มะเร็งกล่องเสียง เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อกล่องเสียง มักเกิดจากการสูบบุหรี่ และสาเหตุอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสกับสารเคมีหรือสารบางชนิด การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นต้น
อาการของมะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งกล่องเสียง มักทำให้เกิดอาการ ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- การเปลี่ยนแปลงของเสียงพูด เช่น เสียงแหบ
- เจ็บขณะกลืน หรือกลืนลำบาก
- มีก้อนที่ลำคอ หรือคอบวม
- ไอเรื้อรัง
- เจ็บคอเรื้อรัง ปวดหูเรื้อรัง
- มีกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- หายใจลำบาก มีเสียงดังขณะหายใจ
สาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง
มะเร็งทุกชนิดเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ ซึ่งดีเอ็นเอจะกำหนดหน้าที่การทำงานของเซลล์ต่างๆ เช่น ควบคุมการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์
การเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอจะเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ในการควบคุมการเจริญเติบโต ซึ่งหมายถึง เซลล์จะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องแทนที่จะหยุดเมื่อถึงเวลาที่ควรหยุด ทำให้เซลล์เจริญเติบโตแบบควบคุมไม่ได้ และเกิดเป็นก้อนเนื้องอกขึ้นมา
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมดีเอ็นเอภายในเซลล์กล่องเสียงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง แต่พบว่าการสัมผัสกับอะไรก็ตามที่ทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อของกล่องเสียง จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกล่องเสียงได้ และมีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกล่องเสียง เช่น
- แอลกอฮอล์และบุหรี่ สองปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกล่องเสียง ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 25 มวนต่อวัน หรือผู้ที่สูบบุหรี่นานกว่า 40 ปี พบว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกล่องเสียงมากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 40 เท่า และหากเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกล่องเสียงมากเป็น 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่ม
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีพ่อแม่ พี่น้องหรือบุตรได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งศีรษะหรือลำคอ จะมีความเสี่ยงเป็น 2 เท่าในการเป็นมะเร็งกล่องเสียง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว
- อาหาร มีข้อมูลว่าการรับประทานเนื้อแดง อาหารที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว และอาหารทอดในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกล่องเสียง อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและผลไม้จำนวนมากอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกล่องเสียงได้
- เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อผิวหนังและเยื่อบุตามร่างกาย เช่น บริเวณปากช่องคลอด ทวารหนัก ปาก และลำคอ เชื้อไวรัสเอชพีวีจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) ซึ่งคาดว่าไวรัสนี้อาจมีผลกับเซลล์ที่ลำคอคล้ายกัน
- การสัมผัสกับสารที่เป็นอันตราย การทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีบางชนิดในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกล่องเสียง เช่น
- แร่ใยหิน (Asbestos)
- ฝุ่นถ่านหิน ฝุ่นไม้
- สี ควันดีเซล
- นิกเกิล (Nickel)
- ควันของกรดซัลฟูริก (Sulphuric Acid Fumes)
- ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
- ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol)
การวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง
แพทย์จะวินิจฉัยโรคมะเร็งกล่องเสียงด้วยการตรวจภายในลำคอเพื่อดูความผิดปกติ เช่น มีก้อน และมีการบวมหรือไม่ หากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขา หู จมูก คอ ) เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม โดยการตรวจหลักๆ ที่ใช้ มีรายละเอียดดังนี้
- การใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง Nasendoscopy ระหว่างตรวจแพทย์จะใช้ท่อยืดหยุ่นขนาดเล็กที่มีแสงและกล้องอยู่ที่ด้านปลายท่อ (endoscope) ใส่เข้าไปที่รูจมูกข้างหนึ่งและผ่านลงไปยังด้านหลังลำคอ ภาพที่เห็นจากกล้องจะแสดงบนจอภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของกล่องเสียง
- การใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง Laryngoscopy หากการตรวจด้วย Nasendoscopy ยังไม่ได้ภาพที่ชัดเจนนัก แพทย์อาจตรวจด้วยการใช้กล้องส่องตรวจ Laryngoscopy ซึ่งจะมีความยาวมากกว่า และใส่เข้าทางปาก ทำให้เห็นรายละเอียดของกล่องเสียงมากยิ่งขึ้น
- การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy) ระหว่างการส่องกล้องด้วย Nasendoscopy หรือLlaryngoscopy แพทย์อาจใช้เครื่องมือขนาดเล็กตัดตัวอย่างเซลล์จากกล่องเสียง เพื่อนำไปตรวจหาสัญญาณของโรคมะเร็ง แต่ถ้าพบก้อนที่ลำคอ แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะดูดเอาเนื้อเยื่อตัวอย่างออกมาแทน
หากผลจากการตรวจชิ้นเนื้อแสดงว่าคุณเป็นมะเร็ง และมีความเสี่ยงที่มะเร็งจะแพร่กระจาย แพทย์อาจจะดำเนินการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerised Tomography (CT) Scan) การเอกซเรย์เพื่อสร้างเป็นภาพสามมิติของกล่องเสียง และเนื้อเยื่อข้างเคียง
- การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI) Scan) เป็นการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเข้มข้นร่วมกับคลื่นวิทยุเพื่อสร้างภาพละเอียดของกล่องเสียงและเนื้อเยื่อข้างเคียง
- PET Scan คือการใช้ซีที สแกน เพื่อถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ในร่างกายหลังได้รับการฉีดสารกัมมันตรังสีแล้ว เพื่อช่วยให้เห็นภาพบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งชัดเจนมากขึ้น
- สแกนอัลตราซาวด์ (Ultrasound Scan) การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจดูสัญญาณของมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้กับกล่องเสียง
การรักษามะเร็งกล่องเสียง
การรักษามะเร็งกล่องเสียงจะขึ้นกับขนาดของมะเร็ง โดยการรักษาหลักที่ใช้ได้แก่ การให้รังสีรักษา การผ่าตัด และการใช้ยาเคมีบำบัด
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งกล่องเสียงระยะแรก อาจมีความเป็นไปได้ที่จะผ่าตัดเอามะเร็งออก หรือรักษาโดยให้รังสีรักษาเพียงอย่างเดียว แต่ถ้ามะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย อาจรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการให้รังสีรักษา
หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งกล่องเสียงระยะท้ายอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่เพื่อเนื้อร้ายออก และอาจให้รังสีรักษาและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย ในบางกรณีผู้ป่วยอาจต้องผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด
มีการผ่าตัดทั้งหมด 3 ชนิดที่ใช้ในการรักษามะเร็งกล่องเสียง ได้แก่
- การผ่าตัดแบบ Endoscopic Resection จะถูกใช้ในการรักษามะเร็งกล่องเสียงระยะแรกๆ ศัลยแพทย์จะใช้กล้องชนิดพิเศษเพื่อขยายภาพของกล่องเสียง ทำให้ผ่าตัดมะเร็งออกได้ด้วยการใช้เลเซอร์ หรือเครื่องมือในการผ่าตัดขนาดเล็ก การผ่าตัดวิธีนี้จะใช้ยาสลบ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด
- การผ่าตัดกล่องเสียงบางส่วน (Partial Laryngectomy) ใช้เพื่อรักษามะเร็งกล่องเสียงในผู้ป่วยบางราย ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาส่วนของกล่องเสียงที่ได้รับผลกระทบออก ในการผ่าตัดนี้สายเสียงบางส่วนจะยังคงอยู่ที่เดิม ผู้ป่วยจึงยังพูดได้ แต่เสียงอาจแหบหรือเสียงเบาลง
- การผ่าตัดกล่องเสียงทั้งหมด (Total Laryngectomy) มักใช้ในการรักษามะเร็งกล่องเสียงระยะรุนแรงแพร่กระจาย โดยการผ่าตัดจะผ่าเอากล่องเสียงออกทั้งหมด และอาจต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกด้วย หากมะเร็งมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองนั้นๆ โดยแพทย์จะเจาะคอผู้ป่วยถาวรเพื่อช่วยในการหายใจภายหลังการผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดกล่องเสียง
หากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกบางส่วน หรือเอาออกทั้งหมด อาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 1-2 วันหลังผ่าตัดหรือจนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัว
ผู้ป่วยจะยังไม่สามารถรับประทานอาหารได้จนกว่าแผลจะเริ่มหายดี ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ในการฟื้นตัว ระหว่างนี้จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารผ่านสายยางโดยใส่เข้าทางจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร
ถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด ศัลยแพทย์จะเจาะคอถาวรเพื่อให้หายใจได้ ในช่วงไม่กี่เดือนแรกหลังการผ่าตัด อาจพบว่ารูเจาะที่คอมีของเหลว หรือเมือกไหลออกมา ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก ดังนั้นจึงมีการต่อท่อเข้ากับรูเจาะนี้เพื่อช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น เมื่อของเหลวหรือเมือกเริ่มมีปริมาณลดลงแล้ว ท่อที่ต่อเอาไว้จะถูกนำออก
ควรทำความสะอาดรูเจาะอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยจะได้รับแผ่นกรองชนิดพิเศษเอามาปิดไว้บนรูเจาะที่คอ เพื่อช่วยให้รูเจาะมีความชุ่มชื้นและปลอดจากเชื้อโรค ผู้ป่วยจำเป็นต้องเอากระดาษทิชชู่ปิดรูเจาะไว้ขณะที่ไอหรือจาม เพราะของเหลว เมือก หรือน้ำลาย จะออกมาทางรูเจาะได้
สอบถามเรื่อง ผลกระทบของบุหรี่ ที่ส่งผลไปถึงการเป็น มะเร็งกล่องเสียงครับ ( อยากได้เป็นข้อความเสียง มาใส่ ใน โปรเจคงาน เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องบุหรี่อะครับ )