กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)

การตั้งครรภ์นอกมดลูกรักษาอย่างไรและจะสามารถตั้งครรภ์อีกครั้งได้เมื่อใด
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)

ในการตั้งครรภ์ ไข่จะถูกปล่อยจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ (Fallopian tube) โดยจะอยู่ที่ท่อนำไข่ประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นบริเวณที่ไข่จะได้รับการผสมกับอสุจิ (ปฏิสนธิ) เมื่อไข่ผสมกับอสุจิแล้ว ไข่ใบนี้จะค่อยๆ เคลื่อนตัวไปที่มดลูก และฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกก่อนเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

แต่ถ้าไข่ที่ปฏิสนธิแล้วไปฝังตัวที่บริเวณท่อนำไข่ หรือบริเวณอื่นๆ ในช่องท้องจะเรียกว่า การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ซึ่งกรณีเช่นนี้การตั้งครรภ์จะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนครบกำหนดคลอด จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์และได้รับการรักษาฉุกเฉิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการและสัญญาณเตือนการตั้งครรภ์นอกมดลูก

ส่วนใหญ่แล้วการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์และอาจไม่รู้ถึงสัญญาณเตือนของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

อาการเลือดออกทางช่องคลอดและอาการปวดท้องน้อยมักเป็นอาการแรกๆ ที่พบ แต่ยังมีอาการอื่นๆ อีก ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการปวด
  • ปวดเกร็งท้องน้อย
  • ปวดด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย อาจปวดมากจนเหมือนมีอะไรมาแทง
  • เวียนศีรษะ หรืออ่อนเพลีย
  • ปวดที่หัวไหล่ คอ หรือทวารหนัก

การตั้งครรภ์นอกมดลูกจะทำให้ท่อนำไข่แตกได้ ถ้าท่อนำไข่แตก คุณจะมีอาการปวดมากและมีเลือดออกอย่างรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุการตั้งครรภ์นอกมดลูก

คุณอาจไม่มีทางรู้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก หนึ่งในสาเหตุคือ ความผิดปกติของท่อนำไข่ ซึ่งทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางไปที่บริเวณมดลูกได้ จึงเกิดการฝังตัวที่ท่อนำไข่หรือบริเวณอื่น

นอกจากนี้คุณจะมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก ถ้าคุณมีภาวะดังต่อไปนี้

  • ผู้ตั้งครรภ์มีอายุมากแล้ว อาจอยู่ในช่วง 35-44 ปี
  • เคยมีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน
  • เคยมีภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease (PID)) ทำให้เกิดพังผืดบริเวณรอบท่อนำไข่
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • แผลเป็นจากการผ่าตัดอุ้งเชิงกรานก่อนหน้านี้
  • การทำหมัน หรือการผ่าตัดแก้หมันที่ไม่สมบูรณ์
  • การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (In vitro fertilization (IVF))
  • ตั้งครรภ์ทั้งที่ใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิดอยู่ โดยห่วงอนามัยคุมกำเนิดทำได้เพียงป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แต่ไม่สามารถป้องกันไม่ให้ฝังตัวที่ปีกมดลูกได้

การวินิจฉัย

ถ้าแพทย์คิดว่าคุณกำลังมีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก แพทย์จะพิจารณาตรวจบางอย่างที่จำเป็น ได้แก่ การตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆ และการตรวจภายใน สำหรับการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์อาจใช้เพื่อดูสภาวะของมดลูกและท่อนำไข่

ถ้าแพทย์ยืนยันแล้วว่าคุณตั้งครรภ์นอกมดลูก แพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับวิธีในการรักษาที่ดีที่สุด โดยอิงจากสภาวะทางสุขภาพของคุณในขณะนั้น รวมถึงการวางแผนที่จะตั้งครรภ์ครั้งถัดไปด้วย

การรักษา

ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้เมื่ออยู่ภายนอกมดลูก โดยจะต้องนำเนื้อเยื่อดังกล่าวนี้ออก เพื่อป้องกันไม่ให้คุณเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีในการรักษา ได้แก่ การใช้ยาและการผ่าตัด

  • การใช้ยา ถ้าท่อนำไข่ของคุณยังไม่แตก และการตั้งครรภ์ของคุณยังไม่ได้ดำเนินไปไกลมากนัก แพทย์จะรักษาโดยการฉีดยาเมโทรเทกเซท (Methotrexate (Trexall)) ยานี้จะไปยับยั้งการเติบโตของเซลล์ และร่างกายจะดูดซึมเซลล์เล็กๆ เหล่านี้ได้เอง ส่วนใหญ่ของการตั้งครรภ์นอกมดลูกสามารถรักษาได้ด้วยวิธีนี้ ถ้าพบตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย
  • การผ่าตัด สำหรับกรณีอื่นๆ จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ที่นิยมมากคือการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopy) โดยแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กที่ท้องส่วนล่างและสอดอุปกรณ์สำหรับผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปเพื่อรักษาภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ทั้งนี้ถ้าพบว่าท่อนำไข่เสียหาย แพทย์จำเป็นต้องนำออกบางส่วนหรือทั้งหมดโดยการผ่าตัดด้วย แต่หากคุณมีเลือดออกจากช่องคลอดปริมาณมากและแพทย์สงสัยว่าท่อนำไข่แตก คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉินซึ่งจะไม่สามารถผ่าตัดด้วยการส่องกล้องได้และแผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกการผ่าตัดนี้ว่า Laparotomy

การดูแลหลังจากตั้งครรภ์นอกมดลูก

หลังจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกผ่านไปแล้ว นี่ถือเป็นโอกาสดีที่จะตั้งครรภ์ปกติอีกครั้ง แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น คุณควรขอรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะหากมีการผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไป อาจต้องสอบถามว่า ต้องรอนานแค่ไหนจึงจะตั้งครรภ์อีกครั้งได้ แพทย์บางท่านแนะนำว่าจะต้องรออย่างน้อย 3-6 เดือน อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเคยมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาแล้ว โอกาสที่จะมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกอีกจะสูงกว่าคนทั่วไป


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Perkins KM, et al. (2015). Risk of ectopic pregnancy associated with assisted reproductive technology in the United States, 2001-2011. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4315158/)
Mayo Clinic Staff. (2015). Ectopic pregnancy. (http://www.mayoclinic.com/health/ectopic-pregnancy/DS00622)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม