Diet Soda คืออะไร? กินแล้วทำให้สมองเสื่อมจริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Diet Soda คืออะไร? กินแล้วทำให้สมองเสื่อมจริงหรือ?

ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า การดื่มเครื่องดื่มแม้กระทั่ง Diet Soda (หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำอัดลมแบบไดเอท เช่น น้ำอัดลมซีโร่ทั้งหลายแหล) ในหนึ่งวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมเป็นสามเท่าเลยทีเดียว

ผู้สูงอายุหลายคนเมื่ออายุย่างเข้าวัย 50-60 ปีขึ้นไป ย่อมเป็นห่วงและเป็นกังวลต่อสุขภาพร่างกายของตนเองเป็นธรรมดา ยิ่งหากเสพข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินมาก ๆ เข้าแล้วล่ะก็ ยิ่งต้องเป็นกังวลมากยิ่งขึ้นเป็นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีงานวิจัยออกมาพูดถึง "สารให้ความหวานกับโรคสมองเสื่อม" บางคนตั้งใจว่าจะดื่มเครื่องดื่มที่ให้รสหวานแต่เป็นรสหวานที่มาจากสารให้ความหวานแทน (เพราะเชื่อว่าจะไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด) แต่หลังจากอ่านผลวิจัยต่าง ๆ ที่ออกมาเผยว่า สารให้ความหวานอาจมีผลเกี่ยวโยงกับโรคสมองเสื่อมได้ หลายคนก็คงอยู่ไม่สุขแล้วล่ะ จริงไหม? หลังอ่านผลการศึกษา หลายคนอาจลังเลว่า ควรหยุดรับประทานสารให้ความหวานเลยดีไหม? ยิ่งหากใครที่รับประทานสารให้ความหวานเป็นประจำเพื่อเพิ่มความกระชุ่มกระชวยแทนน้ำตาลจริง ๆ แล้ว ยิ่งวิตกกันไปต่าง ๆ นานาทีเดียวล่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนว่าจะไม่มีผลการศึกษาที่บ่งชี้ถึงความเกี่ยวโยงระหว่างสารให้ความหวานและภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ แล้ว แต่หากเสพข้อมูลผลการศึกษาที่เผยออกมาสักชิ้นสองชิ้นอย่างละเอียดแล้ว บางคนอาจเริ่มเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของตน ในที่นี้ มาลองดูผลการศึกษาล่าสุดที่บอกเราทุกคนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสารให้ความหวานและความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมกันก่อนเสียหน่อย

สารให้ความหวานก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจริงหรือ?

ผลการศึกษาเผยว่า คนที่ดื่ม Diet Soda เป็นประจำจำนวนมาก มีแนวโน้มที่ท้ายสุดแล้วอาจเป็นอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์อื่น ๆ แย้งว่า มีแนวโน้มต่อโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งสภาวะเหล่านี้ต่างก็นำไปสู่ความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์อย่างมีนัยสำคัญเช่นกันไม่ใช่หรือ และยิ่งหากคุณมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคเบาหวาน คุณก็คงมีความจำเป็นต้องเลือกดื่มเครื่องดื่มจำพวก Diet Soda แทนเพื่อลดปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่ที่บริโภคเข้าไปใช่ไหมล่ะ เรียกได้ว่า ตกที่นั่งลำบากชนิด กลืนไม่เข้าคายไม่ออกกันเลยทีเดียว

ดังนั้น คำถามคือ สรุปแล้ว Diet Soda เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม หรือความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและน้ำหนักเกินจะมีมากกว่าและอันตรายกว่า อย่างไรกันแน่? ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ข้อสงสัยของผู้คนก็นับเป็นแรงผลักดันที่ดีที่ทำให้มีการศึกษาวิจัยกันต่อไปอย่างละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ถือเป็นเรื่องดี ๆ ที่เราจะได้หันมาพิจารณาการบริโภค Diet Soda อย่างระมัดระวังและไม่ประมาทจนเกินไป

4 เหตุผลที่ควรคิดอีกครั้งก่อนดื่ม Diet Soda

1. "สารให้ความหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน" คำกล่าวนี้ค่อนข้างย้อนแย้ง เนื่องจากดังที่กล่าวไปแล้วว่า คนที่เป็นโรคเบาหวาน เลือกกินสารให้ความหวานแทนเพื่อลดปริมาณการบริโภคน้ำตาล

2. การทาน Diet Soda กับมื้ออาหารนั้นแตกต่างจากการทานกับน้ำเปล่า แม้จะมีน้ำตาลและแคลอรี่เป็น 0 เท่านั้นก็จริง แต่น้ำตาลในเลือดก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นได้หลังการกินมื้ออาหารควบคู่กับ Diet Soda และหากปล่อยไว้นานเข้า น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นและปริมาณอินซูลินที่พุ่งขึ้นอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ อีกทั้งยังนำไปสู่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

3. สารให้ความหวานทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แม้ร่างกายจะไม่ได้รับแคลอรี่จากสารดังกล่าว แต่มันสามารถเป็นแหล่งอาหารสำหรับแบคทีเรียในกระเพาะของคุณ เพราะเจ้าแบคทีเรียนดูท่าจะชอบสารให้ความหวานและอาจโตขึ้นในท้องของคุณได้

4. "การงดสารให้ความหวานเพิ่มความอยากในการรับประทานอาหารอย่างมีสุขภาพดี" คนที่ดื่ม Diet Soda มักคิดว่าตนเองไม่มีแคลอรี่ ฉะนั้น จึงคิดว่าคงไม่ผิดหากจะกินอย่างไม่จำกัด และนั่นทำให้สุขภาพคุณย่ำแย่ หากคุณงดหรือตัดสารให้ความหวานได้ นั่นเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะคุณจะมีความอยากในรสชาติอาหารธรรมชาติ ๆ และไม่สังเคราะห์ บางคนกล่าวว่า "ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า ผลไม้สักชิ้นจะอร่อยขนาดนี้ หรือแม้แต่ผักก็ยังอร่อยเลย!"

ถือได้ว่าเป็นประเด็นสุขภาพที่ยังต้องค้นคว้าและศึกษาข้อมูลกันต่อไป ทั้งนี้ สำหรับแต่ละคนแล้ว ขอให้ลองชั่งน้ำหนักดูก่อนก็แล้วกันว่า พฤติกรรมของคุณควรจะหันเหไปในทิศทางใดดี ทางที่ดีที่สุด แนะนำว่า "เลือกทางสายกลาง" เถิดจะดีที่สุด อย่าโหมกินอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินพอดี ไม่ใช่ว่าได้ยินมาว่าอะไรดี ก็ตะบี้ตะบันกินจนไม่ลืมหูลืมตา...เอาปริมาณที่พอเหมาะกันดีกว่าเนอะเพื่อน ๆ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diet Sodas Linked to Higher Risk of Stroke, New Study Says. Health.com. (https://www.health.com/condition/stroke/diet-soda-linked-to-risk-of-stroke-heart-attack-new-study-shows)
Is diet soda bad for you? Everything you need to know. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325919)
Reported link between diet drinks and dementia and stroke is weak. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/lifestyle-and-exercise/reported-link-between-diet-drinks-and-dementia-and-stroke-is-weak/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
น้ำตาลและสารให้ความหวาน
น้ำตาลและสารให้ความหวาน

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำตาลประเภทต่างๆ อาทิ ฟรักโทสหรือน้ำตาลธรรมชาติ ตลอดจนสารให้ความหวานอื่น ได้แก่ ซอร์บิทอล แมนนิทอล ไซลิทอล แอสพาร์แตม ซูคราโลส และ นีโอเทม หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม