเสริมด้วยการทานน้ำมันปลาแทน
น้ำมันตับปลา
ถึงแม้จะมีชื่อที่คล้ายกัน แต่น้ำมันปลา และน้ำมันตับปลาก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในแง่ของส่วนปะกอบและคุณประโยชน์ น้ำมันปลา เป็นส่วนที่ได้จากการสัดเอาน้ำมันจากหลากหลายส่วนในตัวปลา มีโอเมก้า 3 เป็นหลัก แต่น้ำมันตับปลาจะสกัดจากตับของปลาเท่านั้น และมีวิตามิน A และ D เป็นหลัก
แต่ทั้งนี้การได้รับวิตามินเสริมจากน้ำมันตับปลานั้นอาจจะต้องระวังสักนิด เนื่องจาก หากได้รับวิตามิน A D ในปริมาณที่มากเกินความเหมาะสม จะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ตับ และระบบประสาททำงานผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรทานเป็นประจำ เพราะอาจจะสะสมในร่างกายมากจนทำให้เกิดอันตรายได้