ตัวอย่างยี่ห้อของยา Glipizide ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย
Dipazide, Gipzide, Glycediab, Glygen, GP-Zide, Minibit, Namedia, Pharmahof Glizide, Topizide, Depizide, Glibenil, Glipimed, Glipizon, Glucodiab, Glucotrol XL, Manpizide, Minidiab, Pezide, Phardiab, Tozide
รูปแบบและส่วนประกอบของยา Glipizide
ไกลพิไซด์ (glipizide) เป็นยากลุ่มยารักษาโรคเบาหวาน ยาสำหรับรับประทาน ยาชนิดเม็ด ประกอบด้วยไกลพิไซด์ขนาด 2.5 และ 5 มิลลิกรัม
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
กลไกการออกฤทธิ์ของยา Glipizide
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ไกลพิไซด์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน (insulin) จากบีต้าเซลล์ ของตับอ่อนและลดการเพิ่มขึ้นของกลูโคสจากตับ นอกจากนี้ไกลพิไซด์ยังเพิ่มการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินที่บริเวณตัวรับเป้าหมาย
ข้อบ่งใช้ของยา Glipizide
ยาไกลพิไซด์ ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 2.5-5 มิลลิกรัมต่อวัน วันละครั้ง สามารถปรับขนาดยาครั้งละ 2.5-5 มิลลิกรัม ขนาดยาตั้งแต่มากกว่า 15 มิลลิกรัมให้แบ่งให้ยา ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 40 มิลลิกรัม
ติดตามผลเลือด และความเข้มข้นของกลูโคสในปัสสาวะ glycosylated hemoglobin และติดตามอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้ผู้ป่วยควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักและเป็นเวลานาน
ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Glipizide
หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด
ข้อควรระวังของการใช้ยา Glipizide
- ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือแพ้ยาอื่นในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (sulfonylurea) หรือซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide)
- ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะ ketoacidosis
- ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต รุนแรง
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรค G6PD
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยระดับฮอร์โมนจากต่อมอะดรีนอลและพิทูอิทารีต่ำ
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาะวเครียดของร่างกายสูง เช่น เป็นไข้ อุบัติเหตุ ติดเชื้อ ผ่าตัด
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ระดับน้อยถึงปานกลาง
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Glipizide
อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ท้องผูก ท้องเย ท้องอืด คลื่นไส้ มึนงง รู้สึกตื่นตัว ปวดศีรษะ อาการสั่น ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร โลหิตจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolytic anemia)
ข้อมูลการใช้ยา Glipizide ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร
สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา
ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น
ข้อมูลการเก็บรักษายา Glipizide
ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส