เราจะลดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้อย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เราจะลดฮอร์โมนคอร์ติซอลได้อย่างไร?

คอร์ติซอล คือ ฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ซึ่งมี 2 ปัจจัยที่ทำให้คอร์ติซอลหลั่งออกมา อันดับแรกคือ มันจะหลั่งออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียด และข้อสุดท้ายคือ เมื่อมีระดับของกลูโคคอร์ติคอยด์ในเลือดต่ำ อย่างไรก็ดี ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีหน้าที่ดังนี้

  • เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
  • เผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
  • กดภูมิคุ้มกัน
  • หากมีคอร์ติซอลสูง มันก็จะทำให้คุณเครียดและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีจากธรรมชาติที่สามารถช่วยลดคอร์ติซอลและทำให้อาการข้างต้นดีขึ้น หากร่างกายมีคอร์ติซอลมากเกินไป มันก็สามารถทำให้เกิดอันตราย สำหรับวิธีที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1.ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

การมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นคือหนึ่งในผลที่ชัดเจนที่สุดเมื่อมีคอร์ติซอลในร่างกายสูง ทั้งนี้การทานอาหารบางชนิดสามารถช่วยได้มากทีเดียว ตัวอย่างเช่น

1.1) อาหารที่มีสารฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine)

สารฟีนิลอะลานีนเป็นกรดอะมิโนที่กระตุ้นการผลิตโดพามีน ซึ่งมันสามารถช่วยลดความวิตกกังวลที่เป็นต้นเหตุทำให้คุณอยากทานอาหารที่มีไขมันสูงและน้ำตาล อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสุข สำหรับอาหารที่มีสารฟีนิลอะลานีนสูง ตัวอย่างเช่น เนื้อแดง ไข่ ปลา ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ถั่วเลนทิล ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วลูกไก่ ฯลฯ

1.2) โอเมกา 3

สารอาหารชนิดนี้มีความสามารถในการช่วยลดระดับของคอร์ติซอลที่เกี่ยวข้องกับความเครียด อย่างไรก็ดี ปลาน้ำเย็นอย่างปลาซาร์ดีนและปลาแซลมอน นับว่าเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ที่ดี

1.3) น้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะขาดน้ำสามารถทำให้เกิดความตึงเครียดในร่างกาย ซึ่งการดื่มน้ำเปล่าคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณไม่ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว นอกจากนี้คุณสามารถดื่มชาเขียวเพราะมันมีสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ และพยายามลดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

2.นอนให้เพียงพอ

โรคนอนไม่หลับนับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการผลิตคอร์ติซอล อีกทั้งยังทำให้อาการอื่นๆ แย่ลง เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หงุดหงิด ฯลฯ คนที่มีคอร์ติซอลสูงควรจัดตารางการนอนให้เหมาะสม รวมถึงนอนในห้องที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป และนอนในห้องที่เงียบ มืด และไม่มีแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

3.ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย

ความเครียดคือสาเหตุหลักที่ทำให้มีคอร์ติซอลสูง ดังนั้นการทำกิจกรรมที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายและทำให้อารมณ์ดีขึ้นจึงเป็นวิธีที่เราอยากแนะนำ ตัวอย่างเช่น ฟังดนตรี ดูสิ่งที่ทำให้คุณหัวเราะได้ พาสุนัขไปเดินเล่น ฯลฯ นอกจากนี้การใช้เวลาในระหว่างวันเพื่อผ่อนคลายและปล่อยสมองให้โล่งก็เป็นไอเดียที่ดี โดยคุณอาจหลับตาและเปิดเพลงแนวฟังสบายคลอสัก 15 นาที หรือนานกว่านี้

4.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายบางประเภทเป็นประจำสามารถช่วยลดความเครียด อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการมีคอร์ติซอลสูงเกินไป คุณไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายแบบต้องออกแรงมากก็ได้ค่ะ การเดินวันละ 30 นาที ก็เพียงพอที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายและทำให้คุณมีรูปร่างดี

แม้ว่าคอร์ติซอลจะหลั่งออกมามากในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะเมื่อเราเครียด แต่การใช้วิธีที่เรากล่าวไปข้างต้นก็สามารถช่วยให้คอร์ติซอลลดลง และคุณสามารถนำไปทำตามได้ไม่ยากค่ะ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนแห่งความเครียด
คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนแห่งความเครียด

ความเครียดส่งผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอลอย่างไร หากร่างกายหลั่งคอร์ติซอลมากเกินไปจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
คอร์ติซอล (Cortisol)
คอร์ติซอล (Cortisol)

คอร์ติซอล (Cortisol) คืออะไร? สำคัญต่อร่างกายอย่างไร?

อ่านเพิ่ม