กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ถ้าน้ำตาลไม่ดีต่อร่างกายจริง แล้วทำไมน้ำตาลในผลไม้จึงโอเคล่ะ?

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ถ้าน้ำตาลไม่ดีต่อร่างกายจริง แล้วทำไมน้ำตาลในผลไม้จึงโอเคล่ะ?

พวกเราได้ยินบ่อย ๆ ว่าไม่ควรกินน้ำตาลเยอะเกินไป แต่เราก็ได้ยินอีกว่าการกินผลไม้ นั้นดีต่อร่างกาย

น้ำตาลทุกประเภทจะให้ปริมาณแคลอรีเท่ากันหมดไม่ว่าน้ำตาลนั้นจะอยู่ในผลไม้หรือเครื่องดื่มก็ตาม ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับประทานน้ำตาลนั้นเกี่ยวข้องกับการบริโภค “น้ำตาลอิสระ” ที่อยู่ในอาหาร ไม่ได้มาจากการรับประทานน้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้หรือนมตามธรรมชาติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ประเภทของน้ำตาลในอาหาร

น้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มมีหลากหลายรูปแบบ โมเลกุลน้ำตาลถูกจำแนกเป็นมอโนแซกคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอย่างกลูโคสและฟรุกโตส) กับไดแซกคาไรด์ (น้ำตาลที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าอย่างซูโครสและแลกโทส)

ผลไม้จะประกอบด้วยน้ำตาลที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ หรือก็คือการผสมกันของซูโครส ฟรุกโทส และกลูโคส คนหลายคนเคยได้ยินว่าน้ำตาลนั้นไม่ดีและคิดว่าน้ำตาลในผลไม้เองก็ไม่ดีเช่นกัน

แต่ฟรุกโตสจะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อบริโภคเข้าไปมากเกินไปเท่านั้น และปริมาณของฟรุกโตสในผลไม้ก็ไม่ได้มีมากขนาดที่จะสามารถรับประทานผลไม้จนได้รับฟรุกโตสเกินขนาดได้ง่าย ๆ เสียด้วย

การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มี “น้ำตาลอิสระ” ยังทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลปริมาณมากเกินพอดีง่ายกว่าเยอะ

น้ำตาลอิสระประกอบไปด้วยน้ำตาลจากผลไม้ตามที่กล่าวไป (ซูโครส ฟรุกโทส และกลูโคส) แต่เป็นการนำน้ำตาลเหล่านี้ออกมาจากแหล่งที่มาตามธรรมชาติของพวกมัน (จากผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และผักกับธัญพืชบางชนิด) และนำไปใส่ให้กับอาหารกับเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์

ความเสี่ยงที่น้ำตาลอิสระมีต่อสุขภาพ

มีหลักฐานมากมายที่บ่งชี้ว่าน้ำตาลส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างเช่นทำให้เกิดฟันผุและมีน้ำหนักตัวเพิ่ม ทั้งหมดนั้นมาจากการบริโภคน้ำตาลที่อยู่ในอาหารและขนมมากเกินไปนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ด้วยเหตุนี้จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรมีการบริโภคน้ำตาลมากกว่า 10% ของแคลอรีในแต่ละวัน หรือสำหรับผู้ใหญ่คือน้ำตาล 50 กรัมต่อวันเท่านั้น

อาหารที่เป็นแหล่งที่อยู่ของน้ำตาลอิสระอย่างเช่นน้ำผลไม้ เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ หรือขนมขบเคี้ยว ซึ่งมีแคลอรีมากแต่มีสารอาหารอื่นน้อย และมักบริโภคได้ง่ายกว่าผลไม้สด

หากลองพิจารณาน้ำส้มหนึ่งขวด คุณจะได้รับน้ำตาลจากส้มสดถึงหกลูกต่อการดื่มหนึ่งครั้ง และเนื่องจากกว่าผลไม้นี่คุณดื่มอยู่ในรูปของของเหลว ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่คุณจะได้รับพุ่งขึ้นจนถึงขีดสูงสุดของปริมาณน้ำตาลที่คุณควรได้รับในหนึ่งวัน

แคลอรีจากเครื่องดื่มที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลจะไปรวมกับปริมาณแคลอรีที่คุณได้รับจากการรับประทานอาหาร ทำให้นำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนได้

การรับประทานผลไม้ตากแห้งก็ทำให้ได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินพอดีเช่นกัน เนื่องจากตามกระบวนการดูดน้ำออกจากผลไม้จะทำให้สารอาหารที่มีเหลือเข้มข้นขึ้น จึงทำให้ผลไม้แห้งมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าผลไม้สดอย่างมาก

ประโยชน์ของผลไม้

ผลไม้ต่างจากอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลอิสระหลายประเภท ผลไม้ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่ช่วยปรับสมดุลร่างกายให้มีสุขภาพดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เริ่มจากผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยใยอาหาร กล้วยทั่วไปจะมีเส้นใยประมาณ 20-25% (6 กรัม) ของปริมาณที่คุณควรได้รับในแต่ละวัน โดยเส้นใยอาหารมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ที่น่ากังวลคือผู้ใหญ่หลาย ๆ คนได้รับใยอาหารเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ควรได้รับเท่านั้น

เส้นใยอาหารในผลไม้สามารถทำให้คุณอิ่มเร็วขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง แม้จะไม่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงเป็นนี้ แต่ก็คาดกันว่าอาจเป็นเพราะผลไม้ที่มีเส้นใยนั้นต้องมีการเคี้ยวมากขึ้นหรืออาจเป็นเพราะปริมาตรของอาหารเส้นใยสูงมีมากกว่าก็เป็นได้

ผลไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายอย่างโพแทสเซียม ซึ่งช่วยลดความดันโลหิต และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจลง

อีกทั้งยังมีรายงานว่าการกินผลไม้ทั้งลูก (เดี่ยว ๆ หรือพร้อมกับผัก) จะลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอ้วนได้อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการส่งเสริมให้ผู้คนรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น โดยให้ความสำคัญไปยังผักมากกว่า โดยแนะนำให้คุณกินผลไม้อย่างน้อยสองชิ้นต่อวัน อย่างเช่นกล้วย แอปเปิล หรือส้ม หรือผลไม้ขนาดเล็ก ๆ อย่างลูกพลัม องุ่น หรือเบอร์รี่ต่าง ๆ สองลูก เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงแหล่งน้ำตาลอื่น ๆ ลองเลือกอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยหรือไม่มีน้ำตาลระบุไว้ในรายการส่วนผสมเลย และดับกระหายด้วยการดื่มน้ำธรรมดาแทนน้ำหวานต่าง ๆ

สารให้ความหวานเทียมทำให้คุณอ้วน

ประชากรโลกเกือบ 40% อยู่ในกลุ่มอ้วน และรายงานมากมายก็โทษน้ำตาลเป็นต้นเหตุ เนื่องจากผู้คนส่วนมากหันไปหาอาหารที่มีแคลอรีต่ำและมีสารให้ความหวานที่ให้รสชาติที่พวกเขาหลงไหล โดยไม่คำนึงถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ปัญหาโรคอ้วนเกิดมาจากการได้รับปริมาณไขมันและน้ำตาลในอาหารที่สูงขึ้น ทำให้ไขมันที่เข้าสะสมในร่างกายของคนไปเพิ่มโอกาสการเป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรคหัวใจ และมะเร็งต่าง ๆ ขึ้น

เคยมีคำแนะนำว่าให้เลือกอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลแคลอรีต่ำอย่างซูคราโลสกับแอสพาร์เทมจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้รับน้ำตาลที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียมากเกินไปต่อร่างกาย แต่จากการศึกษาได้พบว่าการรับประทานสารให้ความหวานเหล่านี้กลับให้ผลตรงกันข้ามและยังเป็นการเพิ่มโอกาสที่ร่างกายจะสะสมไขมันในร่างกายแทน ตีความได้ว่ายิ่งคุณบริโภคสารให้ความหวานเทียมเหล่านี้มากเท่าไร จะยิ่งมีไขมันในร่างกายเกิดขึ้นมากเท่านั้น

สารเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกายของคุณ?

หลายปีมานี้ พวกเราเข้าใจแล้วว่าสารให้ความหวาน (น้ำตาลหรือน้ำตาลเทียม) เกี่ยวข้องกับเซนเซอร์รับรสในช่องปากของคนเราที่เรียกว่า “ปุ่มรับรสหวาน” โดยปุ่มรับรสเหล่านี้จะส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อตีความว่าคุณกำลังทานของหวานอยู่

สิบปีมานี้ เซนเซอร์เหล่านี้ยังถูกพบที่ส่วนอื่นของร่างกายคนเราอีกด้วย อย่างกระเพาะปัสสาวะ ปอด หรือแม้แต่ในกระดูก จึงมีคำถามตามมาว่าปุ่มรับรสในอวัยวะเหล่านี้ส่งผลอย่างไรกับสารให้ความหวานบ้าง

มีงานวิจัยที่ดำเนินการกับผลกระทบที่สารให้ความหวานเทียมมีต่อเซลล์และทำให้เกิดการเก็บกักไขมันขึ้น โดยพบว่าเซลล์เหล่านั้นมีตัวส่งกลูโคส (โปรตีนที่ช่วยนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์) ที่เรียกว่า GLUT4 บนพื้นผิว และเมื่อเราทานน้ำตาลเข้าไป เซลล์เหล่านี้จะแบกกลูโคสมากขึ้นและสะสมไขมันให้ใหญ่ขึ้นตาม

นักวิจัยจากการศึกษานี้ยังพบว่าสารให้ความหวานเทียมหรือซูคราโลสที่มักพบในอาหารและเครื่องดื่มไดเอตต่าง ๆ  ไปเพิ่ม GLUT4 ในเซลล์ขึ้น ทำให้ยิ่งส่งเสริมการสะสมไขมันให้มากขึ้นอีก

กระนั้น การศึกษาวิจัยนี้ได้ดำเนินการกับผู้คนที่มีภาวะอ้วนที่บริโภคน้ำตาลเทียมเข้าไปจำนวนไม่กี่คน และพบว่าพวกเขามีเซลล์ไขมันที่มากขึ้นโดยที่มียีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไขมันด้วย

ยังคงไม่มีคำตอบที่แน่ชัด

เมื่อบริโภคน้ำตาลเทียมในปริมาณต่ำ จะพบว่าน้ำตาลเทียมช่วยทำให้น้ำหนักลด และเพิ่มสภาพการเผาผลาญขึ้น และยังช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ระหว่างการติดเชื้ออีกด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาได้สรุปว่าการบริโภคน้ำตาลเทียมในปริมาณที่มากเกินจะส่งผลเป็นปัญหาโรคอ้วนแทน

แม้ว่าในประเด็นนี้ยังคงมีการศึกษาวิจัยอยู่น้อยมาก และในบรรดาการศึกษาเหล่านี้ก็มีไม่กี่ชิ้นที่ทำการเปรียบเทียบสารให้ความหวานแคลอรีต่ำกับน้ำตาล ทำให้พวกเรายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสำหรับเรื่องนี้ แต่ทุกวันนี้ก็มีสารให้ความหวานตามธรรมชาติออกวางจำหน่ายมากมายอย่างผลหล่อฮังก๊วยและหญ้าหวาน ทำให้พวกเรามีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมากมาย โดยสารสกัดที่มาจากผลไม้เหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างรสชาติแก่อาหารในแบบที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำตาลเทียม แต่ก็ยังคงเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสารให้ความหวานเทียมจริง ๆ หรือมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนอย่างไรอยู่ดี

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fruit Sugar Vs Refined Sugar: Are They Both Bad For You?. Aaptiv. (https://aaptiv.com/magazine/fruit-sugar)
Low-Sugar Fruits for Low-Carb Diets. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/low-carb-fruit-list-2242528)
Fruits That Are Highest in Sugar. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-fruit-sugar)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำตาลและสารให้ความหวาน
น้ำตาลและสารให้ความหวาน

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำตาลประเภทต่างๆ อาทิ ฟรักโทสหรือน้ำตาลธรรมชาติ ตลอดจนสารให้ความหวานอื่น ได้แก่ ซอร์บิทอล แมนนิทอล ไซลิทอล แอสพาร์แตม ซูคราโลส และ นีโอเทม หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม