กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Aplastic Anemia (โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดออกมาได้เพียงพอ

โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อเป็นความผิดปกติที่ไขกระดูกของร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้เพียงพอ ภายในเลือดของคนเราประกอบไปด้วยเม็ดเลือด 3 ชนิด ซึ่งอยู่ภายในน้ำเลือด เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาจากเซลล์ (ไปที่ปอดเพื่อหายไปออก) เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อสู่กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย เกล็ดเลือดเป็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่ช่วยทำให้เกิดลิ่มเลือดเพื่อให้เลือดหยุดไหล เม็ดเลือดเหล่านี้มีอายุขัยที่แตกต่างกันไป และจะต้องมีเม็ดเลือดตัวใหม่ขึ้นมาทดแทนซึ่งจะถูกสร้างขึ้นที่ไขกระดูก หากไม่มีกระบวนการสร้างทดแทนแล้วนั้นจะทำให้เกิดปัญหากับร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและปอด เลือดไหล และเกิดการติดเชื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความชุกและสาเหตุของโรค

โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ เป็นโรคที่พบได้น้อย เพียง 0.7-4.1 คนในล้านคน ต่อปี ข้อมูลจการายงานใน American Journal of Hematology รายงานในวารสาร Haematologica ได้ประมาณผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่ที่ 2.34 คนต่อล้านคนต่อปีโรคนี้เกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆ กัน และมักเกิดในผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20-25 ปี และมากกว่า 60 ปี อ้างอิงจาก National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่ออาจเกิดจากการที่เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูก ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการเจริญเป็นเม็ดเลือดที่ปกติ ถูกทำลาย และบ่อยครั้งที่ไม่ทราบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำลายดังกล่าวนั้นคืออะไร อ้างอิงจากรายงานใน Haematologica ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่าเป็น โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อแบบไม่ทราบสาเหตุ ในขณะที่หากทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคจะจัดอยู่ในกลุ่มโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อที่เกิดขึ้นภายหลังหรือได้รับทางพันธุกรรม กลุ่มโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อที่เกิดขึ้นภายหลังเป็นกลุ่มที่พบได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับทางพันธุกรรม อาจเกิดจาก

  • สารพิษ เช่น benzene (สารเคมีซึ่งบางครั้งมีการใช้ในโรงงานและการสังเคราะห์ทางเคมี) ยาฆ่าแมลง และสารหนู
  • ยาเคมีบำบัดและการฉายแสงสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง
  • โรคติดเชื้อหลายๆ โรคเช่นโรคตับอักเสบ, HIV และ Epstein-Barr virus (เชื้อประเภทหนึ่งของกลุ่ม herpes virus)
  • โรคลูปัส, โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ หรือโรคทางระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ (โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีเซลล์ปกติในร่างกาย)
  • การตั้งครรภ์
  • ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะบางตัว ยากดภูมิ และยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • มะเร็งที่เกิดการแพร่กระจายไปที่กระดูก

สาเหตุของการเกิดโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อชนิดได้รับทางพันธุกรรมซึ่งพบได้น้อยมากนั้นเกิดขึ้นที่ยีนซึ่งสามารถส่งผ่านจากพ่อแม่สู่ลูกได้ ประกอบด้วย

  • Fanconi anemia
  • Diamond-Blackfan anemia
  • Shwachman-Diamond syndrome
  • Dyskeratosis congenita

อาการ

โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ สามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และมีผื่นที่ผิวหนังได้ นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดอาการซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีเม็ดเลือดแดงต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำได้ อาการเหล่านี้อาจรุนแรงตั้งแต่เริ่มต้น หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปก็ได้ อาการอ่อนเพลียเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของการมีเม็ดเลือดแดงต่ำ อาการอื่นๆ ประกอบด้วย

  • หายใจเร็วและเจ็บหน้าอก
  • มึนหัว โดยเฉพาะหลังจากเปลี่ยนจากท่านั่งหรือนอนเป็นท่ายืน
  • ปวดหัว
  • ผิวหนังซีด
  • ปลายมือปลายเท้าเย็น
  • อ่อนแรง
  • ชีพจรเต้นเร็ว

เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดโรคหัวใจที่รุนแรงได้ เช่นหัวใจเต้นผิดจังหวะ, เจ็บหน้าอก, หัวใจโต และหัวใจวาย การมีเม็ดเลือดขาวต่ำจะทำให้เกิดการติดเชื้อ ไข้ และอาการคล้ายหวัดที่สูงขึ้นและหายยากขึ้น

การมีเกล็ดเลือดต่ำจะทำให้

  • ช้ำง่ายและเลือดออกง่าย
  • เลือดหยุดยาก
  • เลือดกำเดาไหล มีเลือดออกตามไรฟัน มีถ่ายเป็นเลือด หรือประจำเดือนมามาก
  • เห็นจุดสีแดงเล็กๆ บนผิวหนัง

การวินิจฉัยและการรักษา

การตรวจเลือดสามารถตรวจพบการมีจำนวนเม็ดเลือดที่ต่ำ และความน่าจะเป็นที่จะเป็นโรคนี้ได้ และก็ไม่สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค ในการวินิจฉัยโรคจะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อจากไขกระดูกไปตรวจ โดยการใช้เข็มเข้าไปนำเนื้อเยื่อของไขกระดูกและกระดูก รวมถึงเลือดปริมาณเล็ดน้อยมาทำการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การรักษานั้นจะจำเป็นต้องทำเมื่อเป็นโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อขั้นรุนแรงซึ่งมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ หรือทำให้เกิดอาการที่อันตรายถึงชีวิต ทางเลือกในการรักษามีไม่มาก ประกอบด้วย

  • ยาซึ่งกระตุ้นไขกระดูก กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือป้องกันและรักษาการติดเชื้อ
  • การให้เลือดเพื่อช่วยทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • การปลูกถ่ายเลือดและไขกระดูก

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Aplastic Anemia (https://medlineplus.gov/aplasticanemia.html),
Alana Biggers, M.D., MPH,Aplastic anemia: Everything you need to know (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326781.php), October 24, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
คนที่มีภาวะซีดหรือเป็นโรคทาลัสซีเมียจะมีวิธีรักษาให้หายขาดไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคไขกระดูกฝ่อมีทางรักษาให้หายขาดได้ไหมค่ะ หากผู้ป่วยยังอายุไม่มาก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นคนโลหิตจาง มีวิธีรักษาอย่างไรบ้างคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากทราบว่าโรคมะเร็งไขกระดูกสันหลังเกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เมื่อเป็นโลหิตจาง ต้องดูแลตัวอย่างอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูคีเมีย มีทางรักษาไหมค่ะ แล้วจะหายขาดไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)