กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การผ่าตัดลำไส้ใหญ่คืออะไร?

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก (Colectomy) เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกไปบางส่วนหรือทั้งหมด โดยทำเพื่อรักษาภาวะต่างๆ ที่เกิดกับลำไส้ใหญ่ เช่น

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ลำไส้อุดตัน
  • ภาวะเลือดออกมากผิดปกติในลำไส้ใหญ่
  • โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel disease) เช่น โรคโครห์น (Crohn's disease) หรือ โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis)
  • ติ่งเนื้อชนิดก่อนเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่
  • ภาวะทางพันธุกรรม เช่น ลินช์ซินโดรม (Lynch syndrome) หรือ โพลีโพซิส (Polyposis)

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่มีด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่

  1. ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกทั้งหมด (Total colectomy)
  2. ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกบางส่วน (Partial colectomy)
  3. ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออกครึ่งหนึ่ง (Hemicol ectomy)
  4. ผ่าตัดลำไส้ใหญ่และไส้ตรงออก (Proctocolectomy)

ก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ เพราะแพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาบางตัวก่อนการผ่าตัด นอกจากนี้แพทย์อาจให้ยาระบายผสมกับน้ำให้ดื่มที่บ้าน หรือใช้ยาสวนทวารก่อนผ่าตัด เพื่อช่วยให้ลำไส้ใหญ่โล่ง 

ขั้นตอนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการดมยาสลบระงับความรู้สึกทั้งร่างกายขณะทำการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ถ้ามีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่โดยการผ่าเปิดหน้าท้อง แพทย์จะลงแผลยาวที่หน้าท้องและตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกบางส่วนหรือทั้งหมด แต่ถ้าผ่าตัดลำไส้ใหญ่โดนวิธีส่องกล้อง แพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านแผลเล็กๆ ที่หน้าท้องหลายๆ แผลและจะใส่กล้องวีดีโอเล็กๆ ผ่านแผลหนึ่ง แล้วนำอุปกรณ์ผ่าตัดอื่นๆ จะใส่เข้าทางแผลอื่น

เมื่อลำไส้ใหญ่ถูกตัดออก แพทย์จะต่อทางเดินอาหารส่วนที่เหลือกลับเข้าด้วยกันด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้

  • ต่อลำไส้ใหญ่ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน
  • ต่อลำไส้ส่วนที่เหลือมาเปิดที่หน้าท้อง (โคลอสโตมี หรือ ไอลีออสโตมี)
  • ต่อลำไส้เล็กเข้ากับรูทวารหนัก

หลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

หลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจต้องนอนโรงพยาบาลนาน 3-7 วัน และในระหว่างนี้ยังไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้นได้ ส่วนใหญ่แล้วต้องพักฟื้นประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ความเสี่ยงในการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่

  • การติดเชื้อ
  • เลือดออกในอวัยวะภายใน
  • เกิดแผลเป็น
  • ไส้เลื่อน (เนื้อเยื่อโป่งนูนผ่านชั้นกล้ามเนื้อหน้าท้องออกมาที่ตำแหน่งที่ลงแผล)
  • ลำไส้อุดตัน
  • เกิดความเสียหายกับอวัยวะข้างเคียง
  • ลิ่มเลือด
  • รอยลำไส้ที่ต่อไว้รั่ว


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชนิดของมะเร็งลำไส้
ชนิดของมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ชนิดต่าง ๆ

อ่านเพิ่ม
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่มี 5 ระยะซึ่งแต่ละระยะจะมีการรักษาแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่ม
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?

ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว

อ่านเพิ่ม