นั่งสมาธิมีประโยชน์อย่างไร และมีศูนย์สอนนั่งสมาธิที่ไหนบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
นั่งสมาธิมีประโยชน์อย่างไร และมีศูนย์สอนนั่งสมาธิที่ไหนบ้าง

วิธีฝึกจิตใจให้สงบเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานและกว้างขวาง เป็นการบริหารจิตใจให้หยุดนิ่ง ไม่ปั่นป่วนหรือวุ่นวาย แต่มีความสงบสุข หากใจหยุดนิ่งแล้วย่อมมีพลัง ผู้ที่มีสมาธิที่ดีมักมีบุคลิกภาพที่สง่างามแลดูมีอำนาจ ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คนคงทราบกันมาบ้างแล้วว่า สิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นมาได้นั้นย่อมมีจุดเริ่มต้นมาจากการ “นั่งสมาธิ

ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ

1. คลายเครียด ลดความวิตกกังวล ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดๆ บุคคลที่ได้ฝึกนั่งสมาธิมักจะสามารถลดความเครียดและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดี เมื่อเราไม่เครียดมากก็จะส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่ชื่อ “เอนดอร์ฟิน” ทำให้เรานอนหลับสนิทแล้วเป็นผลดีไปยังด้านร่างกายอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. มีความจำดี แม่นยำ ไม่หลงลืมง่าย สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหรือวัยทำงาน การนั่งสมาธิจะช่วยให้การเล่าเรียนและการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะความมีปัญญาและสติก่อนตัดสินใจที่จะลงมือกระทำสิ่งต่างๆ นั่นเอง

3. ไม่แก่เร็ว มีภูมิต้านทานโรค เนื่องจากผลที่ส่งมาจากทางด้านจิตใจอย่างเช่นการไม่เครียด หรือร่างกายสามารถนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและต่อต้านโรคได้ดี

4. ช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานดีขึ้น เมื่อฝึกนั่งสมาธิจนอยู่ในภาวะใจนิ่งสงบ จะช่วยให้การหายใจช้าลง หัวใจเต้นช้าลง คลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบ ระบบเผาผลาญอาหารและการทำงานของสมองดีขึ้น รวมถึงกล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น

5. ผิวพรรณผ่องใสแลดูอ่อนวัย เพราะการนั่งสมาธิด้วยวิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก ทำบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ออกซิเจนเข้ามาฟอกเลือด ทำให้เลือดสามารถสูบฉีดไปทั่วร่างกายได้ดีขึ้น เรียกว่าเป็นการดีท็อกซ์สารพิษที่ส่งผลให้ผิวพรรณดูเกลี้ยงเกลา สะอาด และเลือดลมไหลเวียนได้สะดวก

6. บรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความเครียด ซึ่งส่งผลทำให้คนที่เป็นโรคนั้นๆ มีอาการทรุดลง เช่น ภาวะซึมเศร้า ลดการเสพติดยา แอลกอฮอล์ หรือนิโคติน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ ลดอาการวัยทอง โรคหืด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น

การฝึกนั่งสมาธิสำหรับผู้เริ่มต้น

  • รับประทานอาหารให้พอดี ไม่อิ่มหรือหิวเกินไป อาบน้ำให้เรียบร้อยและใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว
  • สถานที่สงบ ควรเป็นสถานที่ที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่มีเสียงดัง แต่มีความเป็นส่วนตัว อากาศเย็นสบาย และปราศจากเสียงรบกวนจากสื่อต่างๆ
  • วิธีนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิให้ขาขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หลับตา แล้วทำกายและใจให้โล่งโปร่งสบาย จากนั้นภาวนาด้วยคำพระที่ถนัดอย่างเช่นหายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” ก็ได้ แล้วแต่ผู้สอนจะให้ใช้ พยายามไม่สนใจเรื่องที่จะเข้ามาในใจ โดยใจจะต้องจับอยู่ที่ลมหายใจและคำภาวนาเท่านั้น อีกทั้งยังต้องมีสติในการพยายามดึงใจมาจดจ่อที่ลมหายใจเท่านั้น
  • ควรนั่งสมาธิเวลาเช้ามืด หรือเวลาที่พระอาทิตย์เริ่มขึ้นในตอนเช้า เพราะผู้ปฏิบัติจะสามารถสัมผัสกับความสงบได้ง่ายและมักได้ผลดี โดยเฉพาะผู้ที่นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือถ้าไม่มีเวลาในตอนเช้าก็ควรนั่งปฏิบัติในตอนเย็น เพื่อสร้างความผ่อนคลายจากความวุ่นวายในการทำงานมาทั้งวัน
  • ควรนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาอย่างน้อยครั้งละ 15 – 20 นาที

ศูนย์สอนนั่งสมาธิ

  1. มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บางกอกน้อย กทม. Tel.02-412-2752
  2. วัดป่านานาชาติ แนวทางของหลวงพ่อชา สุภัทโท  อุบลราชธานี
  3. วัดจันทราราม (วัดท่าซุง) แนวทางของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อ.เมือง จ.อุทัยธานี Tel.056-511-366, 056-511391

การนั่งสมาธิไม่ใช่วิธีการรักษาที่จะทดแทนการรักษาตามแพทย์แผนปัจจุบันได้ แต่เป็นเพียงวิธีช่วยบรรเทาอาการของโรคที่ทางจิตใจมีผลส่งให้ร่างกายทรุดลงเท่านั้น ซึ่งอาจนำมาเพื่อช่วยรักษาเพิ่มเติมได้ และยังคงได้ผลในผู้ป่วยบางราย ดังนั้นการนำมาวิธีนั่งสมาธิมาใช้ จึงควรไตร่ตรองถึงข้อจำกัดในโรคที่ตนเองเป็นด้วย ถึงจะได้ผลอย่างแท้จริง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
20 Scientific Reasons to Start Meditating Today. Psychology Today. (https://www.psychologytoday.com/us/blog/feeling-it/201309/20-scientific-reasons-start-meditating-today)
The Types and Benefits of Meditation. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/what-is-meditation-2795927)
Harvard researchers study how mindfulness may change the brain in depressed patients. Harvard Gazette. (https://news.harvard.edu/gazette/story/2018/04/harvard-researchers-study-how-mindfulness-may-change-the-brain-in-depressed-patients/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป