คอร์ติซอล (Cortisol)

คอร์ติซอล (Cortisol) คืออะไร? สำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คอร์ติซอล (Cortisol)

Cortisol คืออะไร

คอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต เพื่อช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด และยังมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ต่อสู้กับอาการอักเสบ กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด และช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย 

หน้าที่ของ Cortisol

  • ต่อสู้กับอาการอักเสบภายในร่างกาย
  • กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด
  • ช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย

ค่าปกติของ Cortisol 

ระดับค่าปกติคอร์ติซอลจะหลั่งอยู่ประมาณ 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

Cortisol หลั่งมากที่สุดตอนไหน

ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา โดยจะหลังมากที่สุดในตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวพร้อมทำงาน และทำกิจวัตรประจำวัน จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงจนถึงตอนเย็นและเข้านอน แต่ถ้าหากมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากนี้ (นอนกลางวัน ทำงานตอนกลางคืน) การหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลจะต่างออกไป

นอกจากในช่วงเช้าแล้ว หากเกิดความเครียด หรือเรื่องกังวล ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอลเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับการพักผ่อนไม่เพียงพอที่สัมพันธ์กับความเครียด ก็จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากขึ้นด้วย

ระดับ Cortisol ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

  • การที่ต่อมหมวกไตสร้างคอร์ติซอลออกมามากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เกิดอาการในกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing) เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ส่วนการมีคอร์ติซอลในร่างกายมากเกินไป จะทำให้เกิดโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นลม และความดันโลหิตต่ำ 
  • หากร่างกายมีระดับคอร์ติซอลมากเกินไป จะทำให้เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนทำงานผิดปกติ กระตุ้นความรู้สึกอยากอาหาร ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ
  • หากร่างกายมีระดับคอร์ติซอลน้อยเกินไป จะทำให้ไม่อยากอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดลง และมีอาการอื่นๆ ตามมา

การวัดระดับ Cortisol ในร่างกาย

ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสามารถตรวจวัดได้จากเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลาย โดยตัวอย่างจากเลือดสามารถเจาะได้จากเส้นเลือดดำในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีระดับของฮอร์โมนสูงที่สุด หรืออาจเจาะในช่วง 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนอยู่ในระดับต่ำ ส่วนตัวอย่างจากปัสสาวะสามารถเก็บได้จากปัสสาวะแรกของวัน

ควรตรวจช่วงเช้าเนื่องจากเป็นเวลาที่ร่างกายหลั่งคอร์ติซอลมากที่สุด หากตรวจช่วงบ่าย ค่าคอร์ติซอลจะลดลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ค่าของฮอร์โมนคลาดเคลื่อนได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนแห่งความเครียด
คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนแห่งความเครียด

ความเครียดส่งผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอลอย่างไร หากร่างกายหลั่งคอร์ติซอลมากเกินไปจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)
Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) เพื่อวินิจฉัยและติดตามฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย พร้อมวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่ม