กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รู้เท่าทันโรคถุงน้ำในรังไข่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รู้เท่าทันโรคถุงน้ำในรังไข่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินก็คือ ถุงน้ำในรังไข่ เป็นโรคที่พบมาก โดยเฉพาะในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเริ่มที่จะมีรอบเดือน เราก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้กันแล้ว และข้อมูลที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ อาการของซีสต์ที่เกิดขึ้น กับผู้หญิงแต่ละคนนั้น มักจะแตกต่างกันออกไป บางคนซีสต์ดังกล่าว ก็สามารถที่จะหลุดและหายไปเองได้ แต่กับบางคนหากถุงน้ำดังกล่าว สร้างความรู้สึกเจ็บปวด และทำให้ใช้ชีวิตได้ลำบาก

แพทย์อาจจะมีการพิจารณาให้ผ่าตัด เพื่อนำซีสต์ออกมาจากมดลูกของเราก็ได้เช่นกัน แต่การที่จะพิจารณาว่า จะทำการผ่าตัดเพื่อนำซีสต์ออกจากมดลูก หรือไม่นั้น ก็มักจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งกว่าจะถึงกระบวนการดังกล่าว การดูแลตัวเองให้มากขึ้น และการหาทางบรรเทาอาการเจ็บปวดด้วยตนเอง เป็นหนทางที่จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น และสำหรับวิธีการดูแลตนเอง พร้อมทั้งการบรรเทาอาการเจ็บปวดในเบื้องต้น มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรับประทานอาหาร

การเลือกรับประทานอาหารจำพวกอาหารประเภทของทอด ของมัน มักจะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายของเราอ่อนแอมากขึ้น ผู้ป่วยด้วยโรคถุงน้ำในรังไข่ จึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น แล้วหันมาทานอาหาร ที่ประกอบไปด้วยผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น นอกจากนี้ การรับประทานปลาน้ำลึกอย่าง ปลาแซลมอน ถือว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก เพราะมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เรื่องของสารปรอท ที่มักจะมาจากปลาน้ำลึก ก็อาจจะสร้างความกังวลให้กับหลายคน นักโภชนาการจึงให้คำแนะนำเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า หากคุณยังรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ได้ตามปกติ การรับประทานปลาก็อาจจะลดลงมาเป็นสัปดาห์และ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

ชาสมุนไพรช่วยผ่อนคลาย

หากคุณรู้สึกปวดที่มดลูกขึ้นมาเล็กน้อย การดื่มชาสมุนไพร อย่างชาคาโมมายด์จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และช่วยลดความเจ็บปวดลงไปได้ไม่น้อยจากความอุ่นของชา ซึ่งนอกจากกรณีของซีสต์ที่รังไข่แล้ว การดื่มชาสมุนไพรยังช่วยให้ร่างกายของเราปรับสภาพพร้อมสู้กับโรคอื่นที่อาจจะมีมาในช่วงดังกล่าว

การประคบร้อนลดความปวด

หากคุณรู้สึกปวดที่กระดูกเชิงกราน เพราะความดันของถุงน้ำในรังไข่ แนะนำว่าให้นำถุงน้ำร้อนมาประคบเบา ๆ ที่หน้าท้อง จะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย จากความเจ็บปวดได้ดีมากขึ้น ซึ่งในจุดนี้เอง ที่หลายคนอาจจะมองข้าม และหันไปพึ่งยาแก้ปวดเพียงอย่างเดียว ทั้งที่วิธีการนี้อาจจะทำให้เราผ่อนคลาย และไม่ต้องกินยาในปริมาณที่มากเกินไป จนอาจจะเป็นอันตรายกับระบบอื่น ๆ ของร่างกาย

การป้องกันที่ดีที่สุด คือการเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกาย เป็นประจำทุกปี

โรคช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำในรังไข่ ดูเหมือนจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงเท่าไหร่นัก หากเทียบกับโรคที่หลายคนรู้สึกกลัวอย่างโรคมะเร็ง แต่โรคดังกล่าวก็ทำให้การใช้ชีวิตของผู้ที่ประสบพบเจอกับโรคนี้ มีความยากลำบากมากขึ้น ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เมื่อเริ่มมีประจำเดือน เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำที่ดี จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการป้องกันโรคต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจ PCOS ด้วยชุดตรวจถุงน้ำรังไข่หลายใบจาก Yesmom (Leevawell) | HDmall
รีวิว ตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ด้วยชุดตรวจฮอร์โมน Yesmom (Leevawell) | HDmall


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Muzii, L., Bianchi, A., Crocè, C., Manci, N., & Panici, P. B. (2002). Laparoscopic excision of ovarian cysts: is the stripping technique a tissue-sparing procedure?. Fertility and sterility, 77(3), 609-614 (http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0015028201032034)
Grimes, D. A., Jones, L. B., Lopez, L. M., & Schulz, K. F. (2014). Oral contraceptives for functional ovarian cysts. The Cochrane Library (http://onlinelibrary.wiley.com/store/10.1002/14651858.CD006134.pub5/asset/CD006134.pdf?v=1&)
Borgfeldt, C., & Andolf, E. (2004). Cancer risk after hospital discharge diagnosis of benign ovarian cysts and endometriosis. Acta obstetricia et gynecologica Scandinavica, 83(4), 395-400 (http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.0001-6349.2004.00305.x/full)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป