กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Diclofenac (ไดโคลฟีแนค)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Diclofenac (ไดโคลฟีแนค) เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ช่วยลดอาการบวม หรือการอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บและโรคเกี่ยวกับข้อ เช่น โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • Diclofenac มีทั้งชนิดเม็ดรับประทานและชนิดฉีด การพิจารณาให้ใช้ยาชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ 
  • หากมีประวัติการแพ้ยา NSAIDs หรือแพ้ยาแอสไพริน ไม่ควรใช้ยา Diclofenac
  • ยานี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ทำให้มีความเสี่ยงเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ควรรับประทานหลังอาหารทันที 
  • หากใช้ยา Diclofenac  แล้วมีเลือดกำเดาไหล ความดันโลหิตต่ำ มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด ควรหยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์ทันที ดังนั้นการใช้ยานี้ให้ปลอดภัยจึงควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

Diclofenac (ไดโคลฟีแนค) เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ช่วยลดอาการบวม หรือการอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บและโรคเกี่ยวกับข้อ เช่น โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด 

ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ตัวยาจะออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งสารโปรสตาแกลนดินส์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ ยานี้ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาใน ค.ศ. 1998 ภายใต้ชื่อการค้าว่า Voltaren และมีผู้ผลิตดั้งเดิมคือบริษัท Novartis

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อควรระวังในการใช้ยา Diclofenac

  • ไม่ควรใช้ยา Diclofenac หากมีประวัติการแพ้ยา NSAIDs  หรือแพ้ยาแอสไพริน
  • ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ โดยเฉพาะการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft: CABG) ไม่ควรรับประทานยานี้
  • การใช้ยานี้เป็นเวลานาน หรือในปริมาณมาก สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต หากคุณมีอาการของโรคเส้นเลือดสมอง หรือมีอาการ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก พูดไม่ชัด หรือมีอาการผิดปกติหลังจากใช้ยา ให้เรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันที
  • ยานี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ทำให้มีความเสี่ยงเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน หากเริ่มมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ หรือถ่ายเป็นสีดำ ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์
  • ผู้สูงอายุควรระมัดระวังในการใช้ยานี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงได้รับผลข้างเคียงอย่างอาการสับสน มึนงง สูญเสียการทรงตัว และเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารรุนแรงกว่าในคนอายุน้อย ซึ่งจะทำให้เสี่ยงหกล้ม หรือเกิดภาวะอื่นๆ ที่อันตรายได้ 
  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา Diclofenac หากคุณมีภาวะสุขภาพใดๆ ต่อไปนี้

การใช้ Diclofenac รูปแบบยาเม็ด

ยา Diclofenac ชนิดเม็ดผลิตโดยหลายบริษัทและมีหลายขนาดแตกต่างกันไป ขนาดเริ่มต้นอยู่ที่25 มิลลิกรัมแต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ขนาด 50 มิลลิกรัม

ปริมาณการใช้ยาที่แนะนำในผู้ใหญ่คือ รับประทานครั้งละ 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรือทุก 8-12 ชั่วโมง ปริมาณสูงสุดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อวัน หรืออาจรับประทานครั้งละ 25 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้งก็ได้

คำแนะนำ: ควรรับประทานยาพร้อมกับอาหาร หรือนม ดีที่สุด เนื่องจากยานี้อาจส่งผลต่อกระเพาะอาหารอย่างรุนแรงได้ และอาจรับประทานยาที่ช่วยลดกรดในกระเพาะเพื่อลดผลข้างเคียง 

แต่ยาลดกรดบางตัวก็ทำปฏิกิริยากับยา Diclofenac ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งหาdต้องการรับประทานยาลดกรดในกระเพาะร่วมด้วย

อีกทางเลือกหนึ่งคือ ขอให้แพทย์สั่งยา Arthrotec ให้ ยานี้มีส่วนผสมระหว่าง Diclofenac กับยาที่มีฤทธิ์ป้องกันกระเพาะอย่าง Misoprostol แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพงเกินไป จึงอาจขอให้แพทย์สั่งจ่ายทั้งยา Diclofenac และยา Misoprostol หรือยาเคลือบกระเพาะชนิดอื่น

การใช้ Diclofenac รูปแบบยาฉีด

ยา Diclofenac รูปแบบฉีดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มักใช้กับอาการปวดรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดข้อรูมาตอยด์ และปวดศีรษะไมเกรน โดยฉีดยา Diclofenac 75 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อสะโพก หากปวดรุนแรงอาจให้ยามากกว่านั้น แต่ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้ครั้งละ 75 มิลลิกรัม ห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง และฉีดเข้าสะโพกคนละข้าง วิธีนี้จะช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้นคือ ภายใน 10-22 นาที
  • ยาฉีดเข้าเส้นเลือด วิธีนี้มักไม่ค่อยใช้กันในทางปฏิบัติ เนื่องจากมีขั้นตอนการเตรียมยาและวิธีการให้ที่ยุ่งยาก หากความเป็นกรดด่างของสารละลายไม่เหมาะสม ยาจะตกตะกอนและทำให้เกิดอันตรายจากตะกอนอุดตันในหลอดเลือดได้ ก่อนที่จะให้ยา Diclofenac (Voltaren®) ทางเส้นเลือดนั้น จะต้องทำให้ยาเจือจางก่อน (ห้าม IV push) ด้วย D5W หรือ NSS เพื่อป้องกันการเกิดผลึก หรือตะกอน

อย่างไรก็ตาม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งให้ระมัดระวังการใช้ยา Diclofenac ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เนื่องจากพบอาการไม่พึงประสงค์จากยา เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงหน้าแข้งและเท้า ขาอ่อนแรงจนพิการ และอาการแพ้ยาอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปฏิกิริยาระหว่างยา Diclofenac กับยาอื่น ๆ

Diclofenac สามารถทำปฏิกิริยากับยาได้หลายชนิด ดังนั้นคุณควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ซื้อมารับประทานเอง วิตามิน อาหารเสริม ยาสมุนไพร หรือยาเสพติดทั้งที่ผิดและไม่ผิดกฎหมายทุกชนิด 

ไม่ควรรับประทานยา Diclofenac ร่วมกับยาต่อไปนี้

  • อะพิซาแบน (Apixaban)
  • ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีอย่างเออวิทิกราเวียร์ (Elvitegravir) โคบิซิสแตท (Cobicistat) เอ็มทริซิแทไบน์ (Emtricitabine) และทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir)
  • คีโตโรแลค (Ketorolac)
  • เมโธเทรกเซท (Methotrexate)
  • เพมิเทรกเซด (Pemetrexed)
  • เพอร์เฟนิโดน (Pirfinidone)

หากคุณกำลังรับประทานยาต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเลือกใช้ยาตัวอื่นแทนยา Diclofenac

  • ยาละลายลิ่มเลือด เช่น ฟอนดาพารินุก (Fondaparinux) ดาบิกาทราน (Dabigatran) วาร์ฟาริน (Warfarin) เฮพาริน (Hepratin)
  • ยาต้านเศร้า เช่น ไซตาโลแพรม (Citalopram) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) และเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)
  • ยาขับปัสสาวะ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) คลอร์ธาลิโดน (Chorthalidone) หรือคลอโรไทอะไซด์ (Chlorothiazide)
  • ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers) เช่น ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) ไบโซโปรลอล (Bisoprolol) อะทีโนลอล (Atenolol) เอสโมลอล (Esmolol) หรือยาคาร์วีไดลอล (Carvedilol)
  • ยาในกลุ่ม NSAIDs ตัวอื่นๆ เช่น เซเลโคซิบ (Celecoxib) นาพรอกเซน (Naproxen) มีลอกซิแคม (Meloxicam) นาบูมีโทน (Nabumetone) หรืออีโตโดแลค (Etodolac)
  • ยารักษาโรคเบาหวานในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) เช่น ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ไกลเบนคลาไมด์ (Glyburide) และไกลพิไซด์ (Glipizide)

การใช้ยา Diclofenac ร่วมกับแอลกอฮอล์

ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างที่รับประทานยานี้ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารและอาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของไตได้ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์จากผลเกรปฟรุตด้วย 

การใช้ยา Diclofenac ในหญิงตั้งครรภ์

เนื่องจากความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ ยานี้จึงจัดอยู่ใน 2 กลุ่มคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • สำหรับการใช้ในช่วง 29 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ยาจัดอยู่ในกลุ่ม C ซึ่งหมายความว่า มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันในมนุษย์
  • สำหรับการใช้ระหว่าง หรือหลังจากการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30 ยาจัดอยู่ในกลุ่ม D หมายความว่า ยาอาจทำให้ทารกเกิดความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โดยทำให้หลอดเลือดแดงสำคัญที่ทำหน้าที่เลี้ยงหัวใจปิด ดังนั้นการจะรับประทานยานี้ได้ก็ต่อเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นในการรักษาที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยานี้เท่านั้น

ดังนั้นก่อนใช้ยานี้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ รวมถึงคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร หรือวางแผนที่จะให้นมบุตร เนื่องจากยานี้อาจออกมาทางน้ำนมและเป็นอันตรายต่อทารกได้

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Diclofenac

หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ ยกเว้นว่าใกล้ถึงเวลาที่ต้องรับประทานยาครั้งต่อไปแล้ว ในกรณีนั้นให้ข้ามยาที่ลืมรับประทานไป และรับประทานยามื้อถัดไปตามปกติ ไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า และหากคุณสงสัยว่า ตนเองได้รับยาเกินขนาด ควรไปพบแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงของการใช้ยา Diclofenac

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย

  • ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เช่น ปวดแสบท้อง ท้องอืด ปวดบีบ ท้องผูกและท้องเสีย
  • ท้องไส้ปั่นป่วน และ/หรือ มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร รวมถึงทางเดินอาหาร โดยอาจสังเกตได้จากอุจจาระเป็นสีดำ ถ่ายเป็นเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ปวดศีรษะ หรือได้ยินเสียงในหู
  • มีผื่นขึ้น

อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรง แต่หากมีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น หรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

ผลข้างเคียงที่รุนแรง

ควรหยุดใช้ยา Diclofenac และรีบไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้ มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • เลือดกำเดาไหล
  • ตับเสียหาย หรือเกิดการอักเสบที่ตับ โดยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ท้องบวม นอนหลับ หรือง่วงซึมมากกว่าปกติ มีอาการสับสน 
  • ความดันโลหิตต่ำ อาการหนึ่งที่สังเกตได้ชัดของภาวะนี้คือ เวียนศีรษะเมื่อลุกขึ้นยืน
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด เช่น เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงต่ำ และการทำงานของไขกระดูกต่ำลง
  • หัวใจวาย โดยในระยะแรกจะมีอาการขาบวมทั้ง 2 ข้าง หายใจลำบาก มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินในระยะทางที่เคยเดินได้ หรือรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ
  • มีรอยฟกช้ำตามร่างกาย
  • มีปฏิกิริยาทางผิวหนังที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น กลุ่มอาการ Stevens-Johnson หรือ Toxic epidermal necrolysis สังเกตได้จากอาการหน้า คอ ริมฝีปาก และลิ้นบวม แสบร้อนที่ตา เจ็บตามผิวหนังก่อนจะตามมาด้วยผื่นสีม่วงหรือสีแดงที่กระจายตัวตามผิวหนัง รวมทั้งมีอาการพุพองและผิวลอก หากพบอาการเหล่านี้ให้โทรเรียกรถฉุกเฉินทันที

ยาทุกชนิดแม้จะมีข้อดี มีประโยชน์ในการรักษา แต่หากใช้ไม่ถูกต้องยาชนิดนั้นอาจนำมาซึ่งข้อเสียและผลข้างเคียงที่อันตรายได้ ดังนั้นก่อนใช้ยาทุกครั้งควรศึกษาคุณสมบัติ การใช้งานก่อนให้ละเอียดถี่ถ้วน 

หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีโรคเรื้อรัง เป็นผู้สูงอายุ อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภญ.พรยุพา ธัญภัทรกุล, Diclofenac inj.ฉีดเข้า เส้น ต่างจากฉีดเข้ากล้ามอย่างไร มีอาการอย่างไรบ้างกรณืฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=2522)
Alpa Pragnesh Gor and Miti Saksena, Adverse drug reactions of nonsteroidal anti-inflammatory drugs in orthopedic patients (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3117565/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)