กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคเลือดและระบบน้ำเหลือง (Blood and lymphatic system)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เลือด

เลือดเป็นของเหลวที่สำคัญของชีวิต ประกอบด้วยน้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซซล์เม็ดเลือดขาว ผู้ใหญ่จะมีเลือดอยู่ประมาณ 5.5 ลิตร หรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว ไหลเวียนอยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งเป็นระบบที่ประกอบด้วย หลอดเลือดจำนวนมาก เลือดช่วยกระจายความร้อนและนำสารที่สำคัญซึ่งอยู่ในน้ำเลือดไปทั่วร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดเมื่อแก่จะตายและจะถูกแทนที่ด้วยเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างขึ้นมาใหม่กระบวนการนี้ เรียกว่า อีโมพอยอิซิส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนสำคัญของเลือด มีดังนี้

1. น้ำเลือด (Plasma) เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมดเป็นของเหลวสีซีดๆ (มีภาวะเป็นเบส ค่า pH 7.4 ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 91 สารอื่นๆ เป็นโปรตีนร้อยละ 7 วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ฮอร์โมน ก๊าซ ร้อยละ 2) ซึ่งมีเซลล์เม็ดเลือดลอยอยู่ในน้ำเลือดจะมีสารอาหารละลายอยู่เพื่อส่งไปให้เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีแอนติบอดี ซึ่งเป็นสารที่ต้านทานเชื้อโรค มีเอนไซม์และฮอร์โมน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกติ

2. เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cells) มีรูปร่างเป็นแผ่นแบนเหมือนจาน ไม่มีนิวเคลียส สร้างจากไขกระดูก มีสารฮีโมโกลบิน เซลล์เม็ดเลือดแดงจะรวมกับออกซิเจนในปอดเป็นออซีฮีโมโกลบิน ทำให้เลือดมีสีแดงสด เซลล์เม็ดเลือดแดงจะนำออกซิเจนไปให้เซลล์ทั่วร่างกายและกลับเข้าสู่ปอด

3. เกล็ดเลือด (Platelets) มีขนาดเล็กมากมีรูปร่างเป็นแผ่นแบน ไม่มีนิวเคลียสสร้างจากไขกระดูก บริเวณที่มีบาดแผลจะมีเม็ดเลือดจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเม็ดเลือด

4. เซลล์เม็ดเลือดขาว (White blood cells) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว  5,000-10,000 เซลล์ต่อเลือด 1 มิลลิลิตร ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคให้กับร่างกายเซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด เช่น ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) สร้างจากเนื้อเยื่อน้ำเหลือง พบในระบบน้ำเหลือง เซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี (Antibody) เพื่อต่อต้านเชื้อโรค เซลล์เม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่ง คือ ฟาโกไซต์ (Phagocyte) มีวิธีทำลายเชื้อโรค เรียกว่า “ฟาโกไซโตซิส” (Phagocytosis) เซลล์เม็ดเลือดขาวอื่นๆ เช่น โมโนไซต์ (Monocyte)  สร้างจากไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า แมกโครฟาจ (Macrophage) เป็นเซลล์ที่คอยจับและกินแบคทีเรียและสิ่งสกปรก

การป้องกันเชื้อโรคในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. แอนติเจน (Antigens) ส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีนที่เป็นตัวกระตุ้น หรือเป็นสาเหตุให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีมาต่อต้านแอนติเจน โดยอาจเป็นแบคทีเรีย หรือไวรัส หรืออาจเป็นสารพิษที่ได้จากแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้ แอนติเจนปกติที่พบในร่างกายตั้งแต่เกิด คือ แอนติเจนที่เป็นตัวบ่งชี้หมู่เลือดต่างๆ  

2. แอนติบอดี (Antibodies) เป็นสารโปรตีนอยู่ในส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกายสร้างจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ เมื่อมีแอนติเจนเข้าสู่ร่างกายแอนติบอดีชนิดต่างๆ จะมาจับแอนติเจนอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นชนิดๆ ไปซึ่งจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน จะปล่อยสารที่เป็นพิษต่อต้านแอนโดรเจน โดยแอนติบอดีจับกับโมเลกุลของสารพิษที่แอนติเจนปล่อยออกมากลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของแอนติเจนกับแอนติบอดีที่ เรียกว่า สารประกอบแอนติเจนแอนติบอดีแอนติบอดีชนิดแอกกลูตินินจะจับแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสซึ่งเป็นแอนติเจน แอนติบอดีอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า ไลซิน จะฆ่าแอนติเจนหรือเชื้อโรคโดยการสลายเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอก

3. การแข็งตัวของเลือด (Blood clotting or coagulation) เลือดที่ข้นขึ้นและที่จะจับตัวเป็นก้อนหรือแข็งตัวบริเวณบาดแผลนั้น เกิดจากชิ้นส่วนที่แตกของเกล็ดเลือดและเซลล์ที่ฉีกขาดปล่อยสารเคมีที่ เรียกว่า ทรอมโบพลาสติน สารนี้จะไปกระตุ้นให้โปรทรอมบิน (โปรตีนในน้ำเลือด) กลายเป็นทรอมบิน (เป็นเอนไซม์) จากนั้นทรอมบินจะไปกระตุ้นไฟบริโนเจน (เป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งในน้ำเลือด) ให้เปลี่ยนเป็นสารที่เรียกว่า ไฟบริน ซึ่งเป็นเส้นใยสานเป็นร่างแหเป็นลิ่มคล้ายก้อนวุ้น

4. ซีรั่ม (Serum) เป็นของเหลวสีเหลือง ประกอบด้วย ชิ้นส่วนของเลือดที่ออกมาหลังจากการแข็งตัว มีสารแอนติบอดีหลายชนิด หากฉีกซีรัมให้กับคนทั่วๆ ไป สารนี้จะเป็นภูมิคุ้มกันชั่วคราวในการต่อต้านการติดเชื้อต่างๆ ได้

ระบบน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลือง ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง พบมากที่คอ รักแร้ ขาหนีบ และมีท่อเล็ก ๆ เชื่อมถึงกัน ต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่สร้างลิมโฟไซต์ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง และแอนติบอดีซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันคอยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ต่อมน้ำเหลืองและม้ามทำหน้าที่เหมือนกำแพงคอยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยดักจับเชื้อโรคที่ผ่านเข้าไปในท่อน้ำเหลือง เมื่อมีการติดเชื้อต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้ ๆ บาดแผลจะโตขึ้นและอาจเจ็บด้วย ระบบน้ำเหลืองนี้ยังมีหน้าที่ลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ม้าม

ม้าม เป็นต่อมน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุด มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ธาตุเหล็กในเม็ดเลือด การเก็บสะสมเม็ดเลือดแดง สร้างและทำลายเม็ดเลือด เมื่อเม็ดเลือดแดงหมดอายุหรือหมดสภาพม้ามจะช่วยกรองเอาเม็ดเลือดที่หมดสภาพออกไปจากกระแสเลือด นอกจากนี้ม้ามยังช่วยสร้างเซลล์ที่ทีหน้าที่กำจัดเชื้อโรค

อาการ

อาการของโรคเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียน ซีด หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เป็นลมง่าย มีจ้ำเขียวตามลำตัว เป็นไข้ ติดเชื้อง่าย มีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ

อาการของระบบน้ำเหลือง เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโต บวมตามแขนขา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ตับม้ามโต มีไข้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hematologic malignancies. Harvard Stem Cell Institute (HSCI). (https://hsci.harvard.edu/research-interests/hematologic-malignancies)
Lymphatic Disease - an overview. ScienceDirect. (https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/lymphatic-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ลูกเป็นโรคg6pdสามารถทานนมผงได้ทุกยี้ห้อหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ธารัสซีเมีย อาการ วิธีรักษา อาหารที่งดทาน ความเสี่ยงต่อการมีบุตร แนวทางการรักษา
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคโลหิตจางรักษายังไงดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเราต้องดูแลตัวเองยังไงคับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โลกธาลิสเนียหมายถึวคือเลือดจางมันรักษาหายเปล่าค่ะคุณหมอ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ร่างกายคนเราจะต้องผลิตเม็ดเลือดขาวเท่าไหร่ถึงเป็นปกติ แล้วเม็ดเลือดเท่าไหร่ถึงไม่ปกติ เพราะเหตุใด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)