Omeprazole เป็นยาลดการหลั่งกรดที่อยู่ในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) ใช้ในการรักษาแผลในทางเดินอาหาร เช่น แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นหรือแผลในกระเพาะอาหาร หลอดอาหารอักเสบ(erosive esophagitis) อาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน และกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่กระเพาะอาหารผลิตกรดมากเกินไป
นอกจากนั้น ยังใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (H. pylori) อีกด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คำเตือนในการใช้ยาโอมีพราโซล (Omeprazole)
ยาโอมีพราโซล(Omeprazole) เป็นยาที่ถูกจัดในบัญชียาหลักแห่งชาติทั้งรูปแบบเม็ดและยาฉีด มักถูกเลือกใช้ในการรักษาเป็นอันดับแรก และหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ไม่ว่าจะได้รับยาจากแพทย์ หรือซื้อเองก็ตาม ก็ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เพราะยาทุกชนิดล้วนมีผลข้างเคียง ดังนั้น ควรระมัดระวังในการใช้ และอ่านฉลากยารวมถึงคำเตือนต่างๆ ก่อนรับประทานทุกครั้ง
- ผู้ที่แพ้ยาโอมีพราโซล(Omeprazole) หรือยากลุ่มเบนซิมิดาโซล (Benzimidazole) เช่น อัลเบนดาโซล (Albendazole) และมีเบนดาโซล (Mebendazole) ไม่ควรใช้ยานี้
- สตรีมีครรภ์หรือผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- หญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทานโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะยานี้สามารถผ่านสู่น้ำนมและเป็นอันตรายต่อลูกได้
- ยาโอมีพราโซล(Omeprazole) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกเอว สะโพก และกระดูกสันหลังอาจแตกหรือหักได้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน หรือผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
- ยานี้อาจทำให้ขาดวิตามินบี 12 หากใช้ติดต่อนานเกิน 3 ปี ควรปรึกษาแพทย์หากต้องใช้ยาเป็นเวลานาน
- ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีรับประทานโดยไม่ได้รับการปรึกษาจากแพทย์
- ผู้ป่วยโรคตับ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน และผู้ที่มีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
- หากมีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร อาเจียนคล้ายเลือด อุจจาระเป็นเลือดหรือสีดำ เจ็บหน้าอกบ่อย แสบร้อนกลางอกมานานกว่าสามเดือน แสบร้อนกลางอกและหายใจดังวี้ด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง หรือคลื่นไส้ อาการเหล่านี้ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการประเมินอาการ และควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาโอมีพราโซล (Omeprazole)
ผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้
ผลข้างเคียงร้ายแรงที่ควรพบแพทย์ทันที
- มีผื่นขึ้น เป็นลมพิษ หรือมีอาการคัน
- มีอาการบวมที่ใบหน้า คอ ลิ้น ริมฝีปาก ตา มือ เท้า หรือหน้าแข้ง
- เสียงแหบ
- ลำบากในการหายใจหรือการกลืน
- เหนื่อยล้าอย่างแรง
- หัวใจเต้นเร็ว แรง ผิดปกติ
- วิงเวียนศีรษะหรือเวียนหัวอย่างรุนแรง
- กล้ามเนื้อกระตุก
- มีอาการชัก
- ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสั่นอย่างควบคุมไม่ได้
- ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ
- เป็นไข้
- ปวดช่องท้อง
ปฏิกิริยาของยาโอมีพราโซล (Omeprazole)
ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่รับประทาน ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อรับประทานเอง รวมถึงสมุนไพรและสารอาหารหรืออาหารเสริมต่างๆที่รับประทาน โดยเฉพาะยาต่อไปนี้
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยาแอมพิซิลลิน (Ampicillin)
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) มักจะเรียกว่า "ยาเจือจางเลือด" (blood thinner) เช่น ยาวาฟาริน (Warfarin) ยา rivaroxaban (Xarelto) และยา apixaban (Eliquis)
- ยาอะทาซานาเวียร์ (Atazanavir) เช่นยา Reyataz
- ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) เช่นยา diazepam (Valium)
- ยาซิลอสทาซอล (Cilostazol) เช่น ยา Pletaal
- ยาต้านเกล็ดเลือด (โคลพิโดเกรล - clopidogrel) เช่น ยา Plavix
- ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporin) เช่น Sandimmune
- ยาไดจอกซิน (Digoxin) เช่น Lanoxin
- ยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram) เช่น Chronol
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) มักจะเรียกว่า ยาขับน้ำ (water pills)
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารธาตุเหล็ก
- ยารักษาเชื้อรา คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) เช่น ยาไนโซรัล (Nizoral)
- ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เช่น Abitrexate
- ยาเนลฟินาเวียร์ (Nelfinavir)
- ยาฟีนิโทอิน (Phenytoin) เช่น Dilantin
- ยาซาควินาเวียร์ (Saquinavir) เช่น Invirase
- ยาทาโครลิมัส (tacrolimus) เช่น Prograf และ Advagraf
- ยาโวริโคนาโซล Voriconazole เช่น ยา Vfend และยาต้านเชื้อรา (antifungal หรือ anti-yeast) อื่นๆ
ขนาดของยาโอมีพราโซล (Omeprazole)
ยาโอมีพราโซล (Omeprazole)ชนิดยาแคปซูลชนิดปล่อยตัวยาช้า (delayed-release capsule) ขนาด 20 mg และ ยาฉีด ขนาด 40 mg/10 ml
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปริมาณยาOmeprazole สำหรับผู้ใหญ่โดยปกติ
- ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร หลอดอาหารอักเสบ และการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori ให้รับประทานขนาด 20-40 มิลลิกรัม (mg) ต่อวัน
- ใช้ป้องกันการมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ให้รับประทานขนาด 40 mg ต่อวัน
- ใช้รักษากลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome) ขนาดยาที่รับประทานอาจแตกต่างกันออกไป
- สำหรับยาที่ขายตามร้านขายยา (โดยไม่มีใบสั่งยา) ที่ผู้ป่วยใช้รักษาอาการเสียดท้องซึ่งสามารถใช้ได้นานถึง 4-8 สัปดาห์ ให้รับประทานยาได้ 20 mg ต่อวัน
สำหรับยาแคปซูลชนิดปล่อยตัวยาอย่างช้าๆนั้น ผู้ป่วยควรรับประทานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร ควรจะกลืนยาทั้งแคปซูลแล้วตามด้วยน้ำเปล่าหนึ่งแก้วเสมอ
การรับประทานยาโอมีพราโซล(Omeprazole) เกินขนาด
อาการที่เกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด ได้แก่
- คลื่นไส้อาเจียน
- หัวใจเต้นเร็ว
- เหงื่อออกมาก
- ผิวหนังแดง
- มองไม่ชัด
- รู้สึกมึนงง
- ปวดศีรษะ
- ปากแห้ง
หากคุณหรือคนใกล้ตัวรับประทานยาเกินขนาดสามารถติดต่อศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร. 1367
หากลืมรับประทานยาโอมีพราโซล(Omeprazole) ควรทำอย่างไร?
ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากกำลังจะถึงเวลาที่ต้องรับประทานยาครั้งถัดไป ให้ข้ามยาที่ลืมเม็ดนั้นได้เลย และไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าที่แพทย์สั่ง