ปวดตา ทำอย่างไรดี? ข้อมูล สาเหตุ การรักษา และวิธีป้องกัน

อาการปวดตา สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น และเราจะดูแลตนเองได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปวดตา ทำอย่างไรดี? ข้อมูล สาเหตุ การรักษา และวิธีป้องกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แม้จะเรียกว่าอาการปวดตา แต่ความหมายนั้นอาจครอบคลุมถึง แสบตา ตาแห้ง เคืองตา หรือรู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา
  • อาการปวดตาเกิดได้จากหลายปัจจัยมาก ดังนั้นจึงควรสำรวจพฤติกรรมในชีวิตประจำวันว่าพฤติกรรมไหนมีส่วนทำให้กระทบกับตา เช่น การนั่งหน้าจอคอมนานๆ อาจทำให้ตาแห้ง ขยี้ตาบ่อยอาจติดเชื้อ หรือหากอายุมากแล้วอาจมีอาการของต้อหิน
  • การบรรเทาอาการปวดตาด้วยตัวเอง ทำได้โดยการพักสายตาจากจอคอม อาจหลับตาแล้วกรอกตาไปมา เมื่อเกิดอาการตาแห้ง อาจปรึกษาเภสัชกรใช้น้ำตาเทียม
  • แต่ในกรณีที่อาการทางตามีความผิดปกติมาก ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ซึ่งแพทย์จะซักประวัติถึงโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน จากนั้นจะตรวจการตอบสนองต่อแสง และอื่นๆ 
  • ดูแพ็กเกจตรวจตาได้ที่นี่

อาการปวดตาตุ้บๆ แสบตา ตาแห้ง รู้สึกเคืองตา หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา อาการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอาการของการปวดตาทั้งสิ้น 

สาเหตุสำคัญมาจากลักษณะการทำงาน การใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างขาดไม่ได้ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลให้คนใช้สายตานานขึ้นต่อวันจนเป็นสาเหตุของการปวดตาบ่อยๆ ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปวดตาเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

การปวดตานั้นมีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายอย่าง นอกจากการใช้สายตามากๆ แล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

การวินิจฉัยของแพทย์

จักษุแพทย์จะวินิจฉัยอาการปวดตาร่วมกับอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มองเห็นไม่ชัด โดนแสงไม่ได้ รู้สึกเหมือนมีบางอย่างอยู่ในตา ปวดศีรษะ เห็นภาพซ้อน 

รวมถึงการมีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคเบาหวาน หรือเคยมีประวัติการผ่าตัดที่ดวงตา เคยได้รับบาดเจ็บรอบดวงตา หรือแม้แต่การใส่คอนแทคเลนส์ โดยแพทย์จะมีการตรวจด้วยเครื่อง Opthalmoscope (เครื่องส่องดูตาเพื่อตรวจจอประสาทตา) และอาจมีการตรวจพิเศษตามสิ่งที่คิดว่าเป็นสาเหตุของโรค

ทั้งนี้ผู้ป่วยควรจะต้องแจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ละเอียดถึงการใช้ยาต่างๆ รวมทั้งการมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่กำลังเป็นอยู่ด้วยเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยของแพทย์มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น หากการปวดตามีอาการไม่มากและไม่มีอาการที่รุนแรงก็ยังคงสามารถบรรเทาอาการปวดตาได้ด้วยตนเอง

วิธีบรรเทาอาการปวดตาด้วยตนเอง

  • ล้างตา 
    เมื่อมีอาการเคืองตา หรือปวดตาจากการโดนสิ่งแปลกปลอมกระแทก ควรล้างตาด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อเพื่อล้างเอาสิ่งแปลกปลอมที่อาจมีอยู่ในตาได้ หากเกิดจากสิ่งแปลกปลอมก็จะช่วยให้อาการปวดหายไป แต่ถ้ายังรู้สึกไม่ดีขึ้นห้ามขยี้ตาเป็นอันขาด และไม่ควรเอาสิ่งแปลกปลอมออกด้วยวิธีการใดๆ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด


  • ใช้น้ำตาเทียมหยอด
    ถ้ามีอาการตาแห้ง ฝืด หรือระคายเคืองจนรู้สึกปวดตา ให้ใช้น้ำตาเทียมหยอดเพื่อช่วยให้ตามีความชุ่มชื้นมากขึ้น แต่ควรใช้โดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรและแพทย์เท่านั้น

  • พักตา
    การใช้สายตาเพ่งจ้องนานๆ ในที่ที่มีแสงจ้า เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ การทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆที่ต้องเพ่งมองมากๆ ควรจะต้องมีการพักสายตาเป็นระยะๆ

    เช่น ไปทำอย่างอื่นหรือพักมองออกไปไกลๆ ใส่แว่นตาสำหรับป้องกันแสงสว่างจ้า ควรกลอกตาไปมาเป็นวงกลม หรือจากบนลงล่างและซ้ายไปขวา หรือแม้แต่การใช้นิ้วนวดขมับและรอบดวงตาเบาๆ จะช่วยทำให้ผ่อนคลายได้


  • ปรับพฤติกรรม
    อาการปวดตายังสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น สายตาสั้น หรือสายยาว การเมื่อยล้าจากการใช้สายตาเพ่งนานๆ สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติเบื้องต้นคือ ปรับ หรือเปลี่ยนแว่นตา รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น เนื้อปลา ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น นอกจากนี้ควรเลิกสูบบุหรี่และทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ

แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ปวดตานานต่อเนื่องเกิน 2 วัน ตาบวมแดง มองเห็นไม่ชัดมากขึ้น อาเจียน คลื่นไส้ และกลอกตา หรือลืมตาลำบาก ร่วมกับปวดศีรษะมากๆ จะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที 

ก่อนใช้ยาต่างๆ เช่น ยาแก้แพ้ ยาสมุนไพร สารสกัดจากพืช ควรศึกษาและปรึกษาเภสัชกร หรือไปรับการตรวจรักษากับแพทย์เสียก่อน เพื่อวินิจฉัยให้ได้ว่า อาการปวดตานั้นเกิดจากสาเหตุใดจึงสมควรที่จะรักษาด้วยการใช้ยาต่างๆ เหล่านี้ด้วยตัวเอง 

นอกจากนี้การประสบอุบัติเหตุที่ตา เช่น ตาแตก กะโหลกยุบ มีน้ำไหลออกมาจากตา โดนของมีคมฟันบริเวณตา โดนสารเคมีสาด หรือกระเด็นเข้าที่ตา ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะทุกนาทีมีผลต่อการมองเห็นของผู้ป่วย

ที่สำคัญการซื้อยามารับประทานเองอาจเกิดผลข้างเคียง หรือผลกระทบและรักษาไม่ตรงกับโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตา ทำให้เสียทรัพย์รวมทั้งเสียเวลากับผู้ป่วยได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรไปพบจักษุแพทย์โดยเฉพาะเพื่อสามารถตรวจพบโรคที่เกี่ยวกับดวงตาในระยะแรกได้ ทั้งนี้การเข้ารับการรักษาโรคที่พบในระยะเริ่มต้นถือว่า เป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วยอย่างมาก

ดูแพ็กเกจตรวจตา เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Benjamin Osborne, MD, Optic neuritis: Pathophysiology, clinical features, and diagnosis (https://www.uptodate.com/conte...), March 2019
Matthew F Gardiner, MD, Overview of eye injuries in the emergency department (https://www.uptodate.com/conte...), March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป