ควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)

ควันบุหรี่มือสองคืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)

ควันบุหรี่มือสอง หมายถึงการได้รับควันบุหรี่ทางอ้อม โดยที่ไม่ได้สูบบุหรี่ด้วยตัวเอง การได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งปอด และโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ โดยควันบุหรี่มือสองที่ปล่อยออกมาจากบุหรี่ ไปป์ และซิการ์ มี 2 ชนิด ได้แก่

  1. ควันข้างเคียง เป็นควันที่ลอยอยู่ในอากาศในระหว่างที่บุหรี่ถูกเผาไหม้รอการสูบ
  2. ควันหลัก เป็นควันที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมาหลังการสูบบุหรี่

แม้จะเรียกกันว่าควันหลัก แต่ที่เป็นอันตรายต่อผู้สูดดมมากกว่าคือควันข้างเคียง เพราะประกอบไปด้วยความเข้มข้นของสารก่อมะเร็งที่สูงกว่าจึงเป็นพิษมากกว่า และยังมีอนุภาคที่เล็กกว่าด้วย ซึ่งสามารถแทรกซึมเข้าสู่ปอดได้ลึกกว่าควันสายหลัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อันตรายของควันบุหรี่มือสองมีอะไรบ้าง?

ควันบุหรี่มือสองมีปริมาณนิโคตินและสารเคมีอันตรายเทียบเท่ากับกับการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด ซึ่งสารเคมีมากกว่า 250 ชนิด เป็นอันตรายต่อร่างกาย และสารเคมีอย่างน้อย 69 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง 

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ในแต่ละปีมีคนไทยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอย่างน้อยปีละ 2,600 คน จากผู้ที่เสียชีวิตด้วยควันบุหรี่มือสองปีละ 6,500 คน และจากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 พบว่า คนไทยที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจากในบ้าน มีมากถึง 17.3 ล้านคน

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าควันบุหรี่มือสองมีความเชื่อมโยงกับโรคเส้นเลือดในสมองแตก โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเนื้องอกในสมองในเด็ก และควันบุหรี่มือสองยังมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น กล่องเสียง คอหอย โพรงจมูก สมอง กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร และเต้านม

เพราะควันบุหรี่มือสองมีความอันตรายไม่แพ้กับการสูบบุหรี่ โดยมีสถิติการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองอย่างชัดเจน จึงมีการรณรงค์งดสูบบุหรี่มากขึ้น ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน ในรถ และในที่สาธารณะ ซึ่งในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยก็เริ่มมีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสูบบุหรี่ที่เข้มงวดมากขึ้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anthony J. Alberg et al., Epidemiology of Lung Cancer (https://journal.chestnet.org/article/S0012-3692(13)60286-X/abstract), May 2013
Centers for Disease Control and Prevention (US), The Health Consequences of Involuntary Exposure to Tobacco Smoke (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK44324/), 2006

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป