กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แต่ละเดือนควรทานผักผลไม้อะไร และข้อดีของการทานผักผลไม้ตามฤดูกาล

เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แต่ละเดือนควรทานผักผลไม้อะไร และข้อดีของการทานผักผลไม้ตามฤดูกาล

ประเทศไทยเราถือเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เพราะสามารถเพาะปลูกพืชผักผลไม้ได้ตลอดทั้งปี โดยในแต่เดือนนั้นจะมีสภาพอากาศและความชื้นแตกต่างกันไป ทำให้เพาะปลูกผักผลไม้ได้หลากหลายชนิดมาให้เรารับประทาน มาชมกันว่าแต่ละเดือนในหนึ่งปี มีผักผลไม้อะไรให้เราทานบ้าง

เดือน

ผัก

ผลไม้

มกราคม

คะน้า แครอท กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ถั่วลันเตา ผักกาดขาว ป่วยเล้ง กวางตุ้ง มะเขือ ดอกแค สะเดา มะระ บวบ

ชมพู่ กล้วยหอม มะขามป้อม ละมุด มะตูม ฝรั่ง สับปะรด ส้มเขียวหวาน องุ่น

กุมภาพันธ์

ผักกาดขาว ผักโขม แตงกวา บวบ มะเขือเทศ คะน้า กะหล่ำดอก มะระ กวางตุ้ง

ชมพู่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า มะขามป้อม มะตูม องุ่น สับปะรด ลูกตาลอ่อน แตงโม

มีนาคม

ฟัก ถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง มะเขือยาว มันฝรั่ง เห็ดฟาง หอมหัวใหญ่ ใบมะขามอ่อน แตงกวา

กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า แตงโม ขนุน มะม่วง มะปราง

เมษายน

ถั่วฝักยาว มันฝรั่ง แตงกวา เห็ดฟาง หอมหัวใหญ่ มะเขือยาว มะเขือเปาะ

ชมพู่ แตงโม มะม่วง ขนุน ทุเรียน ลิ้นจี่ ลูกหว้า กระท้อน

พฤษภาคม

ถั่วฝักยาว มะเขือพวง มะเขือเปาะ มะเขือเจ้าพระยา ถั่วพู หอมหัวใหญ่ มะนาว ชะอม สะตอ เห็ดโคน หน่อไม้

ขนุน มะม่วง ทุเรียน ลิ้นจี่ ลูกหว้า เงาะ ระกำ ลองกอง ลางสาด

มิถุนายน

มะเขือยาว มะเขือพวง ชะอม สะตอ มะนาว ผักบุ้ง ดอกกุยช่าย เห็ดเผาะ ชะพลู มะรุม ผักหวาน

ทุเรียน มังคุด ระกำ เงาะ กระท้อน ขนุน มะละกอสุก

กรกฎาคม

มะนาว สะตอ ชะพลู ผักบุ้งไทย ขิง ข่า ยอดตำลึง ดอกขจร ข้าวโพด ผักปลัง ผักแว่น

กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ สับปะรด มะยม ส้มโอ ลำไย แตงไทย ฝรั่ง น้อยหน่า อ้อย ส้มเขียวหวาน

สิงหาคม

สะตอ ชะพลู ขิง ข่า ผักกระเฉด ข้าวโพด หัวปลี ใบบัวบก ใบขี้เหล็ก น้ำเต้า ดอกโสน

กล้วยไข่ ฝรั่ง ลำไย น้อยหน่า มะยม ส้มเกลี้ยง ส้มโอ มะเฟือง

กันยายน

ใบขี้เหล็ก ขิง ข่า สมอไทย เพกา สายบัว ข้าวโพด ดอกโสน น้ำเต้า ผักกระเฉด

มะยม ส้ม ส้มโอ มะเฟือง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะกอกน้ำ ฝรั่ง

ตุลาคม

ผักบุ้ง ผักกระเฉด กระจับ แห้ว ใบบัว คูน บอน พริกหยวก เห็ดตับเต่า ส้มซ่า

กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะเฟือง องุ่น มะขามป้อม มันแกว

พฤศจิกายน

ขิง ข่า กระชาย เผือก ถั่วพู มะนาว สายบัว กระจับ ขมิ้นขาว มะเขือยาว ถั่วลิสง แห้ว สะเดา

กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง องุ่น มันแกว มะขามป้อม อ้อย ส้ม ส้มเขียวหวาน

ธันวาคม

กระชาย กะหล่ำดอก พริกยักษ์ ผักชี ถั่วลันเตา ผักกาดขาว ถั่วแขก กระเจี๊ยบ ดอกแค ดอกหอม ขิงแก่

มะละกอ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า องุ่น มะขามป้อม พุทรา อ้อย ละมุด ฝรั่ง ชมพู่ แตงโม สับปะรด ส้มเขียวหวาน

ข้อดีของการทานผักผลไม้ตามฤดูกาล

  • หาง่าย สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามตลาดสด หรือใครที่ปลูกผักสวนครัว หรือปลูกผลไม้เหล่านี้ก็เก็บมากินได้จากข้างรั้ว เพราะมันจะงอกงาม ผลิดอกออกผลตามธรรมชาตินั่นเอง
  • ราคาถูก เนื่องจากมีผลผลิตชนิดเดียวกันมากมายในตลาด ราคาซื้อขายก็ย่อมถูกลง เป็นการช่วยเราประหยัดเงินในกระเป๋าไปด้วยในตัว
  • มีความสดใหม่ ผลผลิตตามฤดูกาลสามารถเก็บเกี่ยวและนำมาขายได้วันต่อวัน ไม่ต้องขนส่งทางไกล แช่เย็น หรือใส่สารกันบูด ผักผลไม้ที่เราทานจึงสดใหม่ และได้สารอาหารครบถ้วน
  • รสชาติอร่อย ในแต่ละเดือนจะมีผักผลไม้ที่งอกงามได้ดีต่างๆ กัน นั่นการันตีได้ว่า ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในเดือนนั้นๆ จะมีคุณภาพดีที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอื่น เพราะเป็นช่วงที่สภาพอากาศและความชื้นเหมาะสม เช่น ผลไม้จะมีผลโต รสหวานอร่อย เป็นต้น
  • ปลอดภัย ผักผลไม้ที่ปลูกนอกฤดูกาล อาจมีการใส่สารเคมีเพื่อเร่งการออกดอกผล และอาจมีการใส่สารกันเสียเพื่อเก็บรักษาและขนส่งด้วย ซึ่งล้วนเป็นโทษต่อสุขภาพ ดังนั้น การทานผักผลไม้ตามฤดูกาลย่อมสามารถหลีกเลี่ยงสารเคมีเหล่านี้ได้

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กินผักตามฤดูกาล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (https://www.thaihealth.or.th/Content/51219-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html)
FDA. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค. (http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=56&content_id=1637)
แนะกินผักผลไม้สดตามฤดูกาล สร้างภูมิต้านหวัด. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (http://cpho.moph.go.th/wp/?p=21844)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป