การหงุดหงิดใส่แฟนเป็นเรื่องปกติของผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่?

เมื่อไหร่ที่อาการโกรธจะกลายเป็นความกดขี่?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การหงุดหงิดใส่แฟนเป็นเรื่องปกติของผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่?

สมาชิกที่ใช้ชื่อว่า Raines46 ถามว่าเป็นเรื่องปกติของสามีที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่จะมีอาการโกรธและโมโหอย่างรุนแรงและนำมาลงกับภรรยาของตนหรือไม่?

ความหงุดหงิดและความโกรธเป็นอารมณ์ที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานทุกคน และระดับน้ำตาลที่มีการขึ้นลงยังอาจทำให้อารมณ์มีความเปลี่ยนแปลงและอาจทำให้เกิดพฤติกรรมโกรธรุนแรงได้ แต่เมื่อไหร่ที่อาการโกรธเหล่านี้จะกลายเป็นความรุนแรงในบ้าน?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Raines46 ถามว่า

สามีของฉันอายุ 40 ปี และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ฉันอยากรู้ว่าอารมณ์โกรธรุนแรงนี้ถือเป็นผลข้างเคียงหนึ่งของโรคนี้หรือเปล่า เราอยู่ด้วยกันมา 7 ปี และเพิ่งมีวันหยุดสุดสัปดาห์ที่หายนะ เขาเปลี่ยนจากคนที่สุขุมและชอบพูดขอโทษ กลายเป็นอีกคนที่ใช้คำพูดร้ายกาจรุนแรง ในบางครั้ง เขาก็มีการผลักฉันด้วย เขาไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอดเวลาและปกติเป็นคนที่ค่อนข้างน่ารักได้นานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ โชคดีที่ลูกๆ อยู่กับพ่อของเขาในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกบ้านเขาดูเป็นคนสุภาพและรักสงบ ครอบครัวของเขาไม่มีทางเชื่อฉันเลยถ้าฉันบอกว่าเขามีอาการแบบนี้ ฉันรู้สึกกังวลและกลัวว่าจะพูดอะไรที่ทำให้เขามีอาการขึ้นและอาการโกรธของเขาดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ฉันจะขอบคุณมากถ้าคุณจะช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำกับฉันในเรื่องนี้

อารมณ์โกรธและหงุดหงิดเป็นปฏิกิริยาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องใช้ความอดทนหลายอย่างซึ่งอาจมีช่วงที่หงุดหงิดจากการต่อสู้กับโรคนี้ทุกวันมาตลอดชีวิต นอกจากนั้นพบว่า ในผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลมีการแกว่ง เช่นเพิ่มขึ้นหรือต่ำลงมาก จะทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ เช่น อารมณ์โกรธ วิตกกังวล หรือซึมเศร้า ซึ่งผู้ป่วยและคนรอบข้างมักไม่สามารถควบคุมอารมณ์เหล่านี้ได้ ดังนั้นภรรยาหรือสามีของผู้ป่วยอาจต้องพยายามมองข้ามอาการโกรธที่เกิดจากเหตุผลเหล่านี้ไป

อย่างไรก็ตามหากอาการโกรธนี้รุนแรงจนกลายเป็นการข่มขู่ทางกาย ทางวาจา หรือทางอารมณ์ แสดงว่าไม่ใช่อาการปกติ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะโกรธในบางครั้ง แต่หากอาการโกรธนั้นกลายเป็นความรุนแรง และอาจทำให้เกิดอันตรายหรือคนรอบข้างกลัว จะกลายเป็นการข่มขู่ภายในบ้าน การข่มขู่นี้อาจหมายถึงการข่มขู่ด้วยการกระทำ เช่น ตี ตบ ต่อย หรือทำร้ายร่างกาย หรืออาจเป็นการทำให้คนอื่นรู้สึกถูกข่มขู่หรือกลัวก็ได้ ดังนั้นหากคุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีการข่มขู่นี้เกิดขึ้น คุณควรบอกคนที่ไว้ใจเช่นเพื่อน ผู้ให้คำปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ โดยปกติแล้วความสัมพันธ์แบบนี้มักเกิดเพียงแค่กับคนคนนั้นทำให้คนรอบข้างมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความกลัว การบอกคนอื่นจะทำให้คนเหล่านี้สามารถได้รับความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น

Raines46 ได้เริ่มขั้นตอนแรกแล้วโดยการถามคำถามนี้ มีผู้ใช้บริการเว็บไซต์คนอื่นเข้ามาตอบคำถามของเธอ ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำในการอยู่ร่วมกับสามีที่เป็นโรคเบาหวานและมีโอกาสในการเกิดความรุนแรงภายในบ้านและมีการส่ง email จากถึง Raines 46 เพื่อให้ข้อมูลและการช่วยเหลือ รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานความรุนแรงภายในบ้านแห่งชาติ (National Domestic Violence Hotline) อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือหากคุณรู้สึกว่าคุณกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีความรุนแรง

  • สหรัฐอเมริกา : สายด่วนหน่วยงานความรุนแรงภายในบ้านแห่งชาติ (National Domestic Violence) 800-799- SAFE (7233) or 800-787-3224 (TTY) ตลอด 24 ชั่วโมง
  • สหราชอาณาจักร : สายให้ความช่วยเหลือเรื่องความรุนแรงภายในบ้าน 0808 2000 247 ตลอด 24 ชั่วโมง
  • แคนาดา : สายด่วนหน่วยงานความรุนแรงภายในบ้าน 1-800- 799-7233 or 1-800-787-3224 (TDD)
  • รายชื่อหน่วยงานที่ให้บริการสายด่วนเรื่องความรุนแรงในบ้านทั่วโลก

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natalie Silver, is-anger-at-a-spouse-normal-with-diabetes (https://www.healthline.com/health/diabetes/diabetes-mood-swings), March 11, 2019
Adam Felma, is-anger-at-a-spouse-normal-with-diabetes (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317458.php), May 24, 2019
diabetes.co.uk, is-anger-at-a-spouse-normal-with-diabetes (https://www.diabetes.co.uk/emotions/diabetes-and-anger.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม