กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิตามินเอ (Vitamin A)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 14 นาที

ข้อมูลภาพรวมของวิตามิน A

วิตามิน A (Vitamin A) คือวิตามินประเภทหนึ่งที่พบได้จากผลไม้กับผักหลายประเภท, ไข่, นมสด, เนย, มาร์การีน, เนื้อ, และปลาน้ำเค็มที่อุดมด้วยไขมัน อีกทั้งยังเป็นวิตามินที่สามารถผลิตได้จากห้องปฏิบัติการณ์ แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) คือสารเคมีที่มีสีเหลืองหรือส้มที่พบในพืช ซึ่งสารเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกายได้

บางคนใช้วิธีรับประทานวิตามิน A หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามิน A อีกทั้งการรับประทานวิตามิน A ยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ อย่างมาลาเรีย, HIV, โรคหัด (measles), และท้องร่วง และใช้เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของเด็กที่มีภาวะขาดวิตามิน A ได้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้หญิงบางคนรับประทานวิตามิน A เพื่อดูแลตนเองระหว่างช่วงที่มีประจำเดือนมามาก, รักษาอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome (PMS)), ภาวะติดเชื้อที่ช่องคลอด, การติดเชื้อยีสต์, โรคก้อนเนื้อในเต้านม (fibrocystic breast disease), และเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่เป็น HIV บางคนสามารถรับประทานวิตามิน A เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์, ไปยังเด็กที่คลอด, หรือผ่านทางน้ำนมได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดบุตรและช่วยในเรื่องพัฒนาการของทารกอีกด้วย

ผู้ชายบางคนรับประทานวิตามิน A เพื่อเพิ่มจำนวนสเปิร์ม

บางคนรับประทานวิตามิน A เพื่อบำรุงสายตาและรักษาภาวะผิดปรกติที่ดวงตาอย่างโรคจุดภาพชัดตาเสื่อมจากอายุ (age-related macular degeneration (AMD)), ต้อหิน (glaucoma), โรคจอตามีสารสี (retinitis pigmentosa), และต้อกระจก (cataracts) อีกทั้งยังมีการใช้วิตามิน A ในการเร่งการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดตาอีกด้วย

วิตามิน A ที่รับประทานเข้าไปสามารถใช้รักษาภาวะผิวหนังต่าง ๆ ได้อย่างสิว, โรคผิวหนังอักเสบ (eczema), โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis), โรคเริม (cold sores), รักษาบาดแผล, แผลไหม้, แผลไหม้แดด, โรคขนคุด (keratosis follicularis), โรคหนังเกล็ดปลา (ichthyosis), โรคไลเคน พลานัส (lichen planus pigmentosus), และโรค pityriasis rubra pilaris

บางคนใช้วิธีทานวิตามิน A รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (gastrointestinal ulcers), โรคโครห์น (Crohn's disease), ภาวะติดเชื้อปรสิตในลำไส้, โรคเหงือก, เบาหวาน, Hurler syndrome  (mucopolysaccharidosis), ไซนัสติดเชื้อ, ไข้ละอองฟาง (hayfever), การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ, ข้อเสื่อม (osteoarthritis), วัณโรค (tuberculosis), และการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infections (UTIs)) อีกทั้งยังช่วยลดอาการของโรคตับที่มาจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis), และโรคพากินสัน (Parkinson's disease) ได้เช่นกัน

วิตามิน A ถูกนำไปรับประทานรักษาโรคบิดไม่มีตัว (shigellosis), โรคของระบบประสาท, การติดเชื้อที่จมูก, ภาวะสูญเสียประสาทรับกลิ่น, หอบหืด, ป้องกันภูมิแพ้, อาการปวดศีรษะเรื้อรัง, นิ่วในไต, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากไป, โลหิตจาง, หูหนวก, หูอื้อ, และโรคฝ้าขาวในช่องปาก (leukoplakia)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สรรพคุณอีกหนึ่งของวิตามิน A มีทั้งป้องกันและรักษามะเร็งอย่างมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin และลดผลข้างเคียงระหว่างการรักษามะเร็ง อีกทั้งยังมีการใช้วิตามิน A ในการป้องกันหัวใจและระบบหลอดเลือดหัวใจ, ชะลอความแก่วัย, และเร่งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

บางคนใช้วิธีทาวิตามิน A บนผิวหนังโดยตรงเพื่อเร่งกระบวนการฟื้นตัวของบาดแผลที่ผิวหนัง, ลดริ้วรอย, และป้องกันผิวจากรังสี UV

วิตามิน A ออกฤทธิ์อย่างไร?

วิตามิน A มีความจำเป็นต่อพัฒนาการและการทำงานของดวงตา, ผิวหนัง, ระบบภูมิคุ้มกัน, และส่วนอื่น ๆ ของร่างกายมนุษย์

การใช้และประสิทธิภาพของวิตามิน A

ภาวะที่ใช้วิตามิน A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะขาดวิตามิน A (Vitamin A deficiency) การรับประทานวิตามิน A สามารถป้องกันและรักษาอาการจากภาวะขาดวิตามิน A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยภาวะขาดโปรตีน, ผู้ป่วยเบาหวาน, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน, ไข้หวัด, โรคตับ, โรคซิสติก ไฟโบรซิส, หรือภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกว่า abetalipoproteinemia

ภาวะที่อาจใช้วิตามิน A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • มะเร็งเต้านม ผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมีการบริโภควิตามิน A จากอาหารที่สูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมที่น้อยลง แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าการรับประทานอาหารเสริมวิตามิน A จะให้ผลเช่นเดียวกันหรือไม่
  • ต้อกระจก (Cataracts) ผู้ที่บริโภควิตามิน A จากอาหารสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกที่ลดลง
  • โรคหัด (Measles) การทานวิตามิน A อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัดหรือลดการเสียชีวิตในเด็กที่เป็นโรคหัดกับภาวะขาดวิตามิน A ลง
  • โรคฝ้าขาว (oral leukoplakia) งานวิจัยพบว่าการทานวิตามิน A สามารถรักษาแผลก่อนมะเร็งในช่องปากได้
  • อาการท้องร่วงหลังคลอดบุตร การทานวิตามิน A ระหว่างและหลังจากคลอดจะช่วยลดอาการท้องร่วงหลังคลอดของผู้หญิงที่มีภาวะทุพโภชนาการได้
  • การเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ การทานวิตามินก่อนและระหว่างมีครรภ์อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้หญิงที่ขาดสารอาหารได้ประมาณ 40%
  • โรคตาบอดกลางคืน (nightblindness) ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ การทานวิตามิน A ระหว่างมีครรภ์อาจช่วยลดภาวะตาบอดกลางคืนของผู้มีครรภ์ที่ขาดสารอาหารได้ 37% โดยวิตามิน A อาจออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นหากใช้ร่วมกับสังกะสี
  • โรคจอตามีสารสี (retinitis pigmentosa) การทานวิตามิน A สามารถชะลอการลุกลามของโรคตาที่สร้างความเสียหายกับจอตาได้

ภาวะที่วิตามิน A อาจไม่สามารถรักษาได้

  • ภาวะหลอดลมและเนื้อปอดเจริญผิดที่ในเด็กแรกเกิด (bronchopulmonary dysplasia) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฉีดวิตามินไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการหายใจของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำได้
  • ผลข้างเคียงที่กระเพาะอาหารและลำไส้จากการบำบัดเคมี การรับประทานวิตามิน A ไม่ได้ป้องกันหรือลดผลข้างเคียงจากการบำบัดเคมีที่กระเพาะอาหารและลำไส้ในเด็กได้
  • การเสียชีวิตของทารกคลอดก่อนกำหนดและตัวอ่อน การทานอาหารเสริมวิตามินก่อน, ระหว่าง, หรือหลังจากตั้งครรภ์อาจไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของตัวอ่อนหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดของแม่ที่ขาดสารอาหารได้ อย่างไรก็ตามการให้วิตามิน A กับทารกบางรายก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่อยู่ในพื้นที่ที่มักพบกรณีเด็กขาดสารอาหารหรือขาดวิตามิน A ได้
  • มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (melanoma) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน A ไม่ได้เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้
  • แท้งบุตร ผู้หญิงที่บริโภควิตามิน A ทั้งเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิตามินอื่น ๆ ก่อนหรือระหว่างการตั้งครรภ์ระยะแรกไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการตายคลอดหรือแท้งบุตรได้
  • ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) การทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเซลาเนียม (selenium), วิตามิน A, วิตามิน C, และวิตามิน E (Selenium ACE) ไม่อาจลดอาการของโรคข้อเสื่อมได้ อีกทั้งการทานวิตามิน A เสริมก็ไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคข้อสันหลังเสื่อมที่มีระดับวิตามิน A เพียงพออยู่แล้วได้แต่อย่างใด
  • วัณโรค (Tuberculosis) ผู้ป่วยวัณโรคมักจะมีระดับวิตามิน A ที่ต่ำ กระนั้นการได้รับวิตามิน A กลับไม่อาจช่วยอาการหรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคได้

ภาวะที่วิตามิน A มักจะไม่สามารถรักษาได้

  • มะเร็งศีรษะและลำคอ การทานวิตามิน A ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกใหม่หรือเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอได้
  • การแพร่เชื้อ HIV การทานวิตามิน A ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ HIV ไปยังตัวอ่อนในครรภ์, ไปยังทารกแรกเกิดระหว่างการคลอด, หรือไปยังทารกระหว่างการให้นมบุตรได้ ซึ่งข้อเท็จจริงจากงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่เป็น HIV-positive ที่ทานอาหารเสริมวิตามิน A ระหว่างมีครรภ์กลับจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ HIV ไปยังทารกผ่านการให้นมน้ำมากขึ้นแทน
  • การติดเชื้อที่หลอดลมส่วนล่าง การทานวิตามิน A ไม่อาจป้องกันหรือลดอาการของภาวะติดเชื้อที่หลอดลมส่วนล่างในเด็กได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ววิตามิน A กลับเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในเด็กที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยแทน
  • ปอดบวม (Pneumonia) การทานวิตามิน A ไม่อาจรักษาหรือป้องกันโรคปอดบวมในเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้วิตามิน A รักษาได้หรือไม่

  • โรคตับที่มาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานวิตามิน A ร่วมกับ coenzyme Q10 และวิตามินกับเกลือแร่ต่าง ๆ ไม่อาจเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคตับจากการบริโภคแอลกอฮอล์ได้
  • โลหิตจาง (Anemia) การทานวิตามิน A อาจเพิ่มระดับโปรตีนที่ใช้กักเก็บธาตุเหล็กในเลือดขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางในเด็กและผู้หญิงมีครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามในประเทศที่โรคโลหิตจางเป็นโรคที่พบเห็นได้ทั่วไปนั้น การทานวิตามิน A (retinol) ร่วมกับธาตุเหล็กและโฟเลตกลับไม่ช่วยให้โรคโลหิตจางในผู้หญิงมีครรภ์ดีขึ้นหากเทียบกับการทานเพียงธาตุเหล็กและโฟเลต
  • มะเร็งปากมดลูก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่ากรเพิ่มขึ้นของระดับวิตามิน A ในเลือดหรือมีการบริโภควิตามิน A ที่สูงนั้นเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกที่น้อยลง อย่างไรก็ตามกรณีนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นการใช้วิตามิน A ทั้งสองรูปแบบ, เรทินอล, และแคโรทีน แต่สำหรับการบริโภคเพียงเรทินอลอย่างเดียวนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อมะเร็งที่ลดลง
  • พัฒนาการของเด็ก การทานวิตามิน A ไม่อาจช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเด็กที่มีการบริโภคสารอาหารปกติ อย่างไรก็ตามการทานวิตามิน A อาจช่วยในเรื่องการเติบโตของเด็กที่มีภาวะขาดวิตามิน A ได้
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด CML (chronic myelogenous leukemia (CML)) งานวิจัยพบว่าการทานวิตามิน A ร่วมกับยาต้านมะเร็งไม่อาจเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ได้หากเทียบกับการใช้ยาต้านมะเร็งเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงแล้วการทานวิตามิน A ร่วมกับยากลุ่มนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับพิษมากขึ้นแทน
  • ความเสียหายที่จอตาที่เกิดจากการบำบัดรังสี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน A (retinol palmitate) สามารถลดอาการที่จอตาจากการบำบัดรังสีที่เชิงกรานได้
  • ติ่งเนื้อเมือกลำไส้ใหญ่ (colorectal adenoma) การทานอาหารเสริมเซเลเนียม, สังกะสี, วิตามิน A, วิตามิน C, และวิตามิน E อาจช่วยลดการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ซ้ำได้
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การทานวิตามิน A เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ไม่อาจป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
  • การผ่าตัดสร้างทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน A อาจช่วยลดระยะเวลาในการฟื้นตัวที่ ICU ระหว่างการผ่าตัดประเภทนี้ได้ อีกทั้งยังอาจช่วยลดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังผ่าตัดลง
  • มะเร็งหลอดอาหาร การบริโภควิตามิน A และเบต้าแคโรทีนปริมาณสูงเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหารที่ลดลง แต่การทานวิตามิน A ร่วมกับเบต้าแคโรทีนกลับไม่สามารถป้องกันมะเร็งหลอดอาหารได้
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร การทานวิตามิน A เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับเบต้าแคโรทีนไม่อาจป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • HIV การทานวิตามิน A ระหว่างตั้งครรภ์อาจไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของแม่และเด็กได้ อีกทั้งการทานอาหารเสริมวิตามิน A ระหว่างมีครรภ์ก็ไม่อาจป้องกันการลุกลามของ HIV ในผู้หญิงที่มีที่มีระดับวิตามิน A ต่ำได้ แต่การให้วิตามิน A กับทารกและเด็กที่เป็น HIV-positive อาจช่วยลดการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับ HIV ได้
  • อาการท้องร่วงจาก HIV การทานวิตามิน A อาจลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอาการท้องร่วงในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามิน A ทั้งแบบที่เป็นผลและไม่ได้เป็นผลมาจาก HIV แต่ข้อมูลในส่วนนี้ยังคงขัดแย้งกันอยู่
  • พัฒนาการของทารก การฉีดวิตามิน A ให้กับทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคปอดเรื้อรังได้ 13% โดยการให้วิตามิน A ในรูปแบบฉีดนั้นยังอาจช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมองได้หนึ่งปีในบางกรณี แต่ก็มักจะได้ผลกับทารกที่มีขนาดเล็กมากที่ต้องใช้แก๊ส nitric oxide พยุงชีวิตอยู่
  • อาการเหนื่อยล้าจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานวิตามิน A นานหนึ่งปีสามารถลดอาการเหนื่อยล้าในผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแบบเป็น ๆ หาย ๆ ได้
  • มะเร็งปอด งานวิจัยส่วนมากกล่าวว่าการทานวิตามิน A ไม่อาจเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดได้ อีกทั้งการทานวิตามินร่วมกับเบต้าแคโรทีนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่และผู้ที่สูดดมแร่ใยหินขึ้นอีกด้วย แต่ก็ยังคงไม่แน่ชัดว่ากรณีเช่นนี้เป็นผลมาจากเบต้าแคโรทีนหรือไม่ 
  • มาลาเรีย การทานวิตามิน A อาจลดอาการจากมาลาเรียในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคนี้ได้ แต่การทานวิตามิน A ไม่อาจลดอาการหรือป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรียชนิดรุนแรงที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองได้
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin ผู้ที่บริโภควิตามิน A ปริมาณสูงจากอาหารจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ลดลงเล็กน้อย
  • มะเร็งรังไข่ งานวิจัยกล่าวว่าการทานวิตามิน A ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้
  • อัตราการตาย การทานวิตามิน A ไม่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีได้ อีกทั้งยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวิตามิน A กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็กที่อายุ 6 เดือนถึง 5 ปีที่มีภาวะขาดวิตามิน A ที่ขัดแย้งกันอยู่มาก แต่หลักฐานที่ดีที่สุดได้กล่าวไว้ว่าวิตามิน A สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ได้ประมาณ 12%
  • มะเร็งตับอ่อน การทานวิตามิน A ร่วมกับเบต้าแคโรทีนไม่อาจช่วยป้องกันมะเร็งตับอ่อนได้
  • โรคพากินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยที่กล่าวว่าระดับวิตามิน A ในเลือดหรือจากการบริโภคอาหารนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อโรคพากินสันแต่อย่างใด
  • การฟื้นร่างกายจากการผ่าตัดดวงตาด้วยเลเซอร์ (photoreactive keratectomy) การทานวิตามิน A ร่วมวิตามิน E อาจเร่งกระบวนการฟื้นตัวหลังผ่าตัดดวงตาด้วยเลเซอร์ขึ้นได้
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก การบริโภควิตามิน A จากอาหารไม่ได้เชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • โรคจุดภาพชัดตาเสื่อมจากอายุ (Age-related macular degeneration (AMD))
  • ต้อหิน (Glaucoma)
  • เพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ป้องกันและเร่งการฟื้นตัวจากภาวะติดเชื้อ
  • บำรุงสายตา
  • บรรเทาอาการไข้ละอองฟาง (hay fever)
  • รักษาบาดแผล
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของวิตามิน A เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของวิตามิน A

วิตามิน A ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อในปริมาณที่น้อยกว่า 10,000 IU ต่อวัน

วิตามิน A จะถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยหากเป็นการบริโภคในปริมาณสูง โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่าการบริโภคในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสะโพกหักหรือโรคข้อเสื่อมได้โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ที่มีการบริโภคผลิตภัณฑ์นมไขมันต่อที่อุดมไปด้วยวิตามิน A และทานผักผลไม้เยอะอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมวิตามิน A หรือใช้อาหารเสริมวิตามินรวมที่ประกอบด้วยวิตามิน A แต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การบริโภควิตามิน A ในปริมาณสูงระยะยาวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้อย่างเหนื่อยล้า, ฉุนเฉียว, สภาพจิตใจเปลี่ยน, อะนาร็อกเซีย, ไม่สบายท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, มีไข้อ่อน, เหงื่อออกมาก, และอื่น ๆ มากมาย ในผู้หญิงที่เลยช่วงหมดประจำเดือนไปแล้ว การบริโภควิตามิน A มากไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อมและกระดูกสะโพกหักขึ้นได้

อีกทั้งยังมีข้อกังวลว่าการบริโภคอาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูงอย่างวิตามิน A อาจทำให้เกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี โดยมีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่าการบริโภคอาหารเสริมวิตามิน A อาจเพิ่มโอกาสเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงขึ้นได้

ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทาวิตามิน A บนผิวหนังหรทอใต้ลิ้นที่เพียงพอต่อการสรุป

วิตามิน A ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับเด็กหากเป็นการบริโภคในปริมาณที่กำหนด โดยปริมาณวิตามิน A ที่กำหนดสำหรับเด็กนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุ: 

  • น้อยกว่า 2000 IU/วัน สำหรับเด็กอายุ 3 ปี
  • น้อยกว่า 3000 IU/วัน สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี
  • น้อยกว่า 5700 IU/วัน สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี
  • น้อยกว่า 9300 IU/วัน สำหรับเด็กอายุ 14-18 ปี

วิตามิน A จะถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อต้องบริโภคเข้าไปในปริมาณมากกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้น โดยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นอย่างฉุนเฉียว, ง่วงนอน, อาเจียน, ท้องร่วง, หมดสติ, ปวดศีรษะ, ปัญหาการมองเห็น, ผิวลอก, ความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมและท้องร่วงเพิ่มขึ้น, และปัญหาอื่น ๆ 

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: วิตามิน A ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้หญิงมีครรภ์และผู้ที่ต้องให้นมบุตรเมื่อบริโภคในปริมาณที่น้อยกว่า 10,000 IU ต่อวัน ซึ่งการบริโภคในปริมาณที่สูงกว่านั้นถูกจัดว่ามีความไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะผู้หญิงท้องที่ทำให้ต้องเฝ้าระวังปริมาณการบริโภควิตามิน A จากแหล่งต่าง ๆ ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยวิตามิน A จะอยู่ในอาหารหลายประเภทรวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์, ตับ, ธัญญาหารบางประเภท, และอาหารเสริมโภชนาการต่าง ๆ

การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป: การดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มผลเสียจากการใช้วิตามิน A ขึ้นได้

โรคโลหิตจาง: ผู้ป่วยโลหิตจางและมีระดับวิตามิน A ต่ำอาจต้องมีการทานธาตุเหล็กร่วมกับวิตามิน A เพื่อทดแทนภาวะพร่องนี้

ภาวะผิดปรกติที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซับไขมันได้ตามปรกติ: ผู้ป่วยภาวะนี้อย่างโรคเซลิแอค (celiac disease), กลุ่มอาการลำไส้สั้น (short gut syndrome), ดีซ่าน (jaundice), โรคซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis), โรคตับอ่อน, และตับแข็ง (cirrhosis) จะไม่สามารถดูดซับวิตามิน A ได้ตามที่ควร โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับวิตามิน A ประเภทที่ละลายน้ำได้แทน

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงประเภทที่เรียกว่า “Type V hyperlipoproteinemia”: ภาวะนี้อาจเพิ่มโอกาสต่อภาวะวิตามิน A เป็นพิษได้ ดังนั้นไม่ควรได้รับวิตามิน A หากคุณป่วยเป็นภาวะนี้

การติดเชื้อที่ลำไส้: ภาวะติดเชื้อที่ลำไส้อย่างพยาธิตัวตืดสามารถลดปริมาณการดูดซึมวิตามิน A ของร่างกายลงได้

ภาวะขาดธาตุเหล็ก: ภาวะขาดธาตุเหล็กอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำลายและใช้วิตามิน A ได้

โรคตับ: การบริโภควิตามิน A มากเกินไปอาจทำให้โรคตับทรุดลงได้ ดังนั้นหากคุณเป็นโรคตับไม่ควรบริโภควิตามิน A เด็ดขาด

ภาวะขาดสารอาหาร/ทุพโภชนาการ: ผู้ที่มีภาวะขาดโปรตีนรุนแรง การรับประทานวิตามิน A อาจทำให้มีวิตามิน A คงเหลือในร่างกายมากขึ้น

ภาวะขาดธาตุเหล็ก: ผู้ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กอาจจะมีอาการจากภาวะขาดวิตามิน A เกิดขึ้นตามมาได้ ดังนั้นการทานอาหารเสริมที่มีทั้งวิตามิน A และสังกะสีจะช่วยให้ภาวะนี้ดีขึ้นได้

การใช้วิตามิน A ร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้วิตามิน A ร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาสำหรับภาวะผิวหนัง (Retinoids) กับวิตามิน A

ยาสำหรับภาวะผิวหนังบางตัวจะมีผลต่อผลของวิตามิน A ดังนั้นการทานวิตามิน A ร่วมกับยาเหล่านี้จะทำให้เกิดผลและผลข้างเคียงจากวิตามิน A มากขึ้น

ใช้วิตามิน A ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

วิตามิน A สามารถตีกับยาปฏิชีวนะบางตัวได้ โดยการทานวิตามิน A ปริมาณสูงร่วมกับยาปฏิชีวนะอาจเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงที่เรียกว่าภาวะแรงดันในโพรงสมองมากเกินปกติ (intracranial hypertension) แต่การทานวิตามิน A ในปริมาณปรกติร่วมกับ tetracyclines กลับไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรทานวิตามิน A หากคุณกำลังต้องใช้ยาปฏิชีวนะอยู่เพื่อความปลอดภัย ตัวอย่างยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้มีทั้ง demeclocycline (Declomycin), minocycline (Minocin), และ tetracycline (Achromycin)

  • ยาที่สามารถทำอันตรายต่อตับได้ (Hepatotoxic drugs) กับวิตามิน A

การบริโภควิตามิน A ปริมาณสูงอาจสร้างความเสียหายกับตับได้ โดยการทานวิตามิน A ปริมาณสูงร่วมกับยาที่ส่งผลเสียต่อตับอยู่แล้วจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายที่ตับมากขึ้น ดังนั้นไม่ควรบริโภควิตามิน A ในปริมาณสูงหากคุณกำลังใช้ยาที่ส่งผลเสียต่อตับ ตัวอย่างยาที่ส่งผลเสียต่อตับมีทั้ง acetaminophen (Tylenol และอื่น ๆ), amiodarone (Cordarone), carbamazepine (Tegretol), isoniazid (INH), methotrexate (Rheumatrex), methyldopa (Aldomet), fluconazole (Diflucan), itraconazole (Sporanox), erythromycin (Erythrocin, Ilosone, และอื่น ๆ), phenytoin (Dilantin), lovastatin (Mevacor), pravastatin (Pravachol), simvastatin (Zocor), และอื่น ๆ มากมาย

Warfarin (Coumadin) เป็นยาที่ใช้ชะลอลิ่มเลือด การใช้วิตามิน A ปริมาณสูงสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ ดังนั้นการทานวิตามิน A ร่วมกับ Warfarin (Coumadin) จะเพิ่มโอกาสต่อการเกิดรอยฟกช้ำและเลือดออกขึ้น ดังนั้นควรเข้าตรวจเลือดเป็นประจำหากคุณกำลังใช้ยา Warfarin (Coumadin) อยู่ โดยอาจต้องมีการปรับขนาดยาWarfarin (Coumadin) ตามความจำเป็น

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • ทั่วไป: ระดับสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน (Recommended Dietary Allowance (RDA)) ของวิตามิน A สำหรับผู้ใหญ่: ผู้ชาย 14 ปีขึ้นไป = 900 mcg/วัน (3000 IU), ผู้หญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป = 700 mcg/วัน (2300 IU), ผู้หญิงมีครรภ์อายุ 14-18 ปี = 750 mcg/วัน (2500 IU), อายุ 19 ปีขึ้นไป = 770 mcg/วัน (2600 IU), ผู้หญิงที่ให้นมบุตรที่อายุ 14-18 ปี = 1200 mcg/วัน (4000 IU), อายุ 19 ปีขึ้นไป = 1300 mcg/วัน (4300 IU) ปริมาณสารอาหารสูงสุด (Tolerable Upper Intake Levels (UL)) ที่เป็นข้อมูลปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงของวิตามิน A ถูกระบุไว้เฉพาะ preformed vitamin A (retinol) ซึ่งไม่ได้รวมถึง  provitamin A carotenoids ว่าสำหรับเด็กวัยเจริญพันธุ์อายุ 14-18 ปี (รวมทั้งที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตรอยู่) ที่ 2800 mcg/วัน (9000 IU), สำหรับผู้ใหญ่อายุ 19 ปีขึ้นไป (รวมทั้งที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตรอยู่) ที่ 3000 mcg/วัน (10,000 IU)

ปริมาณที่ควรใช้วิตามิน A มักจะกำหนดในหน่วย IU แต่ในบางครั้งก็อาจมีการระบุไว้ในหน่วยไมโครกรัมเช่นกัน

การบริโภคผักผลไม้ 5 ส่วนต่อวันจะให้วิตามิน A ประมาณ 50-65% สำหรับ RDA ผู้ใหญ่

  • สำหรับโรคฝ้าขาวก่อนมะเร็ง: วิตามิน A 200,000-300,000 IU ต่อสัปดาห์นาน 6-12 สัปดาห์
  • สำหรับอาการท้องร่วงหลังการตั้งครรภ์: วิตามิน A 23,000 IU ต่อสัปดาห์ทั้งก่อน, ระหว่าง, และหลังมีครรภ์
  • สำหรับลดการเสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์: วิตามิน A 23,000 IU ทุกสัปดาห์ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์
  • สำหรับลดอาการตาบอดกลางคืนระหว่างมีครรภ์: วิตามิน A 23,000 IU ทุกสัปดาห์ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ อีกทั้งสำหรับผู้หญิงที่มีภาวะสังกะสีต่ำจะได้ผลมากขึ้นหากใช้วิตามิน A ร่วมกับสังกะสี 35 mg ทุกวัน
  • โรคสารสีในจอตา: วิตามิน A 15,000 IU ต่อวัน บางครั้งก็ใช้ร่วมกับวิตามิน E 400 IU ทุกวัน

เด็ก

รับประทาน:

  • ทั่วไป: ระดับสารอาหารที่เพียงพอ (Adequate Intake (AI)) ของวิตามิน A สำหรับทารกอายุ 6 เดือน = 400 mcg/วัน (1300 IU), 7-12 เดือน = 500 mcg/วัน (1700 IU)

ระดับสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน (Recommended Dietary Allowance (RDA)) ของวิตามิน A สำหรับเด็กและผู้ใหญ่มีดังนี้: เด็กอายุ 1-3 ปี = 300 mcg/วัน (1000 IU), อายุ 4-8 ปี = 400 mcg/วัน (1300 IU), อายุ 9-13 ปี = 600 mcg/วัน (2000 IU) ปริมาณสารอาหารสูงสุด (Tolerable Upper Intake Levels (UL)) ที่เป็นข้อมูลปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงของวิตามิน A ถูกระบุไว้เฉพาะ preformed vitamin A (retinol) ซึ่งไม่ได้รวมถึง  provitamin A carotenoids ว่าสำหรับทารกและเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ปีคือ 600 mcg/วัน (2000 IU), เด็กอายุ 4-8 ปีคือ 900 mcg/วัน (3000 IU), เด็กอายุ 9-13 ปีคือ 1700 mcg/วัน (6000 IU), และอายุ 14-18 ปี (รวมทั้งที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตรอยู่) คือ 2800 mcg/วัน (9000 IU)

  • สำหรับโรคหัด: วิตามิน A ชนิดรับประทาน 100,000 ถึง 200,000 IU อย่างน้อยสองโดสสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin A supplementation. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/immunization/programmes_systems/interventions/vitamin_A/en/)
Vitamin A supplementation. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/elena/titles/full_recommendations/vitamina_supp/en/)
Vitamin A: Benefits, Deficiency, Toxicity and More. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-a)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)