กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Parkinsonism (พาร์กินโซนิซึม)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

พาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism) หมายถึง กลุ่มอาการทางประสาทที่ทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง โดยโรคพาร์กินสันเป็นหนึ่งในพาร์กินโซนิซึมที่พบได้มากที่สุด 

พาร์กินโซนิซึม สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Parkinson Plus Syndrome เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่าโรคพาร์กินสัน สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย คือ
    • Multiple System Atrophy (MSA) กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วยความผิดปกติจากความเสื่อมของระบบร่างกายหนึ่งระบบหรือมากกว่า 
    • Progressive Supranuclear Palsy (PSP) กลุ่มอาการนี้มักเริ่มแสดงอาการหลังอายุ 50 ปี และมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วกว่าโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วย PSP มักมีปัญหาที่ตาทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด จึงมักทำให้เกิดการหกล้มบ่อยๆ และมักจะมีอาการหลงลืมเกิดขึ้นภายหลัง 
    • Corticobasal Degeneration (CBD) กลุ่มอาการนี้อาจทำให้เกิดการกระตุกและสูญเสียการควบคุมรยางค์โดยไม่มีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย 
    • Lewy Body Dementia (LBD) เป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้เกิดอาการหลงผิดในผู้สูงอายุ รองจากโรคอัลไซเมอร์ ภาวะนี้จะมีกลุ่มก้อนของโปรตีนในสมองเช่นเดียวกับในโรคพาร์กินสัน แต่จะพบได้หลายตำแหน่งในสมอง ผู้ป่วย LBD อาจมีปัญหาการพูด จิตประสาทหลอน และสติปัญญาเสื่อมถอย
  • Vascular Parkinsonism เกิดจากเส้นเลือดเล็กๆ หลายเส้นในสมองตีบ อาการมีทั้งเกิดขึ้นแบบรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไป มักพบปัญหาการเคลื่อนไหวที่ขา แต่ไม่ทำให้เกิดอาการสั่น
  • Post-Traumatic Parkinsonism ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง หรือการกระทบกระทั่งที่ศีรษะบ่อยครั้ง เช่น การต่อยมวย หรือกีฬาอเมริกันฟุตบอล ภาวะนี้สามารถทำให้เกิดโรคหลงลืมชนิดหนึ่งเรียกว่า Chronic Traumatic Encephalopathy (CTE) 
  • Essential Tremor กลุ่มอาการนี้มักถ่ายทอดกันในครอบครัว และอาการจะค่อยๆ ทรุดหนักเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการสั่นที่มือ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อขยับมือ
  • Normal Pressure Hydrocephalus (NPH) เป็นภาวะที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นผิดปกติของสารน้ำในช่องสมอง รักษาได้ด้วยการระบายสารน้ำส่วนเกินไปที่ช่องท้องแทน
  • Postencephalitic Parkinsonism เป็นภาวะที่มักเกิดจากโรคจากพยาธิ African trypanosomiasis หรือโรคติดเชื้อจากไวรัสที่ทำให้สมองหรือไขสันหลังบวม 

นอกจากนี้ยังพบภาวะพาร์กินโซนิซึมจากการใช้ยา ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้ยาบางชนิด และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อหยุดใช้ยา โดยรายชื่อยาที่อาจทำให้เกิดภาวะพาร์กินโซนิซึม ได้แก่

  • Antipsychotics เช่น Haldol (Haloperidol) และ Thorazine (Chlorpromazine)
  • Depakote (Valproic Acid)
  • MPPP (Desmethylprodine) 
  • Reglan (Metoclopramide)
  • Serpasil (Reserpine)
  • Stimulants ได้แก่ Amphetamine Cocaine
  • Xenazine(tetrabenazine)

สาเหตุของภาวะพาร์กินโซนิซึม

แม้พาร์กินโซนิซึมจะมีหลายชนิด แต่ทั้งหมดล้วนเกิดจากความผิดปกติของการสร้างหรือการใช้สารโดพามีน (Dopamine) ในสมองส่วนเบซอล แกงเกลีย (Basal ganglia) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้พาร์กินโซนิซึมทุกชนิดแสดงอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า ตัวแข็ง และเสียการทรงตัว(postural instability) 

การรักษาพาร์กินโซนิซึม

โรคพาร์กินสันเป็นพาร์กินโซนิซึมรูปแบบที่พบมากที่สุดและสามารถรักษาได้มากที่สุด ต่างกับพาร์กินโซนิซึมชนิดอื่นที่รักษาได้ยากกว่า ผู้ที่มีภาวะพาร์กินโซนิซึมจากการใช้ยาอาจหายเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้ยาที่เป็นต้นเหตุ 

แต่พาร์กินโซนิซึมชนิดอื่นๆ มักมีการดำเนินโรคที่เร็ว โดยยาเพิ่มระดับ Dopamine ในสมองที่ใช้กับการรักษาโรคพาร์กินสันก็แทบไม่มีประโยชน์กับพาร์กินโซนิซึมชนิดอื่นๆ ทำได้เพียงใช้การบำบัดการพูด กายภาพบำบัด และยารักษาโรคซึมเศร้าเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Seunggu Han, M.D., What is Parkinsonism? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320601.php), January 12, 2018
อาจารย์แพทย์หญิงเด่นหล้า ปาลเดชพงศ์, Parkinson disease (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/873_1.pdf),

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาโรคพาร์กินสัน
ยาโรคพาร์กินสัน