กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Crohn's Disease (โรคโครห์น)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

โรคโครห์น (Crohn's Disease) เป็นความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทางเดินอาหารบวม ซึ่งโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel diseases หรือ IBD) โรคโครห์นส่วนใหญ่มีความผิดปกติที่ลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น แต่การอักเสบนี้ก็สามารถเกิดส่วนใดของทางเดินอาหารก็ได้ โรคโครห์นรักษาไม่หาย แต่มีการรักษาหลายวิธีที่ช่วยคุมอาการได้ ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่จะมีช่วงทุเลา คือ ไม่มีอาการและช่วงที่โรคกำเริบ ซึ่งอาการจะแย่ลง

อุบัติการณ์ของโรค

คนอเมริกันทุก 100,000 คนจะเป็นโรคโครห์น 201 คน ซึ่งหมายความว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกามีคนเป็นโรคโครห์น 700,000 คนตามรายงานของสมาคมโรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the Crohn's & Colitis Foundation of America) โรคโครห์นมักได้รับการวินิจฉัยในช่วงอายุ 15-35 ปี แต่ก็สามารถเกิดได้ในทุกช่วงอายุ โดยผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่าๆ กัน และโรคนี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดกับคนคอเคเซียน (Caucasians) กับชาวยิวแอสคีนาซี (Ashkenazi Jewish) มากกว่าเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคโครห์น

สาเหตุที่แท้จริงของโรคโครห์นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ายีนและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมร่วมกันทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรค ปัจจัยเสี่ยงของโรคโครห์นบางอย่าง ได้แก่

  • ยีน : ยังไม่อาจกล่าวได้ว่ามียีนที่ทำให้เกิดโรคโครห์น แต่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบยีนมากกว่า 100 ยีนที่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโครห์น
  • ประวัติครอบครัว : โรคโครห์นมีแนวโน้มจะถ่ายทอดในครอบครัว ประมาณ 5-20% ของผู้ป่วยโรคโครห์นมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคโครห์น
  • ที่อยู่ : โรคโครห์นพบบ่อยในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาและพบในชุมชนเมืองบ่อยกว่าชนบท
  • การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคโครห์นเป็นสองเท่าเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ตามข้อมูลจากสมาคมโรคโครห์นและลำไส้อักเสบแห่งอเมริกา (the Crohn's & Colitis Foundation of America) และมีหลักฐานบางอย่างว่าโรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดพลาดไปโจมตีแบคทีเรียที่เติบโตเป็นปกติในลำไส้ของคน

อาการและการวินิจฉัยโรคโครห์น (Crohn's Disease)

อาการของโรคโครห์นนั้นหลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการอักเสบที่ลำไส้

โรคโครห์นเป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ของทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่จะมีการอักเสบทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่ขับอุจจาระสู่ไส้ตรง

อาการและอาการแสดง

อาการของโรคโครห์นแตกต่างกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับส่วนของทางเดินอาหารที่เกิดโรคและความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่เกิดจากทางเดินอาหาร ได้แก่

อาการทั่วไป เช่น

  • น้ำหนักลด
  • ไข้
  • คลื่นไส้หรือเบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • ซีด (เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยกว่าปกติ)

และโรคโครห์นยังทำให้เกิดอาการกับส่วนอื่นของร่างกาย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ปวดข้อหรือเจ็บในข้อ
  • ตาแดง เคืองตา หรือเจ็บตา
  • ผิวแดง เจ็บ หรือเป็นตุ่ม

การวินิจฉัยโรคโครห์น

การตรวจหลายอย่างสามรถช่วยในการวินิจฉัยโรคโครห์นและตัดภาวะอื่นที่มีอาการใกล้เคียงกันออกไปได้ ซึ่งภาวะที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคโครห์น ได้แก่

  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome หรือ IBS)
  • ภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis ) เป็นภาวะที่มีการอักเสบคล้ายกับโรคโครห์น

โดยการตรวจสำหรับโรคโครห์น ได้แก่

  • การตรวจร่างกาย : แพทย์จะตรวจว่ามีอาการปวดท้องหรือไม่
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดและอุจจาระเพื่อหาลักษณะที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อหรือเลือดออก ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการนี้ช่วยตัดภาวะอื่นๆ ออกไปได้
  • ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) : แพทย์จะใส่ท่อเล็กๆ ที่มีกล้อง ซึ่งโค้งงอได้ที่เรียกว่า โคโลโนสโคป (colonoscope) เข้าไปในไส้ตรงและเลื่อนผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อมองหาความผิดปกติ ระหว่างทำการส่องกล้องแพทย์อาจสุ่มเก็บชิ้นเนื้อหลายชิ้นในลำไส้ใหญ่เพื่อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ต่อ
  • การถ่ายภาพรังสี : แพทย์อาจให้เอ็กซเรย์หรือเอ็กวเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาความผิดปกติในทางเดินอาหารเพิ่มเติมที่อยู่เหนือโคโลโนสโคปเข้าถึง
  • แคปซูลตรวจทางเดินอาหารแบบไร้สาย (Wireless capsule endoscopy) : คุณจะต้องกลืนแคปซูลที่มีกล้องวีดีโอเล้กๆ อยู่ (ขนาดประมาณเม็ดวิตามินใหญ่ๆ) ซึ่งทำให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติตลอดระบบทางเดินอาหาร

โรคโครห์นในเด็ก

โรคโครห์นเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่มักได้รับการวินิจฉัยหลังอายุ 15 ปี มีงานวิจัยประเมินว่า 20-25% ของผู้ป่วย โรคโครห์นได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 18 ปี และโรคโครห์นเกิดน้อยมากในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี เด็กที่เป็นโรคมักมีอาการคล้ายกับผู้ใหญ่ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยสำหรับโรคโครห์นในเด็ก ได้แก่

เด็กที่เป็นโรคโครห์นอาจมีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นเพิ่มขึ้นที่ไม่เกิดในผู้ใหญ่ ได้แก่

  • เข้าสู่วัยรุ่นช้า
  • อัตราการเจริญเติบโตช้า (ประมาณหนึ่งในสามของเด็กที่เป็นโรคโครห์นจะเตี้ยกว่าความสูงที่ควรเป็นในวัยผู้ใหญ่)

การรักษาโรคโครห์น (Crohn's Disease)

มียาหลายหลายตัวต่างกันและมีทางเลือกในการผ่าตัดที่อาจช่วยลดอาการของโรคโครห์น

โรคโครห์นไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่มีการรักษาหลายอย่างที่ช่วยคุมอาการได้ ผู้ป่วยโรคโครห์นส่วนใหญ่สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติได้ด้วยการรักษา โดยการรักษาที่แพทย์แนะนำนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงและประเภทของอาการที่เกิด รวมถึงส่วนของทางเดินอาหารที่เป็นโรค ซึ่งการรักษาหลักๆ สองวิธีของโรคโครห์น คือ การใช้ยาและการผ่าตัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ยารักษาโรคโครห์น

มียาหลายตัวที่ใช้รักษาโรคโครห์นได้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยามากกว่าหนึ่งตัวขึ้นอยู่ส่วนของลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการ ยาส่วนใหญ่ที่ใช้รักษาโรคโครห์นนั้นจะลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกัน โดยยาบางตัวจะใช้รักษาเวลาที่ตัวโรคกำเริบและอาการแย่ลงและยาตัวอื่นก็จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการกลับมาเป็นซ้ำ ยาทั่วไปที่ใช้รักษาโรคโครห์น ได้แก่

  • 5-อะมิโนซาลิไซเลต (aminosalicylates หรือ 5-ASAs) : ยากลุ่มนี้จะลดการอักเสบของทางเดินอาหาร โดย 5-เอเอสเอ มักใช้รักษาเวลาตัวโรคกำเริบ แต่ก็อาจจะใช้ต่อไปได้แม้ว่าอาการจะหายไปแล้ว ซึ่งยาตัวนี้จะออกฤทธิ์เฉพาะที่ลำไส้และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาตัวอื่นที่ใช้รักษาโรคโครห์น
  • ยาเมซาลามีน (Mesalamine) ที่มีชื่อการค้าว่า เอพริโซ (Apriso) และเดลซิคอล (Delzicol) เป็นยาที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษาโรคโครห์น
  • ยาปฏิชีวนะ : แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะช่วงหนึ่งหากใช้ยา 5-เอเอสเอ ไม่ได้ผล โดยยาปฏิชีวนะจะลดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ทำให้การอักเสบลดลง
  • สเตียรอยด์ : แพทย์อาจใช้ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) ที่มีชื่อการค้าว่า เดลตาโซน (Deltosone) หรือใช้ยาบูเดโซไนด์ (Budesonide) ที่มีชื่อการค้าว่า เอนโทคอทอีซี (Entocort EC) ถ้ายา 5-เอเอสเอ และยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลเพียงพอที่จะคุมอาการได้ ซึ่งยาสเตียรอยด์มักใช้ในช่วงสั้นๆ เพื่อลดการอักเสบ
  • ยาปรับภูมิคุ้มกัน (Immunomodulators) : ยากลุ่มนี้จะลดการอักเสบ

ซึ่งแพทย์จะใช้ยาปรับภูมิคุ้มกันเมื่อมีอาการรุนแรงหรือมีอาการแย่ลงหลังจากลดขนาดของยาสเตียรอยด์ โดยยาปรับภูมิคุ้มกันที่ใช้ทั่วไป ได้แก่

  • อะซาไธโอปริน (Azathioprine) มีชื่อการค้าว่า อิมมูแรน (Imuran)
  • 6-เมอร์แคบโตพิวรีน (6-Mercaptopurine) มีชื่อการค้าว่า พิวรินีทอล (Purinethol)
  • เมทโธเทรกเซท (Methotrexate) มีชื่อการค้าว่า เทรกซอลล์ (Trexall)
  • ยาปรับการตอบสนองทางชีวภาพ (Biologic response modifiers) หรือเรียกว่า ไบโอโลจิกส์ (biologics) : ไบโอติกส์จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ ซึ่งมักใช้ร่วมกับยาตัวอื่นโดยให้ทางหลอดเลือดดำหรือการฉีดยาไบโอติกส์บางตัวใช้เองที่บ้านได้ แต่บางตัวต้องให้ในสถานพยาบาล

และยากลุ่มไบโอติกส์ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่

  • อินฟลิกซิแมบ (Infliximab) มีชื่อการค้าว่า เรมิเคด (Remicade)
  • อะดาลิมูแมบ (Adalimumab) มีชื่อการค้าว่า ฮูมิรา (Humira)
  • เซอร์โตลิซูแมบพีกอล (Certolizumabpegol) มีชื่อการค้าว่า ซิมเซีย (Cimzia)

การผ่าตัดรักษาโรคโครห์น

แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดถ้าอาการไม่ดีขึ้นเมื่อใช้ยา โดยประมาณ 80% ของผู้ป่วยโรคโครห์นจะต้องได้รับการผ่าตัดในที่สุดในอายุช่วงใดช่วงหนึ่ง การผ่าตัดไม่ทำให้โรคโครห์นหายขาด แต่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการอยู่ช่วงหนึ่งหลังการผ่าตัดและตามการรายงานของอัพทูเดต (UpToDate) ระบุว่า 85-90% ของผู้ป่วยโรคโครห์นที่ได้รับการผ่าตัดจะไม่มีอาการในหนึ่งปีแรกหลังผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดที่ทำในโรคโครห์น ได้แก่

  • ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกบางส่วน ที่เรียกว่า โคเลกโตมี (colectomy) โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วต่อส่วนที่ยังดีอยู่ให้เชื่อมกัน
  • ผ่าตัดเปิดลำไส้ที่อุดตัน ที่เรียกว่า สตริคเจอร์พลาสตี (strictureplasty) ทำโดยการเปิดขยายลำไส้ที่อุดตัน

การรักษาเสริมหรือการรักษาทางเลือก

มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยว่าการรักษาเสริมหรือการรักษาทางเลือกนั้นเกิดประโยชน์ชัดเจนในผู้ป่วยโรคโครห์น ผู้ป่วยบางรายที่ใช้การรักษาเสริมร่วมกับการรักษาหลัก เช่น การใช้ยาหรือการผ่าตัดนั้นช่วยลดอาการได้ การรักษาเสริมสำหรับโรคโครห์น ได้แก่

  • โปรไบโอติกส์ (อาหารหรืออาหารเสริมที่มีแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย)
  • การลดความเครียด เช่น โยคะ นั่งสมาธิ ไทเก็ก
  • ฝังเข็ม

และควรแจ้งแพทย์ถ้าใช้การรักษาเสริมอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากินอาหารเสริมหรือวิตามินอยู่ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจมีส่วนผสมซึ่งทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษาอยู่

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคโครห์น ได้แก่

  • ลำไส้อุดตัน
  • แผลปริที่ขอบทวารหนัก (Anal fissures) เป็นรอยฉีกเล็กๆ ที่รูทวารหนักทำให้คัน เจ็บ หรือมีเลือดออกได้
  • แผลหลุม (Ulcers) เป็นแผลเปิดเป็นหลุมในทางเดินอาหาร
  • รูแผล (Fistulas) แผลเปิดเป็นรูที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ทำให้ของที่อยู่ในทางเดินอาหารรั่วออกไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย
  • ขาดสารอาหาร เช่น วิตามินและเกลือแร่
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่

ภาวะแทรกซ้อนทั้งหมดของโรคโครห์นไม่อยู่แค่ทางเดินอาหารเท่านั้น ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่วนอื่นของร่างกาย โดยภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้เกิดในทางเดินอาหาร ได้แก่

โรคโครห์นกับการตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่เป็นโรคโครห์นอาจมีบุตรยากขณะที่โรคกำเริบหรือมีอาการรุนแรง ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีบุตรได้เมื่อโรคสงบเป็นปกติแล้ว และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ตั้งแต่แท้ง ทารกเสียชีวิต และพัฒนาการผิดปติเมื่อโรคกำเริบ ซึ่งสมาคมโรคโครห์นและลำไส้อักเสบแห่งอเมริกาแนะนำให้รออย่างน้อย 6 เดือนหลังโรคกำเริบครั้งสุดท้ายก่อนจะตัดสินใจตั้งครรภ์


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
webmd.com, Crohn's Disease Health Center (https://www.webmd.com/ibd-crohns-disease/crohns-disease/default.htm)
Yvette Brazier, What is Crohn's disease? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/151620.php), January 11, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)