กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เข้าใจ "ไตรกลีเซอไรด์" แบบครบถ้วน ที่นี่!

รู้จักไตรกลีเซอไรด์ สิ่งที่สัมพันธ์กับไขมันและคอเลสเตอรอล พร้อมวิธีปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายคงค่าไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เข้าใจ "ไตรกลีเซอไรด์" แบบครบถ้วน ที่นี่!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคของไขมันที่ลอยอยู่ในเลือด ซึ่งดูดซึมมาจากลำไส้ใหญ่ จากนั้นเหล่าไตรกลีเซอร์ไรด์จะลำเลียงไปที่ตับเพื่อแปรรูป และส่งไปยังอวัยวะต่างๆ เพื่อเป็นพลังงาน
  • ดังนั้นไตรกลีเซอไรด์จึงมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ไม่ควรมีปริมาณมากเกินไป ค่าของไตรกลีเซอไรด์ที่ถือว่าไม่มีความเสี่ยงคือ < 1.70 มิลลิโมล/ลิตร 
  • เมื่อมีไตรกลีเซอไรด์เยอะ ก็อาจมีคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) เยอะเกินไปด้วย และไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดเล็กลง นำมาซึ่งโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ 
  • วิธีการป้องกันคือการเลือกกินอาหารที่มีปริมาณไตรกลีเซอไรด์ไม่สูง เช่น ปลา อโวคาโด้ ถั่ว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหาโอกาสเข้าตรวจสุขภาพประจำปี
  • ดูแพ็กเกจตรวจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

ในปัจจุบันผู้คนต่างหันมาสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เห็นได้จากการที่หลายคนหันมาออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หนึ่งในนั้นคือการตรวจเลือด และมักจะมีศัพท์ที่พบบ่อยคำหนึ่งคือ “ไตรกลีเซอไรด์” เช่น triglyceride 150 mg/dL และแพทย์ก็มักจะใช้ค่านี้มาอธิบายภาวะไขมันในเลือดสูงอยู่เสมอ

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) คืออะไร?

ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคของไขมันที่ลอยอยู่ในเลือดของเราหลังจากที่ถูกดูดซึมมาทางลำไส้ใหญ่ พูดง่ายๆ ว่าเป็นรูปแบบที่พร้อมนำไปแปรรูปที่ตับ เพื่อนำส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ไปสะสมตามเซลล์ร่างกายเช่น ผิวหนัง และเข้าเซลล์เพื่อตัดแต่งดัดแปลงให้เกิดพลังงานขึ้นมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลังจากที่ไตรกลีเซอไรด์ถูกดูดซึมทางลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะลำเลียงไปที่ตับเพื่อแปรรูปเป็นอนุภาค 3 แบบ ได้แก่ Very Low Density Lipoprotiens (VLDL), Low Density Lipoprotiens (LDL) และ High Density Lipoprotiens (HDL) 

สามอนุภาคนี้เป็นเสมือนพาหนะที่คอยนำไตรกลีเซอไรด์และคอเรสเตอรอลไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสะดวก เพราะอนุภาคทั้งสามนี้มีความสามารถในการละลายอยู่ในกระแสเลือดได้ดีกว่าเดิม 

โดย VLDL จะบรรจุไตรกลีเซอไรด์เป็นหลัก LDL จะบรรจุคอเรสเตอรอลเป็นหลัก ส่วน HDL จะเป็นพาหนะที่ช่วยดึงสองตัวแรกที่เป็นอันตรายต่อร่างกายกลับและทำลายที่ตับ เพราะสองตัวแรกมักจะนำอันตรายสู่ร่างกายเป็นอย่างมาก

ความสำคัญของไตรกลีเซอไรด์

  1. เป็นสารตั้งต้นที่นำไปสร้างเป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์มีความแข็งแรงและคงรูปได้อย่างดี
  2. เป็นสารที่สำคัญของเซลล์ไขมันในร่างกาย เช่น ทำให้ร่างกายมีความอบอุ่น และช่วยลดแรงกระแทกกรณีร่างกายได้รับอุบัติเหตุ เพื่อปกป้องอันตรายต่ออวัยวะภายใน

ระดับของไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสม

ค่าของไตรกลีเซอไรด์ < 1.70 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่าปกติ หรือมีความเสี่ยงต่ำ

ค่าของไตรกลีเซอไรด์ 1.70–2.25 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงปานกลาง

ค่าของไตรกลีเซอไรด์ 2.26–5.65 มิลลิโมล/ลิตร มีถือว่าความเสี่ยงสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อันตรายของไตรกลีเซอไรด์

หากมีไตรกลีเซอไรด์ในปริมาณสูง จะหมายความว่าร่างกายมีโอกาสสร้างคอเลสเตอรอลตัวเลวที่มากขึ้น คือคอเลสเตอรอลชนิด VLDL และ LDL ซึ่งทำให้เกิดผลเสียแก่ร่างกาย โดยเฉพาะการสะสมที่บริเวณผนังของเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีผลทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น 

นอกจากนี้ การสะสมของอนุภาคไขมันดังกล่าวยังมักจะไปเกาะเป็นตะกรันตามเส้นเลือด ทำให้ขนาดของเส้นเลือดตีบลง สิ่งที่น่ากลัวคือเมื่อเลือดไปเลี้ยงอวัยวะปลายทางไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของอวัยวะนั้นๆ 

โดยส่วนมากมักเกิดกับหัวใจ ทำให้เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจขาดเลือด และเข้าสู่ภาวะหัวใจวาย และหากผนังเส้นเลือดเกิดการแตกกลายเป็นก้อนเล็กๆ ไหลตามเส้นเลือด แล้วไปอุดกั้นเส้นเลือดเล็กๆ เช่นเส้นเลือดฝอยในสมอง ก็จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดอีกด้วย

ดังนั้นเราจึงควรป้องกันตนเองให้ห่างจากภาวะเหล่านี้ด้วยการควบคุมการรับไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ คือควบคุมให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพราะอย่างไรก็ดี ไตรกลีเซอไรด์ยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนและวิตามิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะไขมันเกาะตามเส้นเลือด

  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดดี เช่น ปลา ไข่ อะโวคาโด ถั่วต่างๆ โฮลเกรน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีปริมาณไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนประกอบในปริมาณน้อย ทำให้มีสารตั้งต้นที่จะทำไปสร้างคอเรสเตอรอลตัวเลวได้น้อยลง

  2. ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากมีผลการวิจัยที่ชัดเจนแล้วว่า การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดเกิดเส้นเลือดแข็งตัวและตีบตันมากขึ้น

  3. ออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เพราะเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มอัตราการสลายอนุภาคของคอเลสเตอรอลตัวเลวได้เป็นอย่างดี

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Beckerman, J. WebMD (2016). High Triglycerides: What You need to Know. (https://www.webmd.com/cholesterol-management/high-triglycerides-what-you-need-to-know)
Mayo Clinic (2018). Diseases and Conditions. Triglycerides: Why do They Matter? (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/in-depth/triglycerides/art-20048186)
Cleveland Clinic (2019). Health. Triglycerides and Heart Health. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/17583-triglycerides--heart-health)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป