ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน น้ำเชื่อมจากว่านหางจระเข้ ได้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน น้ำเชื่อมจากว่านหางจระเข้ ได้หรือไม่

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่สนใจด้านสุขภาพและโภชนาการมักนิยมใช้น้ำเชื่อมจากว่านหางจระเข้เป็นเครื่องปรุงรสหวาน คนส่วนมากใช้เพราะเชื่อว่าน้ำเชื่อมนี้มีค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำกว่า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นช้ากว่า และเนื่องจากน้ำเชื่อมนี้มีส่วนประกอบของน้ำตาลฟรุกโตสมากถึง 90% ก็ทำให้มีค่าดัชนีน้ำตาลน้อยกว่าสารให้ความหวานอื่นๆ เช่นน้ำตาล แต่การใช้น้ำหวานนี้มาพร้อมกับคำเตือนบางข้อ

เมื่อน้ำตาลฟรุกโตสย่อยสลาย ส่วนมากจะไปสู่ตับแทนที่จะเข้าสู่เลือดซึ่งจะทำใหระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้ฟรุกโตสสามารถเพิ่มระดับไขมันชนิด Triglyceride ซึ่งเป็นไขมันที่อยู่ในกระแสเลือดและทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน, โรคกลุ่มเมตะบอลิคและโณคหัวใจ ดังนั้นหากคุณมีระดับไขมันชนิดนี้ในเลือดที่สูงอยู่แล้วหรือมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ (ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมี) คุณอาจพิจารณาเลือกสารให้ความหวานตัวอื่นแทน และหากคุณหลีกเลี่ยงน้ำหวานจากข้าวโพด คุณอาจต้องการหลีกเลี่ยงน้ำเชื่อมจากว่านหางจระเข้ด้วยเช่นกันเนื่องจากมีส่วนผสมของฟรุกโตสเกือบ 100%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อมีการใช้สารให้ความหวาน ควรระลึกเสมอว่าการได้พลังงานอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกข้อหนึ่งของการเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ น้ำว่านหางจระเข้ 1 ช้อนชา มีคาร์โบไฮเดรต 5 กรัมให้พลังงาน 20 แคลอรี ดังนั้นหากคุณใช้น้ำวาน 1 ช้อนโต๊ะ (เท่ากับ 3 ช้อนชา) คุณจะได้รับพลังงาน 60 แคลอรีและคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับจากผลไม้ 1 ส่วนหรือขนมปัง 1 แผ่น โดยไม่ได้รับประโยช์จากเส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ เลย

หากคุณเป็นเบาหวานและกำลังมองหาวิธีลดน้ำหนัก คุณควรลดพลังงานจากน้ำตาลทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และสารเช่นน้ำเชื่อม น้ำตาล น้ำเชื่อมเมเปิ้ลและสารทดแทนน้ำตาล พบว่าการรับประทานอาหารจากธรรมชาติหรืออาหารที่ไม่มีการปรุงแต่งจะช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่ได้รับ (และลดพลังงานที่ได้รับซึ่งจะช่วยลดน้ำหนัก) และจะช่วยในการควบคุมน้ำตาลในเลือดและน้ำหนัก

ต้นว่านหางจระเข้คืออะไร?

ต้นไม้ชนิดนี้เป็นพืชที่พบนประเทศเม็กซิโก และมีการแปรรูปหลายแบบ ต้นว่านหางจระเข้สีน้ำเงินมีการนำมาทำเป็น tequila ในขณะที่น้ำเชื่อมที่ทำจากต้นไม้ชนิดนี้ทำมาจาก  ชนิด Salmiana และแปรรูปด้วยเอนไซม์จากราชื่อ Aspergillus niger (กระบวนการนี้สำนักงานอาหารและยาระบุว่าปลอดภัย)

น้ำเชื่อมจากต้นว่านหางจระเข้นี้สามารถซื้อได้ตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพหรือร้ายขายของชำทั่วไป มักมีสีใสหรือน้ำตาลทอง สามารถผสมเข้าในเครื่องดื่มเช่นชาร้อน เมื่อมีการใช้สารให้ความหวาน ควรดูปริมาณน้ำตาลที่ต้องใข้และใช้น้ำเชื่อมในปริมาณที่ลดลง 25% ก่อนที่จะลดปริมาณน้ำในสูตรลดประมาณ 1/3 และลดอุณหภูมิเตาอบลงประมาณ 25 องศา

ข้อสรุปของเรื่องนี้คืออะไร?

น้ำเชื่อมจากต้นว่านหางจระเข้อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีกว่าสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ เมื่อพิจารณาเรื่องน้ำหนักแล้วพบว่าน้ำตาลทุกชนิดมีผลเหมือนกัน และการลดน้ำหนักจะช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

หากคุณจำเป็นต้องใช้สารให้ความหวาน คุณอาจลองใช้สารให้ความหวานตัวอื่นซึ่งไม่ให้พลังงาน หากคุณต้องใช้น้ำเชื่อมหรือสารให้ความหวาน ควรพืจารณาปริมาณที่ควรใช้ สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ผู้ชายควบคุมการเติมน้ำตาลอยู่ที่ 150 แคลอรี และผู้หญิงควรรับประทานไม่เกิน 100 แคลอรีต่อวัน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, Diabetic patients (https://www.healthline.com/nutrition/16-best-foods-for-diabetics), June 3, 2017
medicalnewstoday.com, Diabetic patients (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323627.php), November 8, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป