กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Aspirin (แอสไพริน)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาที่นิยมใช้เพื่อแก้ปวด ลดไข้ และใช้ลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดอุดตัน และโรคหัวใจ
  • ยาแอสไพรินมีหลายรูปแบบการใช้ เช่น ยาเม็ด ยาเม็ดที่ละลายอย่างรวดเร็วในน้ำ แบบผง และรูปแบบเจลรับประทาน โดยบางชนิดสามารถหาซื้อได้ในร้านยาทั่วไป บางชนิดอาจต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น
  • หากมีอาการผื่นลมพิษ คัน หายใจลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีเลือดปน ปวดศีรษะรุนแรง มองเห็นไม่ชัด หน้าและปากเบี้ยว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอาการแพ้ยารุนแรงที่อันตรายถึงชีวิตได้
  • ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยามาใช้ด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาที่นิยมใช้เพื่อแก้ปวด ลดไข้ และใช้ลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดอุดตัน และโรคหัวใจ

ยาแอสไพรินมีหลายรูปแบบการใช้ เช่น ยาเม็ด ยาเม็ดที่ละลายอย่างรวดเร็วในน้ำ แบบผง และรูปแบบเจลรับประทาน โดยบางชนิดสามารถหาซื้อได้ในร้านยาทั่วไป บางชนิดอาจต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้ยาแอสไพริน

ยาแอสไพรินขนาดสูง (300 มก.) จะใช้สำหรับลดอาการปวดทั่วไป ลดไข้ และลดบวมได้

ยาแอสไพรินขนาดต่ำ (71-75 มก.) จะใช้ติดต่อกันในระยะยาว ในการต้านเกล็ดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดหนืดน้อยลง ลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด โดยแพทย์จะให้ใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำในผู้ที่มีเงื่อนไขดังนี้

  • มีโรคหัวใจวาย (Heart Attack) หรืออาการเจ็บหน้าอก (Angina)
  • เส้นเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease)
  • เคยผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery: CABG) หรือการผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจมาก่อน

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน

คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาแอสไพรินได้อย่างปลอดภัย แต่ก่อนใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนเสมอ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการ หรือโรคประจำตัว ดังนี้

  • ผู้ที่แพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด
  • ผู้ที่เคยมีประวัติแผลในทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคไตขั้นรุนแรง
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเลือด
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้ปกติได้
  • มีอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 65 ปี
  • ผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคประจำตัว เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาต่อยาแอสไพรินได้

วิธีการใช้ยาแอสไพริน

โดยทั่วไป ยาแอสไพรินขนาดสูง 300 มก. สำหรับแก้ปวด สามารถใช้ได้วันละ 3-4 ครั้ง หรืออย่างน้อยห่างกันครั้งละ 4 ชั่วโมง 

ส่วนยาแอสไพรินขนาดต่ำนั้นใช้เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด จะให้ใช้วันละครั้ง ทุกวัน ไปตลอดชีวิต

ผลข้างเคียงของยาแอสไพริน

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้บ่อย มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อาหารไม่ย่อย และปวดท้อง ซึ่งการรับประทานยาหลังอาหารอาจช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
  • เลือดไหล หรือมีรอยช้ำบนผิวหนังได้ง่าย

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้น้อย มีดังนี้

  • ผื่นลมพิษ คัน และมีผื่นเล็กๆทั่วตัว
  • ได้ยินเสียงกริ่งในหู
  • หายใจลำบาก หรือเป็นหอบหืด
  • มีอาการแพ้ยา อาจจะมีอาการหายใจลำบาก ปากบวมหน้าบวม และผื่นขึ้นทั่วลำตัว
  • เลือดออกภายใน อาจจะมีอาการคืออาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระมีเลือดปน
  • เลือดออกในสมอง มีอาการคือปวดศรีษะรุนแรง มองเห็นไม่ชัด หน้าและปากเบี้ยว

หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอาการแพ้ยารุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปฏิกิริยาระหว่างยาแอสไพริน และยาอื่นๆ

ยาแอสไพรินสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นได้ รวมถึงยาสมุนไพรบางชนิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่สูงขึ้น เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับยาแอสไพรินได้ มีดังนี้

  • ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาพร็อกเซน (Naproxen)
  • ยาสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone)
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เช่น วาฟาริน (Warfarin) หรือเฮปาริน (Heparin)
  • ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs เช่น ฟลูออกซีทีน (Fluoxetine)
  • ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางชนิด
  • ยาต้านการชักบางชนิด เช่น ฟีไนทอย (Phenytoin)

ยาแอสไพรินไม่มีปฏิกิริยากับอาหาร แต่อาจก่อให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ถ้ากินยาแอสไพรินร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นจึงควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ลง

หากลืมรับประทานยาต้องทำอย่างไร?

หากเป็นผู้ที่ต้องใช้ยาแอสไพรินในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด ให้กินยาทันทีที่นึกได้ และกินยามื้อต่อไปตามปกติ แต่หากนึกขึ้นได้ตอนใกล้มื้อถัดไปแล้วให้กินยามื้อถัดไปแทนโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

แม้ว่า ยาแอสไพรินจะเป็นยาที่นิยมใช้ในการบรรเทาอาการปวดทั่วไป สามารถซื้อได้เองตามร้านขายยา อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bayer (Aspirin): Uses, Dosage, Side Effects, Interactions, Warning. RxList. (Available via: https://www.rxlist.com/aspirin-drug.htm)
Aspirin. DrugBank. (Available via: https://www.drugbank.ca/drugs/DB00945)
Aspirin and your heart: Many questions, some answers. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/heart-health/aspirin-and-your-heart-many-questions-some-answers)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)