กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

10 ผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพของคุณ

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
10 ผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพของคุณ

1.พีช:  แหล่งของโพแทสเซียม

ทุกคนรู้กันดีว่ากล้วยนั้นเป็นแหล่งของโพแทสเซียมแต่ลูกพีช ลูกเล็กๆ 2 ลูกนั้นให้แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่ากล้วยขนาดกลาง 1 ใบ ช่วยบำรุงเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเปลือกของพีชที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ พีชยังเป็นผลไม้ให้รสหวานที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักอีกด้วย โดยคุณอาจจะนำพีชมาเป็นส่วนประกอบในการทำขนมหวานที่ดีต่อสุขภาพ

2.สับปะรด: อุดมไปด้วยสารต้านการอักเสบ

สับปะรดนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสาร bromelain ซึ่งเป็นเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดสมองอุดตันรวมถึงช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรอีกด้วย

3.องุ่น: ดีต่อสุขภาพของหัวใจ

องุ่นนั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ quercetin และ resveratrol ที่พบว่าช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและการมี cholesterol ในระดับสูง องุ่นยังเป็นแหล่งของโพแทสเซียมและธาตุเหล็กซึ่งช่วยป้องกันการเกิดตะคริวและภาวะโลหิตจาง องุ่นแดงหรือม่วงเป็นสายพันธุ์ที่มีสารที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด

4.กีวี่: อุดมไปด้วยวิตามิน

กีวี่นั้นอุดมไปด้วยวิตามันซีและอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและดีต่อสายตา นอกจากนั้นกีวี่ยังให้พลังงานต่ำแต่มีเส้นใยอาหารสูงทำให้เป็นผลไม้ที่เหมาะในผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

5.มะม่วง: ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน

มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนสารนี้ให้กลายเป็นวิตามินเอเพื่อนำไปสร้างกระดูกและเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ นอกจากนั้นมะม่วงยังให้วิตามินซีในปริมาณสูงอีกด้วย

6.แอปเปิ้ล: ดีต่อสมองและหัวใจ

แอปเปิ้ลขนาดกลาง 1 ลูกนั้นให้พลังงานต่ำ (เพียงแค่ 80 แคลอรี) แต่อุดมไปด้วยสาร quertecin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองที่จะทำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้ มีงานวิจัยพบว่าผู้ที่รับประทานแอปเปิ้ลนั้นมีโอกาสในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า นอกจากนั้นแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยลดระดับ cholesterol และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และเพิ่มความแข็งแรงของฟันอีกด้วย เวลารับประทานแอปเปิ้ล ให้รับประทานทั้งเปลือกเพราะเปลือกนั้นก็เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสารที่ช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น flavonoids ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

7.ทับทิม: ให้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าไวน์แดงหรือชาเขียว

น้ำทับทิมนั้นให้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าไวน์แดงหรือชาเขียวถึง 2-3 เท่าและยังเป็นแหล่งของโพแทสเซียมซึ่งช่วยคงพลังงานให้กับร่างกายและควบคุมความดันโลหิต งานวิจัยพบว่าการดื่มน้ำทับทิม ¼ ถ้วยนั้นจะช่วยทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น ลดระดับ cholesterol ลงและช่วยทำให้ภาวะองคชาติไม่แข็งตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มรับประทานน้ำทับทิมเป็นประจำเนื่องจากน้ำทับทิมอาจส่งผลต่อการทำงานของยาบางตัวได้

8.Grapefruit: แหล่งของวิตามินซี

ถึงแม้ว่าส้มนั้นจะเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีที่สำคัญแต่ grapefruit นั้นก็จัดเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีได้มากและยังเป็นอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร โพแทสเซียมและวิตามินเออีกด้วย มีงานวิจัยที่พบว่า grapefruit นั้นช่วยลดอาการของโรคข้ออักเสบและช่วยซ่อมแซมผิวหนังหรือผมที่มันได้

9.กล้วย: รับประทานง่ายแต่ดีต่อสุขภาพ

กล้วยจัดเป็นผลไม้ที่เหมาะกับการรับประทานเป็นของว่าง โดยกล้วยนั้นเป็นแหล่งของโพแทสเซียมและเสน้ใยอาหารที่จะช่วยคงพลังงานในร่างกายตลอดทั้งวัน และเนื่องจากกล้วยนั้นไม่มีไขมันหรือเกลือทำให้กล้วยเป็นผลไม้ที่เหมาะนำมารับประทานแทนขนมต่างๆ ในยามว่าง

10.บลูเบอร์รี่: อุดมไปด้วยสารชะลอวัย

บลูเบอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีที่ช่วยในการต่อสู้กับโรคต่างๆ รวมถึงสาร anthocyanin ซึ่งเป็นเม็ดสีที่เพิ่มการทำงานของสมอง งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานบลูเบอร์รี่นั้นมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะที่ทำให้ตาบอดได้ลดลง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
12 Heart-Healthy Foods to Work into Your Diet. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/12-heart-healthy-foods-to-work-into-your-diet/)
How to Use Fruits and Vegetables to Help Manage Your Weight. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/healthyweight/healthy_eating/fruits_vegetables.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป