กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

หูด (Warts)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หูดคือ ก้อนเนื้อขนาดเล็กที่มักเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณมือและเท้า มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไป หูดอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆ หรือเกาะกลุ่มกันก็ได้ และบางครั้งก็เกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • หูดสามารถกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ผ่านการเกา ตบ หรือกัดที่หูด การกัด หรือดูดเล็บ (หากมีหูดอยู่บริเวณใกล้เคียงนิ้ว) การโกนหนวด หรือโกนขนขา นอกจากนี้หูดยังสามารถติดต่อได้จากการสัมผัส สิ่งของ หรือพื้นผิว ยิ่งถ้าผิวหนังเป็นแผล หรือเปียก โอกาสติดเชื้อจะมีมากขึ้น 
  • หูดมีหลายประเภท หลายขนาด และหลายรูปร่าง ได้แก่ หูดผิวหนัง หรือหูดทั่วไป หูดฝ่าเท้า หูดชนิดแบนราบ หูดชนิดเป็นติ่ง หูดแบบ Periungual  และหูดแบบกระเบื้อง อย่างไรก็ตาม หูดมักจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่บางประเภทก็อาจทำให้เจ็บปวดได้ 
  • หูดส่วนมากไม่มีอันตรายและจะหายไปเองโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา สำหรับระยะเวลาที่หูดจะหายไปก็แตกต่างกันออกไปตามบุคคล หากเป็นหูดจากการติดเชื้อไวรัสอาจต้องใช้เวลานาน 2 ปี เพื่อให้เชื้อหายไปจากระบบร่างกายก่อน จากนั้นจะส่งผลให้หูดหายตามไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายและผู้หญิง

หูดคือ ก้อนเนื้อขนาดเล็กที่มักเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณมือและเท้า มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไป หูดอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆ หรือเกาะกลุ่มกันก็ได้ และบางครั้งก็เกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย 

ทั้งนี้หูดไม่ใช่เซลล์เนื้อร้าย แต่อาจมีลักษณะคล้ายเนื้อร้ายบางประเภท โดยหูดมักจะเกิดกับเด็กและวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดหูด

หูดเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้มีเคราติน หรือโปรตีนแข็งๆ สะสมเกินขนาดจนปรากฏขึ้นบนผิวหนังชั้นนอก ยิ่งมีเคราตินผลิตออกมามากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้หูดมีพื้นผิวที่หยาบแข็งมากขึ้น 

แม้หูดไม่นับเป็นภาวะที่ติดต่อกันได้ แต่ก็สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส สิ่งของ หรือพื้นผิว เช่น พื้นที่บริเวณโดยรอบสระว่ายน้ำ ทั้งนี้การติดเชื้อจะเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นถ้าผิวหนังเป็นแผล หรือเปียก 

หลังจากติดเชื้ออาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนกว่าที่หูดจะปรากฏออกมา

หูดสามารถกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ผ่านวิธีต่อไปนี้

  • การเกา ตบ หรือกัดที่หูด
  • การกัด หรือดูดเล็บ (หากมีหูดอยู่บริเวณใกล้เคียงนิ้ว)
  • การโกนหนวด หรือโกนขนขา

การกระทำข้างต้นอาจทำให้หูดแตกออกและมีเลือดออกได้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายยิ่งขึ้น

อาการของหูด

หูดมีหลายประเภท หลายขนาด และหลายรูปร่าง มักจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่บางประเภทก็อาจทำให้เจ็บปวดได้ และยังอาจมีอาการคัน หรือเลือดออกที่หูดอีกด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1.หูดผิวหนัง หรือหูดทั่วไป (Verruca vulgaris)

  • มีลักษณะกลม หรือรูปไข่
  • แน่นและเบ่งออก
  • หยาบ หรือมีพื้นผิวหน้าตาประหลาดคล้ายดอกกะหล่ำ
  • มักจะเกิดขึ้นบนกำปั้น นิ้วมือ และเข่า
  • มีขนาดแตกต่างออกไปตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10 มิลลิเมตร
  • อาจจะมีหูด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นได้

2.หูดฝ่าเท้า (Plantar warts)

  • มีสีขาวและมักมีจุดสีดำอยู่ตรงกลาง (หลอดเลือด)
  • ลักษณะแบน
  • บางครั้งอาจสร้างความเจ็บปวดหากลงน้ำหนักกดทับที่เท้าที่มีหูด

3.หูดชนิดแบนราบ

  • เกิดขึ้นได้ตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงหลายร้อยเม็ด ซึ่งอาจจะเกาะกลุ่มเป็นกระจุกก็ได้
  • มีสีเหลือง
  • เรียบเนียน กลม และพื้นผิวข้างบนแบนเรียบ
  • มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร
  • มักเกิดกับมือ ใบหน้า และขาของเด็กเล็ก
  • สามารถเกิดขึ้นบนขาส่วนล่างของผู้หญิงได้ เนื่องจากว่าผู้หญิงมักจะติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) จากการโกนขน

4.หูดชนิดเป็นติ่ง

หูดชนิดเป็นติ่งจะมีลักษณะเรียวยาว และมักเกิดขึ้นบนลำคอ หรือใบหน้า

5.หูดแบบ Periungual

หูดชนิดนี้จะเกิดขึ้นข้างใต้และรอบเล็บมือ หรือเล็บเท้า โดยจะมีลักษณะพื้นผิวหยาบ โดยมักจะส่งผลกระทบต่อรูปร่างของเล็บ และสร้างความเจ็บปวด

6.หูดแบบกระเบื้อง

หูดแบบกระเบื้องจะเกิดขึ้นมาเป็นกระจุกในรูปแบบคล้ายการวางแผ่นกระเบื้อง และมักเกิดขึ้นบนฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

หูดหลายประเภทสามารถระบุได้ง่ายเนื่องจากมีรูปร่างลักษณะที่เป็นแบบเฉพาะ คุณควรไปพบแพทย์เมื่อรู้สึกว่า มีบางอย่างโตใต้ชั้นผิวหนังและไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าคืออะไร หรือน่ากังวลหรือไม่

แพทย์จะสามารถแยกแยะหูดได้ทันทีเพียงแค่กวาดสายตาดู โดยจะพิจารณาจากการที่หูดส่งผลต่อผิวหนังโดยรอบ และตำแหน่งที่เกิดขึ้นบนร่างกาย

คุณควรไปพบแพทย์เมื่อหูดมีอาการ หรือลักษณะต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มีเลือดออก
  • รูปร่างเปลี่ยนไป
  • ลุกลามออกไปกว้างขึ้น
  • ทำให้รู้สึกเจ็บปวด หรือส่งผลต่อสุขภาพจิต

การรักษาหูด

หูดส่วนมากไม่มีอันตรายและจะหายไปเองโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา สำหรับระยะเวลาที่หูดจะหายไปก็แตกต่างกันออกไปตามบุคคล หากเป็นหูดจากการติดเชื้อไวรัสอาจต้องใช้เวลานาน 2 ปี เพื่อให้เชื้อหายไปจากระบบร่างกายก่อน จากนั้นจะส่งผลให้หูดหายตามไป

เป้าหมายการรักษาหูดคือ การกำจัดหูดออกโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น และไม่ทำให้หูดกลับมาอีกครั้ง ดังนี้

  • การใช้กรดซาลิซิลิก
  • การบำบัดด้วยความเย็นจัด
  • การใช้เทปปิด
  • การรักษาด้วยสารเคมี

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกสำหรับการรักษาหูดอีกหลายวิธี แต่ยังไม่มีการรักษาใดที่ให้ผลกำจัดหูดได้ 100% และยังมีความเสี่ยงที่หูดจะกลับมาซ้ำได้อีกด้วย สำหรับการผ่าตัดกำจัดหูดนั้นมักไม่นิยมเนื่องจากว่ามักจะทำให้หูดกลับมาอีกครั้ง และยังต้องมีการรักษาอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย

การใช้กรดซาลิซิลิก

การรักษาหูดหลายประเภทจะมีการใช้ครีม เจล สีทา และพลาสเตอร์ยาที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไป ยาหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะมีกรดซาลิซิลิกเป็นส่วนประกอบ มีข้อมูลงานวิจัยที่บ่งชี้ว่ากรดตัวนี้ออกฤทธิ์ในการรักษาหูดได้ดีเท่ากับการบำบัดหูดด้วยความเย็น 

แต่ก็มีงานวิจัยบางชิ้นที่กล่าวว่า การรักษาด้วยกรดซาลิซิลิกมีประสิทธิภาพที่สุด

กรดซาลิซิลิกสามารถทำลายผิวหนังสุขภาพดีได้ ดังนั้นจึงควรปกป้องผิวหนังก่อนเริ่มการรักษาทุกครั้ง โดยใช้ปิโตรเลียมเจล หรือพลาสเตอร์ปิดหูดไว้ ควรใช้ตะไบ หรือหินพิวมิสเกลาหูดออกเล็กน้อยก่อนเริ่มการรักษา หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ร่วมกับผู้อื่น ทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหายดี

ในการรักษาหูดแต่ละครั้ง คุณต้องแช่หูดในน้ำเป็นเวลา 5 นาทีก่อนเพื่อทำให้หูดอ่อนตัวลง จากนั้นก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของฉลากยา แต่ควรยุติการรักษาทันทีหากมีอาการปวดที่ผิวหนังและให้ไปพบแพทย์ หรือเภสัชกรทันที

ข้อควรระวัง: 

  • ห้ามดำเนินการรักษาหูดบนใบหน้าด้วยกรดซาลิซิลิกเด็ดขาด หากคุณต้องการทำการรักษาหูดใบหน้า ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อน
  • หากมีการไหลเวียนโลหิตต่ำ เช่น หากคุณเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (PAD) ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยาที่มีกรดซาลิซิลิกเพราะภาวะเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความเสียหายที่ผิวหนัง เส้นประสาท และเส้นเอ็น

การบำบัดด้วยความเย็น

วิธีการบำบัดด้วยความเย็นมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การใช้ไนโตรเจนเหลวชนิดสเปรย์ฉีดบนหูดโดยตรง หรือสัมผัสหูดเบาๆ ด้วยไนโตรเจนเหลวที่อยู่บนก้านสำลี โดยวิธีที่สองนี้มักใช้รักษาหูดรอบดวงตาหรือกับเด็กเล็ก

การบำบัดความเย็นมักจะแนะนำให้กับผู้ที่มีหูดบนใบหน้า เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการระคายเคืองต่ำกว่าการใช้เทปปิด หรือการใช้กรดซาลิซิลิก แต่มักไม่ใช้วิธีนี้กับเด็กเล็กเนื่องจากเป็นการรักษาที่สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก และเด็กเล็กจะควบคุมตัวเองให้อยู่กับที่ได้ไม่ดี

การรักษาด้วยความเย็นมักใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที สำหรับหูดที่มีขนาดใหญ่จะต้องใช้เวลาแช่แข็งหลายครั้ง ซึ่งอาจต้องเข้ารับการรักษาทุก 2-3 สัปดาห์ หากการบำบัดด้วยความเย็นไม่ประสบความสำเร็จภายใน3 เดือน อาจแสดงว่าการรักษาวิธีอื่นๆ จะไม่ได้ผลเช่นกัน 

นอกจากนี้ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการบำบัดด้วยความเย็น ได้แก่ เกิดความเจ็บปวดและมีตุ่มหนองเกิดขึ้น ผิวหนังคล้ำขึ้นหรือซีดลง และเล็บมืออาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือรูปร่างไปหากเป็นการบำบัดหูดรอบเล็บมือ 

การบำบัดความเย็นมักดำเนินการโดยศัลยแพทย์แพทย์ที่โรงพยาบาล หรือผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกผิวหนัง แต่ก็สามารถซื้อสเปรย์เย็น (dimethyl ether propane) ตามร้านขายยามาทำด้วยตนเองได้ 

แต่ไม่ควรใช้กับหูดบนใบหน้าเด็ดขาด เนื่องจากมีหลักฐานว่า สเปรย์เหล่านี้ไม่ดีเท่ากับการบำบัดด้วยไนโตรเจนเหลวจริงๆ

การใช้เทปปิด

การรักษาด้วยเทปคือ การติดเทปบนหูดเป็นเวลาประมาณ 6 วัน หากระหว่างนี้เทปหลุดออก คุณก็สามารถเปลี่ยนเทปใหม่ได้ตลอด หลังจากวันที่ 6 ให้ถอดเทปออกและแช่หูดในน้ำ

หลังจากแช่หูดในน้ำให้ใช้ตะไบ หรือหินพิวมิส ขจัดพื้นผิวหยาบๆ ของหูดออก และทิ้งหูดไว้ข้ามคืนก่อนติดเทปใหม่ในเช้าวันถัดมา กระบวนการนี้ต้องทำซ้ำๆ วนเวียนไปมาเป็นเวลา 2 เดือน

อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักฐานว่า วิธีการรักษานี้ได้ผลจริงอยู่น้อยมาก แต่เป็นวิธีรักษาที่มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงน้อยมาก มีเพียงความระคายเคืองที่ผิวหนังเท่านั้น

การรักษาด้วยสารเคมี

คุณสามารถทำการรักษาหูดได้ด้วยสารเคมีที่สามารถหาได้จากการสั่งจากแพทย์ ได้แก่ ฟอร์มาลดีไฮด์ กลูทาราลดีไฮด์ ซิลเวอร์ไนเตรต

สารเคมีเหล่านี้สามารถใช้กับหูดได้โดยตรงเพื่อกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อ แต่สารเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผิวหนังอย่างผิวหนังคล้ำ (จากการใช้กลูทาราลดีไฮด์) และผิวหนังไหม้ (จากการใช้ซิลเวอร์ไนเตรต)

การรักษาหูดขณะตั้งครรภ์

สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่และมีหูดที่ผิวหนัง แพทย์อาจแนะนำวิธีรักษาด้วยการใช้กรดซาลิซิลิก การบำบัดด้วยความเย็น และการใช้เทปปิด ทั้งนี้กรดซาลิซิลิกสามารถใช้กับผู้ที่เป็นหูดและตั้งครรภ์ได้ ตราบใดที่ใช้กับบริเวณเล็กๆ เป็นภายในระยะเวลาสั้นๆ

การป้องกันหูด

คนส่วนมากมักจะติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) และเป็นหูดขึ้น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีวิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดหูดและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปให้กับผู้อื่นได้ดังนี้

  • ไม่สัมผัสกับหูดของผู้อื่น
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า และของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ที่เป็นหูด
  • ไม่ใช้รองเท้า หรือถุงเท้ากับผู้ที่เป็นหูดที่ฝ่าเท้า
  • เลี่ยงการเกา หรือแคะหูด เพื่อไม่ให้ HPV กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
  • ระมัดระวังขณะโกนขนเพราะว่า เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นหากคุณมีแผลถูกบาด
  • พยายามดูแลให้เท้าแห้ง และเปลี่ยนถุงเท้าทุกวันเพื่อป้องกันหูดที่เท้า
  • หากเป็นหูด ควรปกปิดส่วนที่เป็นหูดไว้ขณะที่อยู่ในที่ชุมชน
  • สวมรองเท้าแตะในห้องเปลี่ยนเสื้อ หรือห้องอาบน้ำสาธารณะ
  • ปิดหูดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำขณะออกไปว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น
  • สวมถุงมือขณะใช้งานอุปกรณ์ออกกำลังกาย หากคุณเป็นหูดที่มือ

หูดสามารถรักษาให้หายได้ แต่บางชนิดโดยเฉพาะการติดเชื้อจากไวรัสต้องใช้เวลานานถึง 2 ปีกว่าจะหาย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหูด ด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดีนั่นเอง และหมั่นสังเกตตามร่างกาย หากมีความผิดปกติที่น่าจะเป็นหูดก็รีบหาทางรักษาให้หาย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายและผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Viral wart. DermNet NZ. (Available via: https://dermnetnz.org/topics/viral-wart/)
Warts: HPV, Causes, Types, Treatments, Removal, Prevention. Cleveland Clinic. (Available via: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15045-warts)
Warts (for Parents). Nemours KidsHealth. (Available via: https://kidshealth.org/en/parents/wart.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามค่ะ เป็นหูดข้าวสุกที่อวัยวะเพศหญิง ตรงแคมด้านนอก อยากทราบวิธีการรักษาและค่าใช้จ่ายค่ะ ขอบคุณค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้ารักษาหูด ด้วยการเลเซอร์นี่คิดค่าใช้งานยังไง ประมาณเท่าไหร่ครับ ?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นหูดหลายปี ทายาหายไปครั้งนึง แล้วก็ขึ้นมาอีก เป็นมานานแบบนี้อันตรายมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)