กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เทคนิคการลดน้ำตาลในชีวิตประจำวัน ที่คุณก็ทำได้

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เทคนิคการลดน้ำตาลในชีวิตประจำวัน ที่คุณก็ทำได้

หลายคนที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวาน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวที่ใส่น้ำตาลเยอะๆ หรือขนมหวานๆ อย่างเค้ก ช็อกโกแลต บิงซู หรือไอศกรีม ถึงแม้จะมีรสชาติอร่อยถูกใจ กินฟินๆ ได้ทั้งวันไม่มีเบื่อ แต่แน่นอนว่า อะไรที่กินมากไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายเอาได้ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น

1.การก่อตัวของไขมัน

ไม่ต้องงงว่าทำไมไขมันมาเกี่ยวข้องกับน้ำตาลได้อย่างไร เพราะทุกครั้งที่เรารับประทานน้ำตาลมากไป น้ำตาลจะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้ไขมันที่เรากินเข้าไปนั้น เกิดการสะสมได้ง่ายขึ้น สกัดกั้นการนำไขมันไปใช้งานได้ตามธรรมชาติ จนเกิดการสะสมของไขมันได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วน และเกิดเป็นไขมันสะสมตามจุดต่างๆ ได้ในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.โรคเบาหวาน

ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ในทุก 150 กิโลแคลอรี่ จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารประเภทรสหวาน

 3.โรคความดันโลหิตสูง

การรับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป ทำให้อินซูลินในร่างกายเพิ่มสูงมากขึ้น ตกค้างในกระแสเลือด ทำให้เกิดระบบการหมุนเวียนของเลือดผิดปกติ นำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงตามมา รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ ตามมาได้เช่นกัน

4.เกิดการเสพติดและโรคอ้วน

อย่างที่ทราบกันดีว่าน้ำตาลคือสารที่ทำให้เกิดความสุข โดยเฉพาะการรับประทานอาหารประเภทให้ความหวานเป็นประจำ ยังทำให้เกิดการเสพติดรสชาติหวานอย่างไม่รู้ตัว ทำให้เลิกยาก เพราะหากไม่ได้ทานมักจะเกิดอาการต่างๆ เช่น ตัวสั่น ใจสั่น รวมถึงรสชาติที่หวานส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย โดยเฉพาะคนที่อ้วนง่าย ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานเท่าที่จำเป็น

5.ทำให้อารมณ์แปรปรวน

เมื่อใดก็ตามที่น้ำตาลไปรวมกันอยู่บนเมนูอาหารจำพวกฟาสต์ฟู๊ด เช่น อาหารประเภทขยะที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อร่างกายแล้ว โอกาสที่จะเกิดอารมณ์แปรปรวน ภาวะโรคซึมเศร้าก็จะยิ่งง่ายขึ้น ยิ่งรับประทานติดต่อกันบ่อยมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้มากเท่านั้น

เมื่อที่ทราบอย่างนี้แล้ว เราควรหาวิธีควรคุมการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและรสหวานให้มีความพอดีต่อความต้องการของร่างกาย วันนี้เราเลยมีเทคนิคดีๆ สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำตาลในแต่ละวัน เพื่อการดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นมากฝากกันค่ะ

เทคนิคการการลดน้ำตาลในชีวิตประจำวัน

1.เลือกรสหวานจากธรรมชาติแทน

การเลือกรับประทานอาหารที่มีรสหวานจากธรรมชาติ เช่น ผลไม้ที่ให้ความหวาน เป็นต้น ลองปรับวิธีการทานอาหารวานจากผลไม้ จากที่เมื่อก่อนจะชอบทานอาหารที่เป็นพวกแป้งที่มีส่วนผสมของน้ำตาล นอกจากจะลดน้ำตาลในร่างกายได้แล้ว ประโยชน์จากผลไม้ยังมีมากมายอีกด้วย เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.ควบคุมอาหาร

ลองปรับวิธีการกินอาหารให้เป็นเวลามากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักผลไม้ หรือเน้นทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก และรับประทานอาหารจำพวกน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม

3.ปรุงอาหารด้วยรสชาติเบาๆ

หลายคนชอบทำอาหารที่มีรสหวานมักจะชอบเติมน้ำตาล ทั้งที่รสชาติอาหารดีอยู่แล้ว ลองปรับวิธีการประกอบอาหารที่มีรสชาติไม่จัดมาก ลดการเติมเครื่องปรุงที่มีรสจัดต่างๆ เช่น รสเค็ม เผ็ด รสหวานจัด เพราะการรับประทานอาหารรสจัดส่งผลเสียต่อสุขภาพอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น โรคไต กระเพาะอักเสบ เป็นต้น

4.ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล 

เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม น้ำหวานปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติ ลองปรับวิธดื่ม โดยการดื่มน้ำเปล่าแทน วันละ 4-8 แก้ว เพราะน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด จะต้องให้ร่างกายได้รับอย่างเพียงพอ เพราะจะได้ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเหมาะสม

5.เลือกอาหารว่างที่มีน้ำตาลน้อย

เลือกทานอาหารว่างที่มีคุณประโยชน์แทนการทานอาหารจำพวกน้ำตาล เช่น ผลไม้อบแห้ง หรืออาหารที่มีโปรตีนและเส้นใยที่สูง จะช่วยให้ร่างกายได้ประโยชน์จากการทานได้มากขึ้น ไม่ทำให้อ้วน โดยเฉพาะคนที่ประสบปัญหาเรื่องโรคอ้วน เป็นต้น

6.พักผ่อนให้เพียงพอ

สาเหตุของการทานอาหารในปริมาณมาก เนื่องจากการนอนน้อยทำให้ร่างกายอยากอาหารเพื่อไปชดเชย โดยเฉพาะความหวานที่ลดความเหนื่อยล้าและอาการง่วงได้ ลองเปลี่ยนวิธีการนอนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ไม่กินจุ หรือทานอาหารที่มีรสหวานจัดเกินไป

จะเห็นได้ว่า รสหวานของน้ำตาลนำไปสู่การมีสุขภาพที่ย่ำแย่ และเป็นสาเหตุของโรคภัยอื่นๆ ได้อีกมากมาย เพราะร่างกายเองก็ต้องการความพอดีของน้ำตาลที่จะไปชดเชยส่วนต่างๆ ที่ขาดไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องของน้ำหนักเกิน ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกที่มีน้ำตาล เพราะจะส่งผลต่อระดับอินซูลินในร่างกายได้

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก ไม่ตามใจปากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารหวานๆ และหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากทำทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันไปได้ ก็จะช่วยให้ร่างกายของเรามีความบาลานซ์หรือความสมดุลมากขึ้นได้เป็นอย่างดี ห่างไกลจากโรคร้ายกวนใจต่างๆ แถมในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว การควบคุมอาหารยังช่วยให้อาการของโรคต่างๆ ที่เคยมี ทุเลาเบาบางลงได้อีกด้วย ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากซักหน่อย แต่เพื่อสุขภาพที่ดีแล้ว อย่าลืมหันมาควบคุมเรื่องอาหารการกินกันดูนะคะ รับรองว่า ไม่ยากเกินไปแน่นอน


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม