กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Quercetin (เควอซิทิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

ข้อมูลภาพรวมของเควอซิทิน

เควอซิทิน (Quercetin) เป็นรงควัตถุที่พบในพืช (plant pigment) (flavonoid) และอาหารหลายชนิด เช่นไวน์แดง, หัวหอม, ชาเขียวแอปเปิ้ล, เบอร์รี่, แปะก๊วย, เซนจอห์นเวิร์ต (St. John's wort), ต้นเอลเดอร์อเมริกา (American elder), และอื่น ๆ ในชาบักวีท (Buckwheat) เองก็มีเควอซิทินปริมาณมากเช่นกัน 

เนื่องจาก Quercetin เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่สูง จึงนิยมนำ สาร Quercetin มาใช้เป็นยาเพื่อป้องกันโรคทางระบบหลอดเลือด และหัวใจ รวมถึงใช้ในการป้องกันการอักเสบ และอาการแพ้ต่างๆ อีกด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เควอซิทินออกฤทธิ์อย่างไร?

เควอซิทิน เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้าน ออกซิเดชั่นสูงที่สุด มีมากในหัวหอม หอมแดง และพืชตระกูลถั่ว ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น ในหลอดเลือด และป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด ลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันแอลดีแอล (LDL) จากการทดลองกลไกที่สำคัญในการทำงานของหลอดเลือด หัวใจและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง แล้วยังยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์ และรวมถึงการทำให้เกิดอะพ็อพโทซิส (apoptosis) หรือการตายของเซลล์ในการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติได้

การใช้และประสิทธิภาพของเควอซิทิน

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาร Quarcetin เป็นจำนวนมาก แต่ยังเป็นเพียงการศึกษาระยะสั้นและขนาดเล็ก จึงยังต้องมีการรวบรวมข้อมูลและการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษาของ Quarcetin ต่อไป

ตัวอย่างการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับคุณสมบัติทางยาของ Quarcetin

  • โรคหัวใจ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยเควอซิทินอย่างเช่นชา, หัวหอม, และแอปเปิ้ลอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจของผู้สูงอายุได้ อย่างไรก็ตามการทานอาหารเสริมเควอซิทินทุกวันกลับไม่อาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจของผู้ที่มีสุขภาพดีแต่อย่างใด
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานเควอซิทินอาจลดโอกาสติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงได้
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้อาหารเสริมเควอซิทินในระยะสั้นไม่อาจลดระดับคอเลสเตอรอลไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein (LDL) cholesterol) ที่ไม่ดี หรือเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (high-density lipoprotein (HDL) cholesterol) ที่ดีได้แต่อย่างใด
  • การปลูกถ่ายไต งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเควอซิทิน 20 mg กับเคอร์คูมิน (curcumin) 480 mg หนึ่งหรือสองครั้งต่อวันเริ่มจาก 24 ชั่วโมงของการปลูกถ่ายไตและต่อเนื่องนาน 1 เดือนร่วมกับยาต้านการปฏิเสธอวัยวะใหม่จะช่วยให้การทำงานของไตใหม่มีมากขึ้น
  • มะเร็งปอด งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการบริโภคเควอซิทินปริมาณสูงจากอาหารอาจช่วยลดโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะกับผู้ชายที่สูบบุหรี่ได้
  • มะเร็งรังไข่ การศึกษาด้านประชากรชิ้นหนึ่งไม่พบความเชื่อมโยงของการบริโภคเควอซิทินจากอาหารกับโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่แต่อย่างใด
  • มะเร็งตับอ่อน งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานอาหารที่มีเควอซิทินปริมาณสูงอาจลดโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนในผู้ชายที่สูบบุหรี่โดยเฉพาะ
  • อาการเจ็บปวดและบวมที่ต่อมลูกหมาก การทานเควอซิทินอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ แต่ไม่อาจช่วยแก้ไขปัญหาการขับถ่ายของผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้
  • หอบหืด (Asthma) 
  • มะเร็ง
  • ต้อกระจก (Cataracts)
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome (CFS))
  • เบาหวาน (Diabetes)
  • โรคเก๊าท์ (Gout)
  • ภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis)
  • ไข้ละอองฟาง (Hay fever (allergic rhinitis))
  • อาการเจ็บปวดและอักเสบ
  • จิตเภท (Schizophrenia)
  • แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • การติดเชื้อไวรัส
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของเควอซิทินเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของเควอซิทิน

เควอซิทินถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานในระยะเวลาอันสั้น เควอซิทินสามารถบริโภคอย่างปลอดภัยได้ในปริมาณที่ 500 mg สองครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์ แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าการใช้ในระยะยาวหรือในปริมาณมากจะส่งผลเช่นไร

เมื่อรับประทานเข้าไป เควอซิทินอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและชาที่มือและขาได้ อีกทั้งการบริโภคในปริมาณสูงก็อาจสร้างความเสียหายกับไตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อให้ทางเส้นเลือด (intravenously (by IV)) ในปริมาณที่เหมาะสม (น้อยกว่า 722 mg) จะถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัย โดยผลข้างเคียงของการใช้เควอซิทินรูปแบบนี้คือผิวแดง, เหงื่อออก, คลื่นไส้, อาเจียน, หายใจลำบาก, หรือเจ็บปวด ณ จุดที่ถูกเข็มแทง สำหรับการใช้เควอซิทินทางเส้นเลือดในปริมาณสูงถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากมีรายงานความเสียหายที่ไตเมื่อใช้ในปริมาณที่สูง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้เควอซิทิน ในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้เควอซิทินเพื่อความปลอดภัย

การใช้เควอซิทินร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้เควอซิทินร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

การทานเควอซิทินร่วมกับยาปฏิชีวนะบางกลุ่มอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะลง โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเควอซิทินอาจกันไม่ให้ยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์กำจัดแบคทีเรียได้ แต่ ณ ขณะนี้ยังคงไม่สามารถยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ได้ โดยตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่อาจตีกับเควอซิทินมีทั้ง  ciprofloxacin (Cipro), enoxacin (Penetrex), norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), sparfloxacin (Zagam), trovafloxacin (Trovan), และ grepafloxacin (Raxar)

  • Cyclosporin (Neoral, Sandimmune) กับเควอซิทิน

Cyclosporin (Neoral, Sandimmune) เป็นยาที่ถูกเปลี่ยนและทำลายลงโดยตับ ซึ่งเควอซิทินอาจลดความเร็วของการทำลายยา Cyclosporin (Neoral, Sandimmune) ของตับได้ ดังนั้นเควอซิทินอาจทำให้ฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยาตัวนี้มีมากขึ้นได้ ดังนั้นก่อนทานเควอซิทินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อคุณต้องใช้ยา Cyclosporin (Neoral, Sandimmune) อยู่

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับ (Cytochrome P450 2C8 (CYP2C8) substrates) กับเควอซิทิน

ยาบางตัวถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ วอซิทินอาจลดความเร็วของการทำลายยากลุ่มนี้ของตับลง ดังนั้นเควอซิทินอาจทำให้ฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้มีมากขึ้นได้ ก่อนทานเควอซิทินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อคุณต้องใช้กลุ่มนี้ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับมีทั้ง paclitaxel (Taxol), rosiglitazone (Avandia), amiodarone (Cordarone), docetaxel (Taxotere), repaglinide (Prandin), verapamil (Calan, Isoptin, Verelan), และอื่น ๆ

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับ (Cytochrome P450 2C9 (CYP2C9) substrates) กับเควอซิทิน

ยาบางตัวถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ วอซิทินอาจลดความเร็วของการทำลายยากลุ่มนี้ของตับลง ดังนั้นเควอซิทินอาจทำให้ฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้มีมากขึ้นได้ ก่อนทานเควอซิทินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อคุณต้องใช้กลุ่มนี้ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับมีทั้ง celecoxib (Celebrex), diclofenac (Voltaren), fluvastatin (Lescol), glipizide (Glucotrol), ibuprofen (Advil, Motrin), irbesartan (Avapro), losartan (Cozaar), phenytoin (Dilantin), piroxicam (Feldene), tamoxifen (Nolvadex), tolbutamide (Tolinase), torsemide (Demadex), warfarin (Coumadin), และอื่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับ (Cytochrome P450 2D6 (CYP2D6) substrates) กับเควอซิทิน

ยาบางตัวถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ วอซิทินอาจลดความเร็วของการทำลายยากลุ่มนี้ของตับลง ดังนั้นเควอซิทินอาจทำให้ฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้มีมากขึ้นได้ ก่อนทานเควอซิทินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อคุณต้องใช้กลุ่มนี้ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับมีทั้ง amitriptyline (Elavil), codeine, flecainide (Tambocor), haloperidol (Haldol), imipramine (Tofranil), metoprolol (Lopressor, Toprol XL), ondansetron (Zofran), paroxetine (Paxil), risperidone (Risperdal), tramadol (Ultram), venlafaxine (Effexor), และอื่น ๆ

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4) substrates) กับเควอซิทิน

ยาบางตัวถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายโดยตับ วอซิทินอาจลดความเร็วของการทำลายยากลุ่มนี้ของตับลง ดังนั้นเควอซิทินอาจทำให้ฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้มีมากขึ้นได้ ก่อนทานเควอซิทินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อคุณต้องใช้กลุ่มนี้ ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับมีทั้ง lovastatin (Mevacor), clarithromycin (Biaxin), cyclosporine (Neoral, Sandimmune), diltiazem (Cardizem), estrogens, indinavir (Crixivan), triazolam (Halcion), verapamil (Calan, Isoptin, Verelan), alfentanil (Alfenta), fentanyl (Sublimaze), losartan (Cozaar), fluoxetine (Prozac), midazolam (Versed), omeprazole (Prilosec), lansoprazole (Prevacid), ondansetron (Zofran), propranolol (Inderal), fexofenadine (Allegra), amitriptyline (Elavil), amiodarone (Cordarone), citalopram (Celexa), sertraline (Zoloft), ketoconazole (Nizoral), itraconazole (Sporanox), และอื่น ๆ มากมาย 

  • ยาที่เคลื่อนผ่านด้วยการสูบฉีดในเซลล์ (P-glycoprotein Substrates)) กับเควอซิทิน

ยาบางตัวจะเคลื่อนที่ตัวการสูบลงไปในเซลล์ วอซิทินอาจทำให้กระบวนการสูบฉีดนี้น้อยลงและเพิ่มปริมาณการดูดซึมของร่างกายขึ้น เควอซิทินอาจทำให้ฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้มีมากขึ้นได้ ดังนั้นก่อนทานเควอซิทินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเมื่อคุณต้องใช้กลุ่มนี้ ตัวอย่างยาที่เคลื่อนที่ด้วยการสูบฉีดในเซลล์มีทั้ง diltiazem (Cardizem), verapamil (Calan, Isoptin, Verelan), digoxin (Lanoxin) cyclosporine (Neoral, Sandimmune), saquinavir (Invirase), amprenavir (Agenerase), nelfinavir (Viracept), loperamide (Imodium), quinidine, paclitaxel (Taxol), vincristine, etoposide (VP16, VePesid), cimetidine (Tagamet), ranitidine (Zantac), fexofenadine (Allegra), ketoconazole (Nizoral), itraconazole (Sporanox), และอื่น ๆ 

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับเควอซิทินนั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของเควอซิทิน ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้เควอซิทินทุกครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cathy Wong, The Health Benefits of Quercetin (https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-quercetin-89071), 03 January 2020.
Ryan Raman, MS, RD, What Is Quercetin? Benefits, Foods, Dosage, and Side Effects (https://www.healthline.com/nutrition/quercetin), 27 June 2019.
Beth Sissons, What are the benefits of quercetin? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324170.php), 14 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)