กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะเหงื่อออกมาก

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 7 มิ.ย. 2023 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที
ภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะเหงื่อออกมากเป็นภาวะทั่วไปที่ผู้ที่เป็นจะมีเหงื่อออกมาในปริมาณมาก

การเหงื่อออกสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย หรือเกิดเฉพาะบางส่วนของร่างกาย โดยบริเวณที่มักจะมีเหงื่อออกคือ: รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้าและหน้าอก ขาหนีบ ทั้งสองด้านของร่างกายมักจะมีเหงื่อออกพร้อมกัน ยกตัวอย่างเช่นบนฝ่าเท้าหรือมือทั้งสองข้าง

การเหงื่อออกไม่ได้สื่อถึงภัยอันตรายที่มีต่อสุขภาพของคุณ มีเพียงสร้างความไม่สบายตัวหรืออับอายได้บ้าง อีกทั้งเหงื่อยังอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้จนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวลได้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4,073 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อะไรทำให้มีเหงื่อออกมาก?

ยังไม่มีอะไรบ่งชี้ว่าการเหงื่อออกแบบ “ปกติ” ควรเป็นอย่างไร แต่หากคุณรู้สึกว่าคุณเหงื่อออกมากเกินไปจนเหงื่อเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตของคุณ คุณอาจจะเป็นภาวะเหงื่อออกมากก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเป็นภาวะเหงื่อออกมากหากว่า:

  • คุณเลี่ยงการสัมผัสทางร่างกายอย่างเช่นการจับมือ เพราะว่าคุณกังวลเกี่ยวกับเหงื่อของตนเอง
  • คุณไม่ยอมทำกิจกรรมออกแรง อย่างเช่นการออกกำลังกายหรือการเต้นรำเพราะกลัวว่าเหงื่อจะออกมามาก
  • เหงื่อที่ออกมามากเกินรบกวนการทำงานของคุณ ยกตัวอย่างเช่นคุณหยิบจับเครื่องมือลำบากเพราะมือลื่นจากเหงื่อ
  • เหงื่อที่ออกมามากเกินส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ยกตัวอย่างการขับรถลำบากขึ้น
  • คุณต้องใช้เวลาจัดการกับเหงื่อมาก อย่างเช่นต้องใช้เวลาอาบน้ำบ่อย หรือต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าหลายครั้ง
  • คุณเริ่มไม่อยากพบปะผู้คนและมีความระมัดระวังตนเองเกินไป

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ไปพบแพทย์ทันทีหากว่าคุณรู้สึกว่าเหงื่อของตนเองเริ่มรบกวนกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตน หรือคุณเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ

ผู้ป่วยภาวะเหงื่อออกมากหลายคนจะรู้สึกอายกว่าจะไปพบแพทย์และเชื่อว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงภาวะนี้ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีการรักษาภาวะเช่นนี้อยู่

หากคุณมีเหงื่อออกตอนกลางคืนควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคภัยที่ร้ายแรงมากกว่า

แพทย์มักจะวินิจฉัยว่าคุณเป็นภาวะเหงื่อออกมากโดยสังเกตจากอาการต่าง ๆ ในบางครั้งคุณอาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4,073 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใครสามารถประสบกับภาวะเหงื่อออกมากได้บ้าง?

ภาวะเหงื่อออกมากเป็นภาวะทั่วๆ ไปที่คาดกันว่ามีผู้ป่วยภาวะนี้ 1 หรือ 3 คนจากทุกๆ 100 คน

ภาวะเหงื่อออกมากสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แต่สำหรับภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิมักจะเริ่มในช่วงวัยเด็กหรือทันทีที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

สาเหตุของภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะเหงื่อออกมากหลาย ๆ กรณีจะไม่พบสาเหตุที่แท้จริง และคาดกันว่าเป็นเพราะปัญหาที่ระบบประสาทที่ควบคุมการเหงื่อออกของร่างกาย ซึ่งจะเรียกภาวะเช่นนี้ว่าภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิ

ภาวะเหงื่อออกมากที่พบสาเหตุจะเรียกว่าภาวะเหงื่อออกมากทุติยภูมิ ซึ่งมักจะเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น: การตั้งครรภ์ หรือหมดประจำเดือน ความกังวล การใช้ยาบางประเภท ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การทำงานมากเกินไปของต่อมไทรอยด์ การติดเชื้อ

ภาวะเหงื่อออกมากสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์จะพบสาเหตุมาจากอะไร

1. ภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิ

ภาวะเหงื่อออกมากที่ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดจะเรียกว่าภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แม้จะไม่ทราบว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะประเภทนี้ แต่ก็คาดกันว่าเป็นผลมาจากปัญหาของระบบประสาทที่เรียกว่าระบบประสาทซิมพาเทติก และพันธุกรรมก็อาจเป็นอีกตัวแปรหนึ่งเช่นกัน

ระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทซิมพาเทติกมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนมากที่อยู่นอกเหนือจิตใจ อย่างเช่นการเคลื่อนที่ของอาหารในร่างกายและการเคลื่อนที่ของปัสสาวะที่ออกจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ

ระบบประสาทซิมพาเทติกยังทำหน้าที่เหมือนปรอทวัดไข้ หากร่างกายมีความร้อนมากเกินไป ระบบนี้จะส่งสัญญาณจากสมองไปยังต่อมเหงื่อทั่วร่างกายให้ผลิตเหงื่อออกมาเพื่อสร้างความเย็นแก่ผิวหนังและลดอุณหภูมิร่างกายลง

นักวิจัยพบว่าต่อมเหงื่อชนิดพิเศษที่เรียกว่า eccrine glands มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะเหงื่อออกมาก ซึ่งต่อมดังกล่าวจะมีมากที่รักแร้ มือ ฝ่าเท้า และใบหน้า จึงเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ว่าเหตุใดบริเวณเหล่านี้มักจะได้รับผลกระทบจากภาวะเหงื่อออกมากกว่าที่อื่น

คาดกันว่ากรณีภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิ สมองจะส่งสัญญาณไปยัง eccrine glands แม้ว่าจะไม่มีความจำเป็นต้องทำให้ร่างกายเย็นลงแต่อย่างใด

พันธุกรรม

ภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิบางกรณีอาจสืบทอดกันในสายครอบครัวได้ด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่กล่าวได้ว่าการกลายพันธ์ของยีนก็มีส่วนด้วย

การกลายพันธ์ของพันธุกรรมคือภาวะที่ซึ่งข้อมูลในเซลล์ของคุณเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนขัดขวางการทำงานปกติของร่างกาย การกลายพันธ์ของพันธุกรรมบางกรณีสามารถส่งต่อจากพ่อแม่สู่ลูกได้ด้วย

2. ภาวะเหงื่อออกมากทุติยภูมิ

หากแพทย์สามารถวินิจฉัยพบสาเหตุของภาวะเหงื่อออกมาก จะเรียกว่าภาวะเหงื่อออกมากทุติยภูมิ

ภาวะเหงื่อออกมากทุติยภูมิมีตัวกระตุ้นหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น: การตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน ภาวะวิตกกังวล ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การทำงานมากเกินไปของต่อมไทรอยด์ ยาบางประเภท เช่นยาต้านภาวะซึมเศร้า โพรพราโนโลล พิโลคาร์พิน กับเบทาเนโคล เมาเหล้าหรือยาเสพติด หรืออยู่ในช่วงเลิกฤทธิ์ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ (หากติด) การติดเชื้อ อย่างเช่น HIV และวัณโรค โรคพาร์กินสัน ความผิดปรกติของเซลล์เม็ดเลือดหรือไขกระดูก อย่างเช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ภาวะเหงื่อออกมากทุติยภูมิมักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันไม่เหมือนภาวะปฐมภูมิ และมักจะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย

การรักษาภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะเหงื่อออกมากเป็นภาวะที่ทำการรักษาได้ยากและอาจต้องใช้เวลาในการหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ

แพทย์มักจะเริ่มจากการรักษาที่มีการแทรกแซงน้อยที่สุดก่อน เช่นการใช้ยาระงับเหงื่อชนิดแรง หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่น: การสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ เบา ๆ เลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ อย่างแอลกอฮอล์หรืออาหารที่มีรสเผ็ด การสวมเสื้อดำหรือขาวเพื่อลบร่องรอยของการเหงื่อออกให้มากที่สุด

หากวิธีการข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะลองวิธีรักษาอื่นแทน อย่างเช่นการรักษาไอออนโทโฟเรซิส (บริเวณที่มีเหงื่อออกมากจะถูกรักษาด้วยกระแสไฟฟ้ากำลังอ่อนผ่านน้ำหรือแผ่นเปียก) การฉีดสารพิษโบทูลินัม หรือแม้แต่การผ่าตัดรักษาในบางกรณี

ภาวะเหงื่อออกมากมักจะเป็นภาวะระยะยาว แต่บางคนก็อาจจะมีอาการดีขึ้นตามกาลเวลา และส่วนมากแล้วการรักษาที่มีจะสามารถควบคุมปัญหาได้

1. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

การเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตไม่สามารถรักษาภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิได้ (ภาวะเหงื่อออกมากที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด) แต่สามารถประคองอาการและช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่คุณได้ โดยมีคำแนะนำดังนี้:

  • เลี่ยงกิจกรรมที่คุณตระหนักดีอยู่แล้วว่าจะทำให้คุณเหงื่อออกมาก อย่างเช่นการทานอาหารรสเผ็ดและการดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้สารระงับเหงื่อบ่อย ๆ แทนการใช้ยาดับกลิ่นกาย
  • เลี่ยงการสวมใส่กางเกงหรือเสื้อผ้าแน่น ๆ คับ ๆ
  • สวมเสื้อผ้าสีขาวหรือดำเพื่อลบร่องรอยของเหงื่อให้เหลือน้อยที่สุด
  • ใช้ที่ปิดรักแร้เพื่อดูดซับเหงื่อและปกป้องไม่ให้เกิดคราบบนเสื้อผ้า
  • สวมถุงเท้าดูดความชื้น อย่างถุงเท้าผ้าไฟเบอร์หนา ๆ หรือถุงเท้ากีฬาที่ออกแบบมาเพื่อดูดความชื้นโดยเฉพาะ
  • เลี่ยงการสวมเสื้อผ้าหรือถุงเท้าที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ และทำการเปลี่ยนถุงเท้าอย่างน้อยสองครั้งต่อวัน
  • พยายามสวมรองเท้าหนัง และพยายามเปลี่ยนรองเท้าที่ใส่ในแต่ละวันไม่ซ้ำกัน

2. สารระงับเหงื่อชนิดแรง

หากว่าสารระงับเหงื่อทั่วไปไม่สามารถควบคุมเหงื่อของคุณได้ แพทย์อาจจะจ่ายสารระงับเหงื่อที่แรงขึ้นแก่คุณ

สารระงับเหงื่อจะประกอบด้วยอะลูมิเนียมคอลไรด์ที่สามารถเข้าไปอุดต่อเหงื่อได้ คุณจำต้องใช้สารนี้ทุกคืนก่อนจะเข้านอน และล้างออกในตอนเช้า

ผลข้างเคียงทั่วไปของอะลูมิเนียมคอลไรด์คือการระคายเคืองหรือคันเล็กน้อย ณ ตำแหน่งที่ทาสาร การใช้สารระงับเหงื่อไม่บ่อยมากจะช่วยลดความระคายเคืองลงได้ อีกทั้งการใช้สารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำและใช้สารแทนสบู่ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

3. ยาแอนติโคลิเนอร์จิก

คุณอาจได้รับยาที่เรียกว่ายากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก หรือแอนติมัสคารินิกมาเพื่อควบคุมปิดกั้นผลจากสารเคมีที่เรียกว่าอะเซทิลโคไลน์ที่ระบบประสาทใช้เพื่อกระตุ้นต่อมเหงื่อ

ยาแอนติโคลิเนอร์จิกมักจะเป็นยาเม็ดหรือสารละลายที่ใช้ทาบนบริเวณที่มีอาการ แต่ก็มักไม่ใช้ในการรักษาภาวะเหงื่อออกมากเท่าไรนัก และส่วนมากก็ไม่ได้ถูกจดทะเบียนไว้ว่าได้ผลกับการรักษาภาวะนี้ แต่กระนั้นผู้ป่วยหลายรายก็ตอบสนองดีต่อยาตัวนี้อย่างมาก

ยาโพรแพนเทลินโบรมินด์เป็นยาในกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิกที่ถูกจดทะเบียนไว้ว่าใช้เพื่อการรักษาภาวะเหงื่อออกมาก แต่สำหรับยากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิกที่ไม่ได้ถูกจดทะเบียนแพทย์อาจจะจ่ายให้คุณตามความเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่นยาออกซีบูไทนินกับไกลโคไพร์โรเนียมโบรเมียม

ผลข้างเคียงของยากลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิกมีทั้งปากแห้ง การมองเห็นไม่ชัดเจน ปวดท้องบิด ท้องผูก และปัสสาวะลำบาก

4. การส่งตัวไปพบแพทย์ผิวหนัง

หากว่าวิธีปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจส่งตัวคุณไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติมตั้งแต่การใช้ไอออนโทโฟเรซิส การใช้สารพิษโบทูลินัม หรือแม้แต่การผ่าตัด

5. ไอออนโทโฟเรซิส

ไอออนโทโฟเรซิสสามารถช่วยรักษาภาวะเหงื่อออกมากที่มือและเท้าได้ และยังสามารถใช้กับบริเวณรักแร้ได้เช่นกันแม้จะมีผลน้อยกว่า

ไอออนโทโฟเรซิสคือการรักษาผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้ากำลังอ่อนที่ไหลผ่านน้ำหรือแผ่นเปียกเพื่อปิดกั้นต่อมเหงื่อ

หากคุณต้องทำการรักษามือหรือเท้า แพทย์จะนำอวัยวะของคุณจุ่มลงอ่างที่มีน้ำอยู่และปล่อยกระแสไฟฟ้ากำลังอ่อนใส่น้ำ หากต้องทำการรักษารักแร้ จะมีการใช้แผ่นปะเปียกที่รักแร้ของคุณก่อนปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านแผ่นนั้น

การรักษานี้ไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ แต่กระแสไฟฟ้าก็อาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวหรือระคายเคืองที่ผิวหนังในระยะสั้น ๆ ได้

การรักษาไอออนโทโฟเรซิสแต่ละครั้งจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 20 ถึง 30 นาที และคุณต้องเข้ารับการรักษา 2 ถึง 4 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการเหงื่อออกมากของคุณควรจะดีขึ้นภายในหนึ่งหรือสองอาทิตย์ หลังจากนั้นการรักษาจะเปลี่ยนเป็นทุก ๆ หนึ่งถึงสี่สัปดาห์แทน ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการคุณ

ไอออนโทโฟเรซิสมักจะมีประสิทธิภาพมากหากคุณมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตามนัด

6. การฉีดพิษบูโลทินัม

พิษบูโทลินัมเป็นพิษที่ใช้ฉีดเข้าผิวหนัง ณ ตำแหน่งที่มีอาการเหงื่อออกมากเพื่อลดปริมาณเหงื่อลงด้วยการยับยั้งสัญญาณสมองถึงต่อมเหงื่อ

ต้องมีการฉีดตำแหน่งที่มีอาการประมาณ 15-20 ครั้ง และกระบวนการทั้งหมดมักใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

ผลจากการฉีดพิษจะคงอยู่ได้หลายเดือน ซึ่งหลังจากนั้นอาจมีการรักษาซ้ำอีกครั้งตามความจำเป็น

ผลข้างเคียงของพิษบูโทลินัมมีดังนี้: ผิวหนังที่ถูกฉีดแดง เจ็บ หรือคัน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และร้อนวูบวาบหลังจากถูกฉีด ส่วนอื่นของร่างกายมีเหงื่อออกมากแทน กล้ามเนื้อรอบบริเวณที่ถูกฉีดอ่อนแรง

ผลข้างเคียงส่วนมากจะมีระยะเวลาสั้น หรือจะหายไปเองพร้อมกับฤทธิ์ของพิษ

7. การผ่าตัดและกระบวนการอื่นๆ

บางกรณี ภาวะเหงื่อออกมากจะมีความรุนแรงเป็นพิเศษจนการรักษาที่กล่าวมาไม่ได้ผล ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดแทน

7.1 การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาเหงื่อออกมือ (Bilat Uniportal Video assisted thoracoscopic symphatectomy)

การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาเหงื่อออกมือ (Bilat Uniportal Video assisted thoracoscopic symphatectomy) เป็นวิธีที่ช่วยรักษาเหงื่อออกมือที่ต้นเหตุ และเป็นวิธีเดียวในปัจจุบันที่ช่วยบรรเทาอาการเหงื่อออกมือได้อย่างถาวร

การผ่าตัดด้วยเทคนิคส่องกล้องช่วยให้การผ่าตัดค่อนข้างแม่นยำ แผลเล็ก เจ็บตัวน้อย ไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน และคนไข้ฟื้นตัวไว

7.2 การผ่าตัดจี้เส้นประสาทที่ทำงานผิดปรกติ (ETS)

การผ่าตัดจี้เส้นประสาทที่ทำงานผิดปรกติ (ETS) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาภาวะเหงื่อออกมากที่ดำเนินการกันอย่างแพร่หลายที่สุด และมักดำเนินการกับภาวะบนฝ่ามือหรือรักแร้

จะมีการกรีดเข้าไปทางด้านข้างของหน้าอกไปยังเส้นประสาทที่ควบคุมเหงื่อของบริเวณที่มีอาการเพื่อทำการตัดหรือคลิปออก ซึ่งการทำเช่นนี้จะหยุดสัญญาณที่ส่งไปยังต่อมเหงื่อได้ทันที การผ่าตัดนี้ต้องดำเนินการโดยใช้ยาสลบกับคนไข้ และต้องดำเนินการกับทั้งสองด้านของร่างกาย

ทางสถาบันเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ (NICE) แนะนำว่า ETS สามารถใช้เพื่อรักษาภาวะเหงื่อออกที่รักแร้หรือมือมากได้ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการผ่าตัดนี้ แพทย์จะต้องอธิบายถึง:

  • ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของ ETS
  • ความเสี่ยงที่จะมีการเหงื่อออกมากที่ตำแหน่งอื่นของร่างกายแทน
  • โอกาสที่กระบวนการจะล้มเหลวและไม่สามารถลดเหงื่อได้
  • ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกรุนแรงจึงควรทำการพิจารณาตัวเลือกนี้ให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจเข้ารับการรักษา

ผลข้างเคียงของ ETS มีดังนี้:

  • เหงื่อออกที่ใบหน้าและคอหลังจากรับประทานอาหาร: เรียกว่าภาวะเหงื่อออกขณะรับประทานอาหาร และมักจะเกิดกับผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้มากกว่าครึ่ง
  • การเลือดออกเข้าไปยังอกระหว่างการผ่าตัด
  • อากาศถูกขังอยู่ภายในอก (ภาวะปอดรั่ว) ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหน้าอกและหายใจลำบาก
  • ความเสียหายที่ระบบประสาทจนทำให้เปลือกตาบนตก ซึ่งอาจเป็นภาวะถาวรได้

7.3 การกำจัดหรือนำต่อมเหงื่อออก

ภาวะเหงื่อออกใต้วงแขนมากสามารถรักษาได้ด้วยกระบวนการทำลายหรือนำต่อมเหงื่อที่รักแร้ออก

ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายวิธีดังนี้:

  • การกรีดเข้ารักแร้และเลาะหรือตัดต่อมเหงื่อออก
  • การปล่อยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทำลายต่อมเหงื่อ
  • การสอดอุปกรณ์เลเซอร์ทำลายต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังผ่านรอยกรีดขนาดเล็ก
  • กระบวนการเหล่านี้มักดำเนินการโดยใช้ยาชากับคนไข้ ทำให้คุณไม่ได้รับความรู้สึกบริเวณรักแร้แต่อย่างใด
  • กระบวนการเหล่านี้ยังนับเป็นวิธีกำจัดภาวะเหงื่อออกใต้วงแขนมากถาวรอีกด้วย แต่ก็มักไม่ค่อยดำเนินการกันเท่าไรนัก

กระบวนการนี้อาจไม่ได้ผลกับทุกคน และยังคงเป็นหัตถการที่ใหม่อยู่มาก ซึ่งหมายความว่ายังคงขาดหลักฐานในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผลระยะยาวอยู่

การรักษาภาวะวิตกกังวลจากภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะกังวลไม่ได้เป็นผลมาจากภาวะเหงื่อออกมากปฐมภูมิแต่อย่างใด แต่ก็อาจทำให้สถานการณ์ที่คุณต้องเผชิญเลวร้ายลงได้

คุณอาจขาดความมั่นใจในตนเองจนเกิดความกังวลภายใต้สถานการณ์บางอย่าง อย่างเช่นเมื่อต้องพบปะผู้คนหรือต้องอยู่ในห้องที่แออัด ความกังวลที่รู้สึกจะทำให้คุณมีเหงื่อออกมากขึ้นไปอีก

หากความกังวลทำให้ภาวะเหงื่อออกมากรุนแรงขึ้น อาจมีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (CBT) เข้ามาช่วย ซึ่งแพทย์มักจะไม่ใช้ยารักษาภาวะวิตกกังวลเนื่องจากจะทำให้อาการเหงื่อออกรุนแรงมากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะเหงื่อออกมาก

ภาวะเหงื่อออกมากมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของคุณ แต่ก็สามารถนำไปสู่ปัญหาทางร่างกายและทางอารมณ์ได้

1. การติดเชื้อรา

ภาวะเหงื่อออกมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราโดยเฉพาะที่เท้า และส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อราที่เล็บและโรคน้ำกัดเท้า เนื่องจากเหงื่อที่ออกมาจะถูกรองเท้าหรือถุงเท้าซับเข้าไปจนกลายเป็นสภาพแวดล้อมในอุดมคติของบรรดาเชื้อรานั่นเอง

การติดเชื้อราสามารถรักษาได้ด้วยครีมต้านเชื้อรา สำหรับกรณีที่ติดเชื้อรารุนแรงอาจต้องใช้ยาเม็ดหรือแคปซูลต้านเชื้อราแทน

2. ภาวะผิวหนัง

ภาวะเหงื่อออกมากจะทำให้คุณอ่อนไหวต่อภาวะผิวหนังบางประเภท เช่น: โรคหูด: ผิวหนังมีปุ่มแข็งขนาดเล็กขึ้นมา และเป็นเพราะเชื้อไวรัส HPV ฝี: ตุ่มแดงเหลืองบวมบนผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนเกิดการติดเชื้อขึ้น โรคผิวหนังอักเสบ: ภาวะโรคอาจจะทรุดลงจากการมีเหงื่อมากได้

3. กลิ่นตัว

แม้ว่าคุณจะเป็นภาวะเหงื่อออกมาก ก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณจะต้องมีกลิ่นตัวแรงเสมอไป เพราะว่าภาวะเหงื่อออกมากไม่ได้ส่งผลต่อต่อมเหงื่อ aprocrine ที่มีหน้าที่ผลิตเหงื่อที่มีกลิ่น

อย่างไรก็ตามหากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปยังต่อมเหงื่อจะทำให้เกิดกลิ่นกายขึ้นได้ อีกทั้งการรับประทานอาหารเผ็ดและดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เหงื่อที่ผลิตออกจากต่อม eccrine มีกลิ่นได้

คุณสามารถป้องกันหรือลดกลิ่นกายได้ด้วยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ชีวิตอย่างเช่นการใช้สารระงับเหงื่อบ่อย ๆ และใช้ผ้ารองเหงื่อบริเวณรักแร้ เป็นต้น

ผลกระทบทางอารมณ์

ผลกระทบจากการอาศัยร่วมกับภาวะเหงื่อออกมากอาจรุนแรงได้เนื่องจากผู้ป่วยมักจะไม่มีความสุขและในผู้ป่วยบางคนอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วย สัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้ามีดังนี้: รู้สึกตกต่ำ ซึม หรือสิ้นหวังในช่วงเดือนที่ผ่าน ๆ มา หมดความสนใจหรือความสนุกกับบางสิ่งในช่วงเดือนที่ผ่านมา คุณไม่ควรเพิกเฉยต่อสุขภาพจิตของคุณ และรีบไปพบแพทย์ทันทีที่คุณรู้สึกซึมเศร้า


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กลิ่นตัวเหม็น อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณหมดความมั่นใจในตนเอง
กลิ่นตัวเหม็น อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณหมดความมั่นใจในตนเอง

สาเหตุของปัญหากลิ่นตัวแรงเกิดมาจากอะไรกันแน่ มีวิธียับยั้งกลิ่นเหล่านี้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณของโรคอะไร
เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณของโรคอะไร

รวมสาเหตุที่ทำให้เหงือกออกมือ

อ่านเพิ่ม
เหงื่อออกง่าย เกิดจากอะไร?
เหงื่อออกง่าย เกิดจากอะไร?

สำรวจข้อมูลภาวะเหงื่อออกมาก เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม