กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 18 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

โรคเบาหวานประเภทนี้เกิดขึ้นกับสตรีที่ตั้งครรภ์และมักจะหายไปเองหลังจากคลอดบุตรแล้ว

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์โดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเกิดกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และไม่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เบาหวาน คือโรคที่บ่งชี้ได้จากการที่ระดับของกลูโคสในเลือดสูง (Glucose คือ น้ำตาลที่ร่างกายจะเก็บไว้เพื่อเป็นพลังงาน) สามารถก่อให้เกิดโรคได้อีกมากมาย โดยโรคเบาหวานมีอยู่หลายประเภท แบ่งได้เป็น 

  • โรคเบาหวานประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นเมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลิน (Insulin) ได้ปริมาณน้อยหรือผลิตไม่ได้เลย (อินซูลินคือฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมกลูโคสในเลือด และนำกลูโคสเข้าไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์)
  • โรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่พบมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีเพียงพอ

ความชุกของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์พบได้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา แต่ตัวเลขยังไม่ชัดเจน จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ระหว่าง 1% -14% ต่อปี แต่ค่าประเมินนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามประชากร และเกณฑ์การวินิจฉัย ตามที่ถูกรายงานไว้ในวารสาร Preventing Chronic Disease ปี 2014

จากข้อมูลในสูติบัตร และแบบสอบถามสำหรับสตรีมีครรภ์ รายงานดังกล่าวระบุว่า โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งผลกระทบ 4.6% - 9.2% ของหญิงที่ตั้งครรภ์ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรายงานได้มีการบันทึกไว้ว่า อัตรานี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยในช่วงระหว่างปี 2007-2010

นอกจากนี้ วารสาร Reviews in Obstetrics and Gynecology ในปี 2008 ได้รายงานว่า อัตราการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อเทียบกับชาติพันธุ์อื่น ๆ แล้ว มักเกิดขึ้นต่ำกว่าในผู้หญิงผิวขาว

สาเหตุของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีลักษณะคล้ายกับเบาหวานประเภทที่ 2  ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ดี หรือเรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance)เพราะเมื่อเซลล์ในร่างกายไม่สามารถดูดซึมกลูโคสได้ดี น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก็จะเริ่มก่อตัวในกระแสเลือด เมื่อทำการตรวจเลือดจะพบว่ามีระดับกลูโคสที่สูงขึ้น

จากรายงานในปี 2008 ได้รายงานว่าภาวะดื้อต่ออินซูลินที่เกิดกับหญิงตั้งครรภ์มักจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งถ้าเจาะให้ลึกลงไปกว่านั้น จะพบว่ามีความไม่สมดุลระหว่างระดับของฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่ออินซูลินและกลูโคสในร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยฮอร์โมนที่ทำให้ระดับของกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น หรือทำให้อินซูลินลดลง มีมากกว่า ฮอร์โมนที่ทำให้ระดับของกลูโคสในเลือดลดลง ก่อให้เกิดระดับของกลูโคสในเลือดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่

  • โกรทฮอร์โมน (Growth Hormones)
  • คอร์ติซอล (Cortisol ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตออกมาเนื่องจากสภาวะเครียดต่าง ๆ) 
  • เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน (Estrogen and Progesterone)
  • ฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human placental lactogen – HPL) ฮอร์โมนที่ถูกผลิตในรก ช่วยในการนำไขมันจากแม่มาเป็นพลังงานให้กับทารกในครรภ์
  • พลาเซนทัล อินซูลิเนส (Placental insulinase) ฮอร์โมนอีกตัวจากรกซึ่งไปหยุดการทำงานของอินซูลิน

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ เช่น การรับประทานที่มากขึ้น การออกกำลังกายที่น้อยลง และการมีไขมันสะสมมากขึ้น ก็ยังสามารถเป็นส่วนทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้ตัวอ่อนในครรภ์ที่กำลังโตนั้นได้รับสารอาหารที่มากขึ้น ร่างกายของผู้หญิงจึงต้องชดเชยด้วยการผลิตอินซูลินที่เพิ่มมากขึ้น แต่บางครั้งอินซูลินที่ถูกผลิตเพิ่มขึ้นมาก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้ระดับกลูโคสอยู่ในสภาวะปกติได้ จึงทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยต่าง ๆ ที่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (แต่ไม่สูงถึงขั้นเป็นเบาหวาน)
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  • มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)
  • มีน้ำหนักมากเกินไป หรือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเยอะเกินไประหว่างตั้งครรภ์
  • มีอายุมากกว่า 25 ปี
  • เป็นคนชาติพันธุ์ แอฟริกัน อินเดียนแดง เอเชีย อเมริกาใต้ หรือมีเชื้อสายของคนในหมู่เกาะแปซิฟิค
  • เคยให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่า 9 ปอนด์ ( 4 กิโลกรัม) หรือมีความผิดปกติแต่กำเกิด
  • เคยคลอดทารกที่เสียชีวิตในครรภ์ หรือแท้ง

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เราป่วยเป็นโรคความดัน และเบาหวานรับยาต่อเนื่อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มึนๆงงๆตาลายหูอื้อค่ะเมื่อก่อนไม่เคยเป็นเกียวกับอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พ่อเป็นต้อกระจก ตอนนี้บอดไปแล้ว ถ้าไปผ่าจะหายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนกรนเสียงดัง ตื่นเช้ามีอาการง่วง เป็นเบาหวาน ควรไปตรวจที่ไหนดีคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการเหมือนคนเป็นโรคเบาหวาน แต่ตรวจแล้วไม่เป็น มีข้อบงชี้ว่าจะเป็นโรคอะไรไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)