ถ้าเป็นเบาหวานควรรับประทานมะนาวมากขึ้นหรือไม่?

การรับประทานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ถ้าเป็นเบาหวานควรรับประทานมะนาวมากขึ้นหรือไม่?

มีความเชื่อว่าการรับประทานมะนาวจะช่วยในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มานาน แต่ความเชื่อนี้เป็นจริงหรือไม่?

โภชนาการของมะนาว

มะนาวมีวิตามินซีมากพอๆ กับส้ม ทำให้มะนาว ส้มและผลไม้ในกลุ่ม citrus ถูกนำไปรับประทานขณะออกเดินทางทางทะเลเพื่อป้องกันโรคลักปิดลักเปิด (ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามิน C) นอกจากนั้นมะนาวยังมีน้ำตาลเพียง 1/3 ของส้ม แต่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เท่ากัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มะนาวกับโรคเบาหวาน

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ใส่มะนาวไว้เป็นหนึ่งในรายการอาหารที่ดีเยี่ยม เนื่องจากมีเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำมากและมีปริมาณวิตามิน C เยอะ ซึ่งจะช่วยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ มะนาวยังมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และมีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่าอาจช่วยลดดัชนีน้ำตาลของอาหารชนิดอื่นได้ด้วย แต่เมื่อย้อนกลับไปดูเรื่องงานวิจัยเกี่ยวกับผลที่ได้จากการกินมะนาวกับโรคเบาหวานพบว่ายังมีอยู่จำกัด

มีการศึกษาระดับ meta-analysis ในปี ค.ศ. 2015 ภายในวารสาร Primary Care Diabetes ที่พบว่า การรับประทานผลไม้ในกลุ่ม citrus ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 จาก Advances in Nutrition ที่พบว่าผลไม้ในกลุ่มนี้มีสารที่ช่วยลดการอักเสบและต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น flavonoids naringin และ naringenin แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารเหล่านี้ในการรักษาโรคเบาหวาน

สารอาหาร 2 ชนิดในมะนาวที่ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีดังนี้

  • เส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) : อาหารที่มีเส้นใยมากจะช่วยลดระดับน้ำตาลได้ เส้นใยอาหารเหล่านี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจโดยการลดความดันโลหิตและระดับ cholesterol และช่วยลดน้ำหนัก
  • วิตามิน C : วิตามิน C เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย สารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำลายเซลล์และเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนมีระดับวิตามิน C ที่ต่ำ เนื่องจากวิตามิน C มีส่วนในการสร้าง collagen ซึ่งช่วยทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงมีความแข็งแรงและช่วยในผู้ป่วยที่มีปัญหาการไหลเวียนเลือดหรือมีการทำลายเส้นเลือดแดง

มีการศึกษาบางชิ้นที่พบว่าวิตามิน C สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลไขมันชนิด Triglyceride, cholesterol ระดับน้ำตาลสะสมและการอักเสบได้ และอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ด้วย อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามิน C ที่มากเกินไป โดยเฉพาะจากอาหารเสริมอาจทำให้เกิดอันตรายได้

คำแนะนำและข้อควรระวัง

  • สอบถามทีมแพทย์ก่อนการเพิ่มปริมาณมะนาวในรายการอาหารหรือวางแผนที่จะใช้มะนาวในช่วยเรื่องสุขภาพ ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้มะนาวและปริมาณที่เหมาะสม คุณไม่จำเป็นต้องรับประทานน้ำมะนาวจำนวนมากเพื่อให้ได้ประโยชน์จากมะนาว
  • มะนาวอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้ หากคุณมีอาการนี้คุณควรลดปริมาณที่รับประทานลง
  • น้ำมะนาวสามารถกัดกร่อนสารเคลือบฟันและเพิ่มการรับความรู้สึกบริเวณฟัน ดังนั้น ควรใช้หลอดค่อยๆ ดูดขณะรับประทานน้ำมะนาวหรือน้ำผลไม้
  • เปลือกมะนาวมีสาร oxalate ในปริมาณที่สูง การรับประทานสารนี้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดนิ่วในไตและมีอาการปวดจากการอักเสบได้
  • มะนาวสามารถออกฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ ดังนั้น ควรรับประทานน้ำเยอะๆ เพื่อให้ไม่ขาดน้ำ
  • สามารถใช้น้ำมะนาวแทนเกลือในการเพิ่มรสชาติให้อาหารได้
  • บีบมะนาวลงบนผักใบเขียว ร่วมกับการใช้น้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษเป็นน้ำสลัด หากต้องการรสชาติเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่สูตรน้ำสลัดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานของ Lemony

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Megan Ware, RDN, L.D., benefits-of-lemon-and-diabetes (https://www.medicalnewstoday.com/articles/283476.php), November 4, 2019
Scott Frothingham, benefits-of-lemon-and-diabetes (https://www.healthline.com/health/lemons-and-diabetes), February 8, 2019
Elizabeth Woolley, benefits-of-lemon-and-diabetes (https://www.verywellhealth.com/benefits-of-lemon-and-diabetes-1087441), January 04, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม