ลูกหว้า (Black plum)

ประโยชน์และโทษของลูกหว้า ไขข้อสงสัย ลูกหว้ากับฤทธิ์ต้านมะเร็ง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลูกหว้า (Black plum)

ลูกหว้า เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานออกฝาดเล็กน้อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินหลายชนิด ไม่เพียงแต่เฉพาะส่วนผลที่รับประทานเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ ส่วนอื่นๆ จากต้นหว้าก็มีสรรพคุณทางยาเช่นกัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์ MYRTACEAE

ชื่อพ้อง Calyptranthes jambolana Willd., Eugenia cumini (L.) Druce,

Myrtus cumini L.

ชื่ออังกฤษ Black plum, Jambolan

ชื่อท้องถิ่น ห้าขี้แพะ หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ

ถิ่นกำเนิดของต้นหว้า

ต้นหว้าจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยปลูกมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นหว้า

หว้า เป็นไม้ต้น เนื้อแข็ง ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล ขรุขระ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย เปลือกในสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 9-14 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเรียว แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ผิวเกลี้ยงเส้นกลางใบนูนเห็นชัด เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน มีจุดน้ำมันบริเวณขอบใบ ช่อแยกแขนง ออกตามกิ่ง ดอกสีขาว หรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปถ้วย ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก โดยจะมีเยื่อหุ้มบางๆ หุ้มดอกยังตูมไว้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่ เยื่อบางๆ นี้จะหลุดไป เกสรเพศผู้จำนวนมากติดอยู่รอบขอบของฐานรองดอก เกสรเพศเมีย 1 อันฝังอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน ผลมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร เนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีม่วงแดงถึงดำ ออกผลช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม

คุณค่าทางโภชนาการของลูกหว้า

ลูกหว้าดิบต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี

  • คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม
  • เส้นใย 0.6 กรัม
  • ไขมัน 0.23 กรัม
  • โปรตีน 0.995 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.019 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.009 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 3 0.245 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินซี 11.85 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุแคลเซียม 11.65 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 1.41 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุแมกนีเซียม 35 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 15.6 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 55 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโซเดียม 26.2 มิลลิกรัม 2%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ลูกหว้าต้านมะเร็งได้จริงหรือไม่?

ลูกหว้า มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่มแอนโธไซยานิน กรดเอลลาจิก กรดเฟอรูลิก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สารกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งชนิดต่างๆ และยังพบว่าสารสกัดจากลูกหว้ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องคลอดและเซลล์มะเร็งเต้านมได้ แต่การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในหลอดทดลองเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในระดับคลินิกด้วย จึงจะช่วยยืนยันฤทธิ์ต้านมะเร็งของลูกหว้าได้

สรรพคุณของลูกหว้า

ลูกหว้ามีสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • ประโยชน์ทางยา ใช้เปลือกมีรสฝาดรับประทานเป็นยาแก้บิด ต้มในน้ำเดือด แล้วอมแก้ปากเปื่อย คอเปื่อยและเป็นเม็ดแก้น้ำลายเหนียว
  • แพทย์พื้นบ้าน ใช้ใบและผล แก้บิดและท้องร่วง แก้ถ่ายเป็นมูกเลือด ต้มใบและผลในน้ำเดือด รับประทานหลังมีอาการ
  • เมล็ดในลูกหว้า แก้ปัสสาวะมาก แก้ท้องร่วงและบิด และถอนพิษแสลงใจ (พิษแสลงใจ หมายถึงอาการใจหวิว ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ) ต้มในน้ำเดือด รับประทานหลังมีอาการ
  • ใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ หรือนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้

การใช้หว้าปรุงอาหาร

ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ ผลอ่อนมีสีแดง เมื่อผลแก่จัด มีสีดำม่วง รับประทานเป็นของหวาน และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ ส่วนน้ำจากลูกหว้าถือเป็นน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ

ข้อควรระวังในด้านรับประทานลูกหว้า

แม้ลูกหว้าจะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่ในการนำมารับประทานก็มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกหว้าเพื่อสรรพคุณทางยา เนื่องจากยังไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่เพียงพอจะยืนยันความปลอดภัยของการใช้ลูกหว้ารักษาปัญหาสุขภาพในสตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการรับประทานลูกหว้า ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค เนื่องจากลูกหว้าดิบ 100 กรัม ให้พลังงานถึง 60 กิโลแคลอรี

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, ไม้เทศเมืองไทย, 2522.
มูลนิธิส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ, ตำราเภสัชกรรมไทย, 2547.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม