กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

​แอปเปิ้ล องุ่น สับปะรด แตงโม มะละกอ มะม่วง ช่วยล้างพิษได้

ล้างพิษ ต้านอนุมูลอิสระแบบธรรมชาติ 100 % ได้ผลดี ปลอดภัย และไม่เสี่ยง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
​แอปเปิ้ล องุ่น สับปะรด แตงโม มะละกอ มะม่วง ช่วยล้างพิษได้

แอปเปิ้ล 

ผลมีทรงกลมออกแบนเล็กน้อย ผลไม้ชนิดนี้เปรียบเสมือนไม้กวาดที่คอยทำความสะอาดลำไส้ ตับ และระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น แถมยังป้องกันไม่ให้โปรตีนในลำไส้เกิดการบูดเน่า   มีการรวบรวมงานวิจัยทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับแอปเปิ้ลพบว่า ช่วยลดน้ำหนักและต้านอนุมูลอิสระได้  แอปเปิ้ลสามารถรับประทานสด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด แต่เมล็ดมีสารไซยาไนด์ที่เป็นพิษอยู่ อาจเป็นอันตรายได้หากรับประทานเข้าไปปริมาณมาก

แอปเปิ้ล หรือผลิตภัณฑ์จากแอปเปิ้ลจึงช่วยให้ลำไส้สุขภาพดีไปพร้อมๆ กับเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้   



 องุ่น 


เวลาที่รับประทานองุ่นเข้าไปแล้วจะเหมือนกับเราได้ตรวจเช็คทำงานอวัยวะต่างๆ เพราะองุ่นจะทำหน้าที่ล้าง ซ่อม แถมยังบำรุงอวัยวะภายในด้วย ที่สำคัญองุ่นยังช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการแก่ชรา ทำให้ผิวพรรณสดชื่น กระจ่างใส และป้องกันสาเหตุการเกิดโรคอื่นๆ ที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ โดยมีการทดลองพบว่า ในส่วนของเนื้อองุ่น เปลือกองุ่น และเมล็ดองุ่นนั้นสามารถต้านอนุมูลอิสระได้


สับปะรด

ผลไม้ร้อยตาที่มีเอนไซม์สูงมาก ช่วยทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวได้เร็วขึ้น จึงช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้สับปะรดยังช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหาร ช่วยการทำงานของต่อมไร้ท่อและช่วยขับน้ำมูกได้เป็นอย่างดี



แตงโม 

เนื้อของแตงโมช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทั้งขับออกมาในรูปของปัสสาวะและอุจจาระ  มีการวิจัยที่ทำการทดลองในหนู พบว่า น้ำจากแตงโมมีผลทำให้เกิดการป้องกัน หรือยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย



มะละกอ 

มีเอนไซม์ชื่อปาเปน ที่มีลักษณะคล้ายกับน้ำย่อยเปปซินในกระเพาะอาหารจะช่วยทำความสะอาดลำไส้และช่วยย่อยอาหารได้ดี ข้อดีของมะละกออีกอย่างคือ ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ด้วย


 มะม่วง 

ผลมะม่วงประกอบด้วยส่วนผสมของสีต่าง ๆ เช่น เขียว เหลือง และแดง  รสชาติหวาน เปรี้ยว และมัน แตกต่างกันตามสายพันธุ์ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก  มีงานวิจัยเปรียบเทียบการต้านอนุมูลอิสระของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้  เขียวเสวย และแก้ว พบว่า มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระใกล้เคียงกัน 

อย่างไรก็ตาม แม้ผลไม้เหล่านี้จะอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ หลายชนิด  แต่ควรรับประทานด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากผลไม้บางชนิดที่มีน้ำตาลสูงโดยเฉพาะเมื่อสุก เช่น มะม่วงสุก ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง หรือรับประทานในปริมาณน้อย เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2557), ปริมาณน้ำตาลในผลไม่ไทย.(http://nutrition.anamai.moph.g...)
ศิริธร ศิริอมรพรรณ. (2551), การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในมะม่วง กล้วย และมะละกอ (elibrary.trf.or.th/)
Yusuf Yilmaz, Antioxidant Activity and Phenolic Content of Seed, Skin and Pulp Parts of 22 Grape (Vitis vinifera L.) Cultivars (4 Common and 18 Registered or Candidate for Registration). Journal of Food Processing and Preservation ISSN 1745-4549 (https://www.researchgate.net), 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กระวาน
กระวาน

สรรพคุณของกระวานมีอะไรบ้าง? มีวิธีใช้ที่ถูกต้องอย่างไร?

อ่านเพิ่ม