กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

การฉีกขาดของภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ในไข่ที่ได้รับการผสมทำการฝังตัวนอกมดลูก  โดยมากจะอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งในท่อนำไข่และการเติบโตก็สามารถทำให้ปีกมดลูกได้รับการฉีกขาด ส่งผลให้มีเลือดออกภายในช่องท้องและอยู่ในภาวะอันตราย พึงจำไว้ว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกจะไม่สามารถพัฒนาไปสู่การตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ การรักษาสุขภาพแม่ที่จะเผชิญความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

สัญญาณการฉีกขาดของภาวะครรภ์นอกมดลูก

เป้าหมายของบทความนี้คือสามารถระบุชัดถึงสัญญาณการฉีกขาดของภาวะครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะแตก สัญญาณบางอย่างอาจเหมือนการแพ้ท้อง เช่นคลื่นไส้, เมื่อยล้า และ เจ็บเต้านม  สัญญาณเพิ่มเติมที่อาจบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกคือ:

  • ความเจ็บปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
  • ปวดเกร็งด้านใดด้านหนึ่งในช่องท้องส่วนล่าง
  • หัวใจเต้นเร็ว

เมื่อมีการฉีกขาดในภาวะครรภ์นอกมดลูก  จะมีอาการเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ (หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการรักษาแบบภาวะฉุกเฉิน)

  • ปวดท้องหรืออุ้งเชิงกรานอย่างฉับพลันรุนแรง
  • มีอาการเวียนศีรษะหรือเป็นลม
  • อาการปวดหลังช่วงล่างหรือไหล่

สาเหตุของภาวะครรภ์นอกมดลูก

ผู้หญิงบางคนอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์นอกมดลูกมากกว่าคนอื่น ๆ    ภาวะบาดเจ็บของท่อนำไข่น่าจะเป็นสาเหตุหลักของภาวะครรภ์นอกมดลูกเพราะการเกิดแผลในท่อนำไข่จะทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิไม่สามารถผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูกเพื่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะบาดเจ็บของท่อนำไข่เป็นเรื่องธรรมดามากในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะต่อไปนี้

  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก
  • มีตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนหน้านี้
  • ได้รับการผ่าตัดท่อนำไข่ก่อนหน้านี้
  • มีการทำหมัน (tubal ligation)
  • มีภาวะโรคของท่อนำไข่
  • รับการรักษาเส้นเลือดอุดตันโดยขดลวดชนิดเคลือบยา Drug Eluting Stent (DES)
  • ตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด (an intrauterine device (IUD))
  • มีประวัติของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infection (STI))
  • มีประวัติของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (pelvic inflammatory disease (PID))
  • มีรอยโรคจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)
  • สำส่อนทางเพศ (Multiple sexual partners)

การวินิจฉัยภาวะฉีกขาดของครรภ์นอกมดลูก

การทดสอบภาวะฉีกขาดของครรภ์นอกมดลูก (ไม่ว่าจะฉีกขาดหรือไม่ก็ตาม)

  • ทดสอบการตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวนด์
  • การวัดระดับฮอร์โมนที่เฉพาะของการตั้งครรภ์ ในกระแสเลือด
  • ตรวจสอบตัวอย่างของเนื้อเยื่อมดลูกผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการขยายและการขูดมดลูก (Dilatation and curettage( D & C))
  • การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อการตรวจสอบภายในของช่องท้อง
  • การรักษาภาวะฉีกขาดของครรภ์นอกมดลูก
  • ภาวะครรภ์นอกมดลูกเกือบทั้งหมดจะต้องมีการผ่าตัด เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่ฉีกขาดของท่อนำไข่  อาจจะทำการผ่าตัดบางส่วนหรือทั้งหมดของท่อนำไข่  ซึ่งจะมีการเสียเลือดค่อนข้างมาก อาจต้องมีการให้เลือด
  • ถ้าคุณอยู่ในภาวะตั้งครรภ์และตรวจพบสัญญาณของการภาวะฉีกขาดของครรภ์นอกมดลูก (ไม่ว่าจะฉีกขาดหรือไม่ก็ตาม) ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน  ภาวะฉีกขาดของครรภ์นอกมดลูกถือเป็นภาวะทางการแพทย์ฉุกเฉินและไม่ใช่สิ่งที่ควรจะล้อเล่น

หากมีข้อสงสัยว่าสิ่งที่เกิดคือภาวะฉีกขาดของครรภ์นอกมดลูกหรือไม่  ควรไปที่ห้องฉุกเฉินทันที


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Infants in ectopic pregnancy (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3158531/)
webmd.com, Infants in ectopic pregnancy (https://www.webmd.com/baby/pregnancy-ectopic-pregnancy#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม