กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Pantoprazole (แพนโทพราโซล)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

สรรพคุณของยา Pantoprazole

ยา Pantoprazole ใช้สำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เช่น อาการกรดไหลย้อน (Acid reflux)

ยา Pantoprazole เป็นยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors หรือเรียกย่อว่ากลุ่ม PPIs โดยจะออกฤทธิ์ลดการผลิตกรดจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนยอดอก (Heartburn) อาการกลืนลำบาก และอาการไอเรื้อรังได้ ยายังช่วยในการหายของแผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลใหม่ และอาจช่วยป้องกันมะเร็งของหลอดอาหารด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีใช้ยา Pantoprazole

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

ให้รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปจะรับประทานวันละ 1 ครั้ง ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาจะขึ้นกับสภาวะโรคและการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ

ถ้าคุณใช้ยานี้ในรูปแบบยาเม็ด คุณอาจรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ โดยให้กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามหักแบ่ง บด หรือเคี้ยวเม็ดยา เพราะจะทำให้ยาถูกทำลายได้

ถ้าคุณใช้ยานี้ในรูปแบบยาแกรนูล (Granules) คุณต้องรับประทานยานี้ก่อนอาหาร 30 นาที โดยการเปิดซองยาและผสมแกรนูลยาในน้ำแอปเปิ้ลหรือซอสแอปเปิ้ล ห้ามผสมยากับอาหารอื่น หรือของเหลวอื่น ห้ามบดหรือเคี้ยวแกรนูลยา

ในการผสมยาให้โรยยาแกรนูลลงในซอสแอปเปิ้ล 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) แล้วกลืนส่วนผสมทั้งหมดทันที (ภายใน 10 นาที) แล้วจิบน้ำตามเล็กน้อย หรือคุณอาจผสมยาแกรนูลลงในน้ำแอปเปิ้ล 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) ในถ้วยขนาดเล็ก คนนาน 5 วินาที และกลืนส่วนผสมทั้งหมดทันที และเพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้รับยาครบถ้วน ให้กลั้วถ้วยผสมยานั้นด้วยน้ำแอปเปิ้ลอีก 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วกลืน เพื่อให้ยาแกรนูลทั้งหมดที่ตกค้างในถ้วยถูกกลืนจนหมด ห้ามเตรียมส่วนผสมไว้ล่วงหน้า แต่ให้เตรียมเป็นมื้อต่อมื้อและรับประทานหลังเตรียมทันที

ถ้าคุณต้องได้รับยาแกรนูลผ่านทางสายยางให้อาหาร (Nasogastric tube หรือ Gastric tube) ให้สอบถามบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับวิธีในการผสมยาและการให้ยาอย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางกรณีที่จำเป็น อาจต้องรับประทานยาลดกรดร่วมกับยา Pantoprazole ด้วย และถ้าต้องรับประทานยา Sucralfate ร่วมด้วย ให้รับประทานยา Pantoprazole อย่างน้อย 30 นาทีก่อนรับประทานยา Sucralfate

ให้รับประทานยา Pantoprazole เป็นประจำทุกวันจึงจะได้ประโยชน์จากยาเต็มที่ เพื่อไม่ให้ลืมรับประทานยา แนะนำให้รับประทานในเวลาเดียวกันของทุกวัน และให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนครบระยะเวลาที่แพทย์สั่งแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม

ให้แจ้งแพทย์หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง และความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยาจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยานานขึ้น ให้สอบถามแพทย์ว่าคุณควรรับประทานยานี้นานเพียงใด

ผลข้างเคียงของยา Pantoprazole

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา Pantoprazoleได้แก่ ปวดศีรษะ หรือท้องเสีย ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ เพราะว่าแพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา

แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มีอาการของแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เช่น หัวใจเต้นเร็ว/หัวใจเต้นผิดจังหวะ/หัวใจเต้นช้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง มีอาการชัก
  • มีอาการของโรคลูปัส (Lupus) เช่น มีผื่นขึ้นที่จมูกและแก้ม มีอาการปวดข้อ หรืออาการปวดข้อที่เป็นอยู่แย่ลง

ยานี้อาจเป็นสาเหตุของโรคทางลำไส้ที่ร้ายแรงแต่พบได้น้อย คือมีอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ Clostridium difficile (Clostridium difficile-associated diarrhea) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่ดื้อยา อย่าใช้ยาแก้ท้องเสีย หรือยาในกลุ่ม opioid ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้ และให้แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการเหล่านี้: ท้องเสียต่อเนื่อง ปวดท้อง เกร็งท้อง อุจจาระมีมูก/มูกเลือดปน

ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors เช่น Pantoprazole อาจเป็นสาเหตุของการขาดวิตามินบี 12 ได้ (พบได้น้อย) โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นถ้าคุณรับประทานยานี้ทุกวันเป็นเวลานาน (3 ปีหรือนานกว่านั้น) ให้แจ้งแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการของการขาดวิตามินบี 12 เช่น อ่อนแรงผิดปกติ เจ็บลิ้น ชาหรือเสียวซ่าที่มือ หรือเท้า

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก มีอาการของโรคไต เช่น ปริมาณปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังในการใช้ยา Pantoprazole

ถ้าคุณแพ้ยา Pantoprazole หรือยาอื่นที่คล้ายๆ กัน เช่น Lansoprazole, Omeprazole หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Pantoprazole ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นโรคตับ, โรคลูปัส (Lupus)

อาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง ดังนั้นให้ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการดังนี้ แสบร้อนยอดอกร่วมกับอาการเวียนศีรษะ/หน้ามืด/เหงื่อออก, ปวดเจ็บที่หน้าอก/ขากรระไกร,แขน,หัวไหล่ (โดยเฉพาะถ้ามีอาการหายใจถี่ เหงื่อออกผิดปกติร่วมด้วย) น้ำหนักลดผิดปกติ

ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors เช่น Pantoprazole อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะถ้าใช้ยานี้เป็นเวลานาน ใช้ยาขนาดสูง และเป็นผู้สูงอายุ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีในการป้องกันการสูญเสียกระดูกหรือกระดูกหัก เช่น โดยการรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ โดยให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยานี้ขณะตั้งครรภ์

ยา Pantoprazole ผ่านไปยังน้ำนมได้ จึงให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

การใช้ยา Pantoprazole ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

รายการยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Pantoprazole:

  • Rilpivirine
  • Atazanavir, Nelfinavir
  • Acalabrutinib
  • Capecitabine
  • Ledipasvir, Velpatasvir
  • Methotrexate
  • Posaconazole ชนิดยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension)
  • ยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Kinase บางรายการ (Selected Kinase Inhibitors)
  • Saquinavir
  • ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Cephalosporins บางรายการ
  • Mycophenolate Mofetil
  • Raltegravir
  • Itraconazole, Ketoconazole

การได้รับยา Pantoprazole เกินขนาด

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Pantoprazole เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669

หมายเหตุ

ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ถ้าแพทย์สั่งยานี้ให้คุณใช้เป็นประจำเป็นระยะเวลานาน อาจต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจทางการแพทย์เป็นระยะเพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงจากยา เช่น ตรวจระดับแมกนีเซียมในเลือด, ตรวจระดับวิตามินบี 12 ซึ่งคุณต้องไปพบแพทย์ตามนัด

หากลืมรับประทานยา Pantoprazole

ถ้าคุณลืมรับประทานยานี้ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากนึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

การเก็บรักษายา Pantoprazole

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำ เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pantoprazole – Oral Route (https://www.mayoclinic.org/dru...)
Pantoprazole (https://medlineplus.gov/drugin...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)