กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

น้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • น้ำมันตับปลา เป็นอาหารเสริมที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน เช่น ลดไขมันในเลือด รักษาโรคหัวใจ รักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต ลดอาการเจ็บ และอาการบวม
  • น้ำมันตับปลาอาจส่งผลข้างเคียงบ้าง แต่ไม่ได้ร้ายแรงมากมาย เช่น มีกลิ่นปาก ท้องอืด คลื่นไส้ อาการเหล่านี้จะลดลงไปได้หากรับประทานน้ำมันตับปลาพร้อมกับอาหารอื่นๆ ด้วย 
  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานน้ำมันตับปลามากเกินไป รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะอาจไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพราะอาจทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงมาก
  • ผู้ที่ใช้ยาควบคุมความดันโลหิต และยับยั้งการแข็งตัวของเลือดต้องระมัดระวังในการรับประทานน้ำมันตับปลา เพราะอาจส่งผลข้างเคียงจากฤทธิ์ยาได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) คือ น้ำมันที่ได้จากการรับประทานตับปลาคอด หรือจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งมีประโยชน์มากมายในการรักษาโรคหลายอย่าง เช่น 

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง 
  • ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน 
  • ความดันโลหิตสูง 
  • โรคหัวใจ 
  • ข้อเสื่อม (Osteoarthritis
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่เรียกว่าโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic lupus erythematosus (SLE)) 
  • ภาวะติดเชื้อภายในหูชั้นกลาง (Otitis media) 

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลาประกอบด้วยกรดไขมันที่ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ช่วยลดอาการเจ็บปวด และอาการบวมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่ามีวิตามินเอ (Vitamin A) และวิตามินดี (Vitamin D) อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ภาวะที่น้ำมันตับปลามักจะมีประสิทธิภาพ

  • ลดระดับไขมันในเลือดที่เรียกว่า "ไตรกลีเซอไรด์" การรับประทานน้ำมันตับปลาอาจช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ 20-50 % ในกลุ่มผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง

ภาวะที่อาจใช้น้ำมันตับปลาได้

  • ความดันโลหิตสูง น้ำมันตับปลาอาจมีผลช่วยต่อความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวได้เล็กน้อย
  • โรคไตในผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับประทานน้ำมันตับปลาอาจช่วยลดภาวะโปรตีนรั่วทางปัสสาวะของผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคไตจากโรคเบาหวาน

ผลข้างเคียง และความปลอดภัยของน้ำมันตับปลา

สำหรับผู้ใหญ่ และเด็กส่วนมากจะสามารถรับประทานได้ค่อนข้างปลอดภัย โดยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบ้าง เช่น ท้องอืด มีกลิ่นปาก แสบร้อนกลางอก ถ่ายเหลว และคลื่นไส้ โดยการรับประทานพร้อมอาหารมักจะช่วยลดผลข้างเคียงข้างต้นได้

การรับประทานน้ำมันตับปลาในปริมาณมากอาจเกิดอันตราย เพราะทำให้เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะต่างๆ ได้มากขึ้น หรือมีอาการเลือดหยุดยากหากเกิดบาดแผล 

อีกทั้งการรับประทานที่มากเกินไปอาจทำให้ระดับวิตามินเอ และวิตามินดีในร่างกายมากเกินไปเช่นกัน

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

  • สตรีมีครรภ์ และแม่ที่ต้องให้นมบุตร คนกลุ่มนี้สามารถรับประทานน้ำมันตับปลาได้ หากรับประทานในปริมาณที่ไม่เกินกว่าคำแนะนำ และได้รับวิตามินเอ และวิตามินดีที่เพียงพอในแต่ละวัน
    น้ำมันตับปลาอาจจะไม่ปลอดภัยหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือต้องให้นมบุตรไม่ควรรับประทานน้ำมันตับปลาที่มีวิตามินเอมากกว่า 3,000 ไมโครกรัม และวิตามินดีมากกว่า 100 ไมโครกรัม
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันตับปลาอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง น้ำมันตับปลาสามารถลดระดับความดันเลือดได้ และอาจทำให้ความดันตกลงมากเกิน หากรับประทานร่วมกับยาควบคุมความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากคุณต้องใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูง ควรรับประทานน้ำมันตับปลาด้วยความระมัดระวัง

การใช้น้ำมันตับปลาร่วมกับยาชนิดอื่น

ควรใช้น้ำมันตับปลาร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Antihypertensive drugs)
    น้ำมันตับปลาสามารถลดระดับความดันเลือดได้และอาจทำให้ตกลงมากเกินหากทานร่วมกับยาความดัน โดยยาควบคุมความดันมีตัวอย่างดังนี้ Captopril (Capoten), Enalapril (Vasotec), losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), diltiazem (Cardizem), Amlodipine (Norvasc),  Hydrochlorothiazide (HydroDiuril), Furosemide (Lasix) และอื่นๆ
  • ยายับยั้งการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)
    น้ำมันตับปลาสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ ดังนั้นการรับประทานน้ำมันตับปลาร่วมกับยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดรอยฟกช้ำหรือเลือดออกได้ โดยยาที่ชะลอการเกิดลิ่มมีตัวอย่างดังนี้ Aspirin, Clopidogrel (Plavix), Diclofenac (Voltaren, Cataflam, others), Ibuprofen (Advil, Motrin, others), Naproxen (Anaprox, Naprosyn, others), Dalteparin (Fragmin), Enoxaparin (Lovenox), Heparin, Warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

ปริมาณการใช้น้ำมันตับปลา

การรับประทานน้ำมันตับปลาช่วงเช้าหลังมื้ออาหารจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างแหล่งพลังงานที่ดีต่อสุขภาพ

  • สำหรับลดระดับไตรกลีเซอไรด์ น้ำมันตับปลา 20 มิลลิลิตรต่อวัน
  • สำหรับระดับความดันโลหิต น้ำมันตับปลา 20 มิลลิลิตรต่อวัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The health benefits of cod liver oil. BBC Good Food. (Available via: https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/health-benefits-cod-liver-oil)
The Health Benefits of Cod Liver Oil. Verywell Health. (Available via: https://www.verywellhealth.com/health-benefits-of-cod-liver-oil-89440)
Cod Liver Oil oral capsules. Cleveland Clinic. (Available via: https://my.clevelandclinic.org/health/drugs/19342-cod-liver-oil-oral-capsules)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)