แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน สำหรับประเทศไทย เรามักคุ้นชินกับเมล็ดแปะก๊วยที่นำมาทำเป็นของหวาน และยังนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด เช่น ขนมบะจ่าง ผัดโหงวก้วย ชาวจีนเชื่อว่าแปะก๊วยเป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากสามารถบำบัดโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ginkgo biloba
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชื่อสามัญ Salisburya adiantifolia, Maidenhair tree, Forty-coin tree, Pai Kuo Yeh
ชื่อวงศ์ Ginkgoaceae
แปะก๊วยเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุด อาจมีอยู่ในโลกมาแล้วกว่า 200 ล้านปี เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae ซึ่งจัดเป็นสกุลพืชที่มีอายุมากที่สุดของพืชมีเมล็ดทั้งหมด ลักษณะเป็นไม้ผลัดใบยืนต้น สูง 30-40 เมตร ใบออกจากปลายกิ่งสั้นๆ รูปร่างคล้ายพัดจีน ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ จะให้ผลเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี มีสีเหลือง ชั้นนอกหุ้มด้วยเนื้อไม้และมีกลิ่นฉุน ภายในมีเมล็ดรูปกลมรี มีเปลือกแข็งหุ้ม เนื้อในเมล็ดมีสีเหลืองอ่อน หลังจากผสมเกสรต้องใช้เวลาถึง 130-140 วัน จึงจะสุกและรับประทานได้ แปะก๊วยเป็นไม้ที่ไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวน ต้านทานลมพายุ ทนต่อมลพิษหลายชนิด
ใบใช้เพื่อรักษาภาวะผิดปกติทางสมองอย่างโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) นอกจากนี้แปะก๊วยยังใช้รักษาภาวะสูญเสียความทรงจำ วิงเวียน ตั้งสมาธิลำบาก และอารมณ์แปรปรวน บางคนใช้ใบแปะก๊วยรักษาอาการปวดขาขณะเดินเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี (Claudication) แต่ยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดในเรื่องดังกล่าว
สรรพคุณของมีมากมายเนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานาน เช่น มีข้อมูลการใช้แปะก๊วยในการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก ควบคู่กับการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคหอบหืด (Asthma) ในอุตสาหกรรม มีการใช้สารสกัดใบแปะก๊วยเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและในอาหาร
แปะก๊วยทำงานอย่างไร?
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แปะก๊วยช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิต ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองและขา มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์และเข้ายับยั้งการเปลี่ยนแปลงในสมองที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจดจำและกระบวนการคิด
เมล็ดประกอบด้วยสารที่ใช้กำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อภายในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม เมล็ดก็มีสารพิษที่อาจทำให้เกิดอาการชักและหมดสติได้ด้วย
ประโยชน์ของแปะก๊วย
ตามตำราแพทย์แผนจีนกล่าวว่า ทั้งใบและผลของแปะก๊วยมีสรรพคุณทางยา โดยผลจะมีรสหวาน ขมและฝาดเล็กน้อย ส่วนใบจะขมและฝาดมากกว่า มีสรรพคุณคือ เข้าเส้นลมปราณปอด จึงช่วยดึงรั้งพลังปอด ช่วยบรรเทาอาหารหอบหืด ไอเรื้อรัง สลายเสมหะ นอกจากนี้ยังเข้าเส้นปราณไตอีกด้วย จึงช่วยรักษาเกี่ยวกับอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะราดที่นอน และช่วยรักษาอาการตกขาว
ภาวะที่อาจใช้แปะก๊วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดแปะก๊วยสามารถลดอาการจากภาวะวิตกกังวลได้
- สมองเสื่อม (Dementia) ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Vascular disease) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานแปะก๊วยต่อเนื่องนานกว่าหนึ่งปีจะช่วยให้อาการจากโรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ดีขึ้น ด้วยการรับประทาน 240 มิลลิกรัม/วัน อย่างไรก็ตาม มีข้อกังขาว่าการศึกษาเหล่านี้อาจจะไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากยังคงมีข้อมูลที่ขัดแย้งอยู่ จึงยากที่จะชี้ชัดเกี่ยวกับสรรพคุณที่แท้จริงของแปะก๊วย ตามที่กล่าวว่า แม้แปะก๊วยจะสามารถรักษาอาการของโรคสมองเสื่อมหลายชนิดได้ แต่แปะก๊วยไม่อาจป้องกันไม่ให้อาการอัลไซเมอร์ทรุดลงกว่าเดิม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า EGb 761 ทุกวันนาน 22-24 สัปดาห์ อาจมีผลดีดีเทียบเท่าการรับประทานยาโดนีพีซิล (Donepezil หรือชื่อทางการค้าคือ Aricept) หากเป็นการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่รุนแรง แต่งานวิจัยอื่นๆ ระบุว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน ทั้งยาโดนีพีซิลและยาทาครีน (Tacrine หรือชื่อการค้าคือ Cognex) ส่วนการรับประทานแปะก๊วยร่วมกับยาตามใบสั่งแพทย์ อย่างยาโดนีพีซิลหรือยารีวาสติกมีน (Rivastigmine) อาจไม่ดีไปกว่าการใช้เพียงยารักษาอาการอัลไซเมอร์อย่างเดียว
- ปัญหาสายตาของผู้ป่วยเบาหวาน มีหลักฐานบางชิ้นกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย สามารถช่วยปรับการมองเห็นสีจากอาการเรตินาเสียหายจากเบาหวานได้
- สูญเสียการมองเห็นจากต้อหิน การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นเวลานานถึง 12.3 ปี อาจไม่ช่วยให้สภาพการมองเห็นอันเป็นความเสียหายที่เป็นมาอยู่ก่อนของดวงตาของผู้เป็นต้อหินดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยอื่นแย้งว่าหากรับประทานเพียง 4 สัปดาห์ แปะก๊วยจะไม่ช่วยหยุดการดำเนิน (Progression) ของโรคต้อหินได้ จึงอาจต้องกินเป็นเวลานานเพื่อให้เห็นผลลัพธ์
- อาการปวดขาขณะเดินที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี (โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral vascular disease) มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้ผู้ที่มีการไหลเวียนเลือดที่ขาไม่ดีสามารถเดินได้ไกลขึ้นโดยไม่ปวดขา นอกจากนี้การรับประทานแปะก๊วยยังช่วยลดความจำเป็นที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้มีอาการนี้อาจต้องรับประทานแปะก๊วยนานอย่างน้อย 24 สัปดาห์กว่าจะเห็นผล แต่งานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวยังมีไม่มากนัก
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS)) มีข้อมูลว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยสามารถช่วยบรรเทาอาการกดเจ็บที่เต้านมและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการก่อนมีประจำเดือน แต่อาจต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมอีก
- จิตเภท (Schizophrenia) งานวิจัยในจีนแสดงให้เห็นว่า การรับประทานแปะก๊วยทุกวันร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ระงับอาการทางจิต เช่น ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) สามารถลดอาการทางจิตและลดผลข้างเคียงของยาได้บางประการ เช่น อาการกระหายน้ำและท้องผูก เป็นต้น
- ภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติทีเรียกว่าอาการยึกยือ (Tardive dyskinesia) ภาวะนี้เกิดจากการใช้ยาจิตเวชบางตัว โดยมีงานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดแปะก๊วย EGb 761 นาน 12 สัปดาห์สามารถลดความรุนแรงของอาการยึกยือในผู้ป่วยจิตเภทที่กำลังใช้ยาอยู่ได้
- วิงเวียนบ้านหมุน (Vertigo) การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถทำให้อาการวิงเวียนและอาการตั้งสมดุลดีขึ้น
ภาวะที่แปะก๊วยอาจไม่สามารถรักษาได้
- ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากการใช้ยาต้านซึมเศร้า แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยแก้ปัญหาทางเพศจากการใช้ยาต้านซึมเศร้าได้ ไม่นานมานี้กลับมีงานวิจัยแย้งว่า แปะก๊วยอาจไม่ได้ช่วยในเรื่องนี้ นั่นคือเพียงช่วยให้เกิดความปรารถนาทางเพศ แต่ไม่ได้ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในขณะมีเพศสัมพันธ์
- ปัญหาทางจิตและความจำที่เกิดจากการทำเคมีบำบัด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยที่เรียกว่า EGb 761 จำนวน 2 ครั้งต่อวัน เริ่มจากช่วงก่อนทำเคมีบำบัดครั้งที่ 2 และต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดการทำเคมีบำบัด 1 เดือน ไม่ได้ช่วยป้องกันปัญหาทางจิตที่อาจจะเกิดจากการรักษาประเภทนี้ได้ (ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม)
- ความดันโลหิตสูง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 นาน 6 ปี ไม่ได้ลดความดันเลือดของผู้สูงอายุที่มีปัญหาความดันสูงแต่อย่างใด
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยหรือ Ginkgolide B ที่เป็นสารเคมีที่พบในสารสกัดแปะก๊วยไม่ได้ช่วยให้ความพิการของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการดีขึ้น
- ความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาล (Seasonal affective disorder) การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่อาจป้องกันอาการของภาวะผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาลได้
- หูอื้อ (Tinnitus) ยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะสรุปได้ว่า การรับประทานใบแปะก๊วยจะช่วยรักษาหูอื้อได้
- โรคหัวใจ (Heart disease) การรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วย (EGb 761) ไม่อาจลดโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวาย เจ็บหน้าอก หรือหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในผู้สูงอายุได้
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานและยังไม่มีข้อสรุปว่าใช้แปะก๊วยรักษาได้หรือไม่
- สูญเสียการมองเห็นจากอายุ (Age-related macular degeneration) มีงานวิจัยเพียงบางชิ้นกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้อาการและระยะการมองเห็นของผู้ที่มีปัญหาสูญเสียการมองเห็นจากอายุที่มากขึ้นได้
- ไข้ละอองฟาง (Hayfever หรือ Allergic rhinitis) มีงานวิจัยเพียงบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้ยาหยอดตาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากแปะก๊วยสามารถลดอาการตาแดง ตาบวม จากภาวะไข้ละอองฟางได้
- อาการแพ้ความสูง (Altitude sickness) งานวิจัยเกี่ยวกับผลของสารสกัดจากใบแปะก๊วยกับอาการแพ้ความสูงนั้นยังคงไม่สอดคล้องกัน บ้างก็กล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถลดอาการจากภาวะนี้ได้ แต่งานวิจัยอื่นๆ กลับกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยก่อนปีนเขาไม่อาจป้องกันอาการนี้ได้
- โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) ผลจากการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้กับอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นยังคงไม่ชัดเจน มีหลักฐานบางชิ้นกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากใบแปะก๊วยและโสมอเมริกาอาจช่วยให้อาการสมาธิสั้นอย่างวิตกกังวล อยู่ไม่สุข และหุนหันพลันแล่นของเด็กอายุ 3-17 ปีดีขึ้นได้ แต่งานวิจัยอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดแปะก๊วยไม่ได้ช่วยให้อาการสมาธิสั้น ดีขึ้นแต่อย่างใด เมื่อนำไปเทียบกับการใช้ยาเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) ที่ใช้รักษาเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-14 ปี อีกทั้งการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยร่วมกับยาเมทิลเฟนิเดตยังอาจไม่ช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับเด็กที่รับประทานยาเมทิลเฟนิเดตเพียงอย่างเดียว
- ออทิสติก (Autism) ยังไม่มีงานวิจัยที่บ่งชี้ให้เห็นผลชัดเจนว่า การรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยจะช่วยให้ผู้ป่วยออทิสติกมีอาการดีขึ้น
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยไม่อาจช่วยให้การทำงานของปอดของผู้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดีขึ้น
- เสพติดโคเคน งานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่มีผลช่วยผู้ที่เสพติดโคเคนแต่อย่างใด
- การทำงานทางจิต ข้อสรุปเรื่องการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยกับเรื่องการทำงานทางจิตและความทรงจำยังคงไม่แน่ชัด งานวิจัยบางชิ้นพบว่าอาหารเสริมชนิดนี้อาจช่วยในเรื่องความจำ ความเร็วในการคิด และสมาธิของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี แต่งานวิจัยอื่นกลับไม่พบประโยชน์เหล่านี้ จำต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชชนิดนี้กับการทำงานทางจิตของผู้ใหญ่
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal cancer) งานวิจัยกล่าวว่า การใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761, ONC) ทางเส้นเลือดร่วมกับยาต้านมะเร็ง อาจให้ผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเฉพาะผู้ที่มะเร็งลุกลามแล้ว
- ดิสเลกเซีย (Dyslexia) งานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย (EGb 761) นาน 30 วันโดยประมาณ จะลดอาการดิสเลกเซียในเด็กที่มีอายุ 5-16 ปีได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวยังต้องการการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) การรับประทานยาเมล็ดที่เป็นสารสกัดจากใบแปะก๊วย ร่วมกับแคปซูล Coenzyme Q-10 (Bio Quinone Q10, Pharma Nord) นาน 84 วันอาจทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแต่ในด้านการรักษาโรคนั้นข้อมูลยังไม่ชัดเจน
- สูญเสียการได้ยิน มีหลักฐานที่กล่าวว่าการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้อาจช่วยการสูญเสียการได้ยินในระยะสั้น แต่ยังคงไม่แน่ชัดว่าประโยชน์เช่นนี้มาจากแปะก๊วยจริงหรือไม่
- ปวดศีรษะ ไมเกรน งานวิจัยพบว่าการรับประทาน Ginkgolide B ที่เป็นเคมีที่พบในสารสกัดใบแปะก๊วยอาจช่วยป้องกันไมเกรนในเด็กและสตรีได้
- การสัมผัสรังสี มีหลักฐานงานวิจัยที่กล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761, Tanakan Ipsen) อาจลดผลเสียได้เพียงบางส่วนจากการฉายรังสีบนร่างกาย
- ผิวหนังเป็นพิษจากการสัมผัสรังสี งานวิจัยกล่าวว่าการทาครีมที่ประกอบด้วยสารสกัดจากแปะก๊วย ว่านหางจระเข้ และ metal esculetina (Radioskin 2) ร่วมกับผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งตัว (Radioskin 1) อาจช่วยปรับความชุ่มชื้นของผิวและลดการระคายเคืองของผิวที่เกิดจากการบำบัดรังสีในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- ภาวะหลอดเลือดผิดปกติ (Raynaud's syndrome) บางงานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นเวลา 10 สัปดาห์อาจลดความถี่ของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นต่อสัปดาห์ของผู้ป่วยโรคเรย์เนาด์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากงานวิจัยอื่นกลับแย้งว่าอาหารเสริมชนิดนี้ไม่มีสรรพคุณดังกล่าว หรือบ้างก็กล่าวว่าด้อยประสิทธิภาพกว่ายาไนเฟดิปีน (Nifedipine)
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยฟื้นฟูการทำหน้าที่ทางเพศของผู้หญิงที่มีอาการหมดอารมณ์ทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแปะก๊วย โสม แดมเมียนา L-arginine วิตามินรวม และแร่ธาตุต่างๆ (ArginMax for Women) นาน 4 สัปดาห์ อาจช่วยฟื้นฟูความพึงพอใจทางเพศของผู้หญิงที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศได้
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผลจากการใช้อาหารเสริมชนิดนี้กับการฟื้นฟูผู้ป่วยที่เคยประสบกับโรคหลอดเลือดสมองนั้นยังไม่แน่ชัด บ้างก็กล่าวว่าผู้ป่วยจะดีขึ้นหลังการรักษาด้วยอาหารเสริมชนิดนี้ แต่ข้อมูลจากการศึกษาคุณภาพสูงกลับไม่พบประโยชน์เช่นนี้
- โรคด่างขาว (Vitiligo) มีงานวิจัยที่กล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Plus, Seroyal) อาจลดขนาดและการแพร่กระจายของด่างผิวหนังได้
ผลข้างเคียงและหลักการบริโภคแปะก๊วยให้ปลอดภัย
- การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยขึ้นอย่างปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน ท้องผูก หัวใจเต้นแรง และปฏิกิริยาแพ้บนผิวหนัง เป็นต้น
- ผลและเนื้อเยื่อภายในอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ที่ผิวหนังและสร้างความระคายเคืองแก่เยื่อเมือกบุผิว (Mucous membranes) อีกทั้งอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงต่อคนที่เป็นภูมิแพ้ต้นพอยซันไอวี่ (Poison ivy) หรือน้ำมันเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew shell)
- มีข้อกังวลว่าการสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกได้ ทำให้เลือดบางและลดความสามารถในการก่อตัวเป็นลิ่มเลือด ผู้ที่รับประทานแปะก๊วยบางคนจะมีภาวะเลือดออกในตา สมอง และปอดภายหลังการผ่าตัด และสารสกัดใบแปะก๊วยก็ยังอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้บนผิวหนังผู้ใช้บางรายได้ด้วย
- การรับประทานเมล็ดแปะก๊วยเผาหรือต้นแปะก๊วยดิบนั้นจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัย โดยการรับประทานเมล็ดแปะก๊วยมากกว่า 10 เมล็ดต่อวันอาจทำให้เกิดอาการชีพจรเต้นต่ำ ชัก หมดสติ และช็อกได้
- การรับประทานเมล็ดแปะก๊วยสดจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัย โดยการรับประทานสดนี้อาจทำให้เกิดอาการชักและเสียชีวิตได้ เพราะเมล็ดแปะก๊วยสดนั้นเป็นพิษและจัดว่าค่อนข้างอันตรายเกินกว่าจะรับประทานสด
- ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่าแปะก๊วยที่นำไปทาบนผิวหนังนั้นปลอดภัยหรือไม่
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ
บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีภาวะความผิดปกติ ซึ่งควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการกินแปะก๊วย มีดังนี้
- สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร แปะก๊วยจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์ เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีเลือดออกมากระหว่างคลอดได้ หากรับประทานในเวลาใกล้เคียงกัน ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้ให้นมบุตรสามารถบริโภคแปะก๊วยได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ จึงควรงดการบริโภคแปะก๊วยขณะตั้งครรภ์และต้องให้นมบุตรไปก่อน
- เด็กและทารก สารสกัดใบแปะก๊วยจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในช่วงเวลาอันสั้น บางงานวิจัยกล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบแปะก๊วยกับโสมอเมริกาอาจมีความปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้ในระยะสั้น แต่สำหรับการบริโภคเมล็ดแปะก๊วยสดนั้นไม่ควรให้เด็กรับประทานเพราะค่อนข้างไม่ปลอดภัย เอาจทำให้เด็กมีอาการชักและเสียชีวิตได้
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ แปะก๊วยอาจทำให้ภาวะเลือดออกผิดปกติทรุดลงได้ ดังนั้นผู้ป่วยภาวะนี้ควรงดการใช้แปะก๊วย
- เบาหวาน แปะก๊วยอาจรบกวนการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วย ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานต้องการบริโภคแปะก๊วย ควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
- ชัก ขณะนี้มีข้อกังวลว่าแปะก๊วยอาจทำให้เกิดอาการชักได้ หากคุณเคยประสบกับอาการชักมาก่อนควรงดใช้แปะก๊วย
- โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (Deficiency of the enzyme glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD)) แปะก๊วยอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางรุนแรงในผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD ซึ่งจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ป่วยภาวะนี้ควรเลี่ยงการใช้แปะก๊วยอย่างระมัดระวัง
- ภาวะมีบุตรยาก แปะก๊วยอาจทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาการใช้แปะก๊วยกับผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่คุณกำลังพยายามมีบุตร
- ผู้รับการผ่าตัด แปะก๊วยอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดขึ้นซึ่งจะทำให้มีเลือดออกมากระหว่างและหลังการผ่าตัด ดังนั้นควรหยุดใช้แปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
การใช้แปะก๊วยร่วมกับยาชนิดอื่น
ห้ามใช้แปะก๊วยร่วมกับยาเหล่านี้
- ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)
แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือดขึ้น ซึ่งยาไอบูโปรเฟนเองก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการรับประทานร่วมกับยาไอบูโปรเฟนจะทำให้เกิดลิ่มเลือดยากขึ้นและเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้นตามมา - ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant/Antiplatelet drugs)
แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นการรับประทานร่วมกับยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น โดยตัวอย่างยาที่ชะลอการเกิดลิ่มเลือดมีดังนี้ Aspirin, Clopidogrel (Plavix), Diclofenac (Voltaren, Cataflam และอื่นๆ), Ibuprofen (Advil, Motrin และอื่นๆ), Naproxen (Anaprox, Naprosyn และอื่นๆ), Dalteparin (Fragmin), Enoxaparin (Lovenox), Heparin, Warfarin (Coumadin) และอื่นๆ - ยาวาร์ฟาริน (Warfarin (Coumadin))
แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือด การรับประทานร่วมกับยาวาร์ฟารินที่ใช้ชะลอการเกิดลิ่มเลือดเช่นกันจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น ดังนั้นควรทำการตรวจเลือดเป็นประจำและอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณยาวาร์ฟารินตามความจำเป็น
ควรใช้แปะก๊วยร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam (Xanax))
การรับประทานแปะก๊วยร่วมกับยาอัลปราโซแลม จะลดผลกระทบของยาอัลปราโซแลมลง
- ยาบูสไพโรน (Buspirone (BuSpar))
การรับประทานแปะก๊วยจะส่งผลต่อสมอง และยาบูสไพโรนเองก็ส่งผลต่อสมองเช่นกัน ผู้ที่รับประทานยาบูสไพโรนร่วมกับแปะก๊วยอาจมีอาการตื่นเต้นเกินเหตุได้ แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากแปะก๊วยหรือยาตัวอื่นที่รับประทานร่วมกัน
- ยาเอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz (Sustiva))
ยาเอฟฟาไวเรนซ์เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะติดเชื้อ HIV การรับประทานเอฟฟาไวเรนซ์ร่วมกับสารสกัดแปะก๊วยจะลดผลของยาเอฟฟาไวเรนซ์ลง ดังนั้นก่อนรับประทานควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อน
- ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine (Prozac))
การรับประทานแปะก๊วยร่วมกับเซนจอห์นเวิร์ต (St. John's wort) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับยาฟลูออกซิทีน อาจทำให้คุณรู้สึกฉุนเฉียว ตื่นเต้น ยุกยิก และอารมณ์ดีหรือคึกคักมากกว่าปกติ (Hypomania) แต่หากเป็นการบริโภคแปะก๊วยกับยาฟลูออกซิทีนจะยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
- ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 1A2 (CYP1A2)
ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาบางชนิดจะเพิ่มฤทธิ์ยาและผลข้างเคียง ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง มีตัวอย่างดังนี้ Clozapine (Clozaril), Cyclobenzaprine (Flexeril), Fluvoxamine (Luvox), Haloperidol (Haldol), Imipramine (Tofranil), Mexiletine (Mexitil), Olanzapine (Zyprexa), Pentazocine (Talwin), Propranolol (Inderal), Tacrine (Cognex), Theophylline, Zileuton (Zyflo), Zolmitriptan (Zomig) และอื่นๆ
- ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 2C9 (CYP2C9)
ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาชนิดนี้จะเพิ่มฤทธิ์ยา ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง มีตัวอย่างดังนี้ Amitriptyline (Elavil), Diazepam (Valium), Zileuton (Zyflo), Celecoxib (Celebrex), Diclofenac (Voltaren), Fluvastatin (Lescol), Glipizide (Glucotrol), Ibuprofen (Advil, Motrin), Irbesartan (Avapro), Losartan (Cozaar), Phenytoin (Dilantin), Piroxicam (Feldene), Tamoxifen (Nolvadex), Tolbutamide (Tolinase), Torsemide (Demadex), Warfarin (Coumadin) และอื่นๆ
- ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 2D6 (CYP2D6)
ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาบางชนิดจะเพิ่มฤทธิ์ยาและผลข้างเคียง ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง มีตัวอย่างดังนี้ Amitriptyline (Elavil), Clozapine (Clozaril), Codeine, Desipramine (Norpramin), Donepezil (Aricept), Fentanyl (Duragesic), Flecainide (Tambocor), Fluoxetine (Prozac), Meperidine (Demerol), Methadone (Dolophine), Metoprolol (Lopressor, Toprol XL), Olanzapine (Zyprexa), Ondansetron (Zofran), Tramadol (Ultram), Trazodone (Desyrel), และอื่นๆ
- ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 3A4 (CYP3A4) กับแปะก๊วย ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาบางชนิดจะสลายฤทธิ์ยาและเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงมากมาย ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง มีตัวอย่างดังนี้ Lovastatin (Mevacor), Clarithromycin (Biaxin), Cyclosporine (Neoral, Sandimmune), Diltiazem (Cardizem), Estrogens, Indinavir (Crixivan), Triazolam (Halcion) และอื่นๆ
- ยาที่สำหรับเบาหวาน (Antidiabetes drugs) กับแปะก๊วย ยาเบาหวานใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และแปะก๊วยเองก็มีฤทธิ์ในการเพิ่มหรือลดระดับอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นกัน ดังนั้นการรับประทานร่วมกับยาสำหรับเบาหวานอาจลดประสิทธิภาพของยาลง ควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด โดยอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณยาเบาหวานที่ใช้ตามความจำเป็น ตัวอย่างยาสำหรับเบาหวานมี Glimepiride (Amaryl), Glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), Insulin, Pioglitazone (Actos), Rosiglitazone (Avandia), Chlorpropamide (Diabinese), Glipizide (Glucotrol), Tolbutamide (Orinase) และอื่นๆ
- ยาที่เพิ่มโอกาสการชัก (Seizure threshold lowering drugs)
ยาบางชนิดจะเพิ่มโอกาสการชักขึ้น และการรับประทานแปะก๊วยก็ทำให้บางคนมีอาการชักได้ การรับประทานยากลุ่มนี้ร่วมกับแปะก๊วยจึงเพิ่มโอกาสให้มีอาการชักสูงขึ้น จึงไม่ควรรับประทานร่วมกับยาดังที่กล่าวต่อไป ตัวอย่างยาที่เพิ่มโอกาสชักมี Anesthesia (propofol, และอื่น ๆ), Antiarrhythmics (mexiletine), Antibiotics (Amphotericin, Penicillin, cephalosporins, Imipenem), Antidepressants (bupropion และอื่นๆ), Antihistamines (Cyproheptadine และอื่นๆ), Immunosuppressants (Cyclosporine), Narcotics (Fentanyl, others), Stimulants (Methylphenidate), Theophylline และอื่นๆ
- ยาที่ใช้ป้องกันการชัก (Anticonvulsants)
ยาบางชนิดใช้เพื่อป้องกันการชักที่ส่งผลต่อสารเคมีในสมอง แปะก๊วยเองก็ส่งผลต่อสารเคมีในสมองเช่นกัน ซึ่งจะลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ป้องกันการชัก ตัวอย่างยาที่ป้องกันการชักมี Phenobarbital, Primidone (Mysoline), Valproic acid (Depakene), Gabapentin (Neurontin), Carbamazepine (Tegretol), phenytoin (Dilantin) และอื่นๆ
- ยาทราโซโดน (Trazodone (Desyrel))
ยาทราโซโดนส่งผลต่อสารเคมีในสมอง แปะก๊วยเองก็ส่งผลต่อสารเคมีในสมองเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานยาทราโซโดนร่วมกับแปะก๊วยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงต่อสมอง โดยผู้ที่ใช้ยาทราโซโดนร่วมกับแปะก๊วยอาจเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ จึงไม่ควรรับประทานแปะก๊วยร่วมกับยาทราโซโดน
กลุ่มยาที่หากรับประทานพร้อมสารสกัดแปะก๊วย ต้องคอยสังเกตอาการ
- ยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ (Hydrochlorothiazide)
ยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ใช้เพื่อลดการบวมและควบคุมความดันโลหิต การรับประทานยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ร่วมกับแปะก๊วยอาจเพิ่มความดันโลหิตขึ้นได้ ดังนั้นก่อนรับประทานให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้ยาความดันโลหิตสูง - ยาโอเมพราโซล (Omeprazole (Prilosec))
ยาโอเมพราโซลเป็นยาที่ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยา แปะก๊วยอาจส่งผลให้กระบวนการทำลายนี้เกิดได้เร็วขึ้น ดังนั้นการรับประทานยาโอเมพราโซลร่วมกับแปะก๊วยจะลดประสิทธิภาพที่ควรเป็นของยา
ปริมาณยาจากสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่ควรใช้
- สำหรับภาวะวิตกกังวล สารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761) 80-160 มิลลิกรัม เป็นจำนวน 3 ครั้งต่อ 1 วัน นาน 4 สัปดาห์
- สำหรับโรคสมองเสื่อม สารสกัดจากใบแปะก๊วย 60-480 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งปริมาณยาสำหรับกินออกเป็น 2 หรือ 3 ขนาด ให้ใช้นาน 1 ปี การศึกษาส่วนมากกล่าวว่าควรใช้ในปริมาณที่ 120-240 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากจะให้ประสิทธิผลที่ดีที่สุดคือที่ 240 มิลลิกรัม ส่วนการศึกษาทางคลินิกส่วนมากในเรื่องประสิทธิผลของใบแปะก๊วยกับโรคสมองเสื่อมนั้นได้ให้ใช้สารสกัดมาตรฐาน EGb 761 และ LI 1370
- สำหรับสูญเสียการมองเห็นจากเบาหวาน สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 120 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 6 เดือน
- สำหรับอาการปวดขาเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี (Claudication, Peripheral vascular disease) ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761) 120-240 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ขนาด ให้ใช้นาน 6.1 ปี ซึ่งการใช้ในปริมาณที่สูงกว่านี้อาจจะให้ผลที่ดีขึ้น
- สำหรับอาการวิงเวียน (vertigo) ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 160 กรัม ทุกวัน 1 ครั้งหรือแบ่งเป็น 2 ครั้งต่อ 1 วัน นาน 3 เดือน
- สำหรับสูญเสียการมองเห็นจากต้อหิน สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-160 มิลลิกรัม โดยแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อวัน
- สำหรับจิตเภท สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 120-360 มิลลิกรัมต่อวันนาน 8-16 สัปดาห์
- สำหรับภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติที่เรียกว่า Tardive dyskinesia สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 80 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน นาน 12 สัปดาห์
สำหรับการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยดังที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ควรเริ่มจากปริมาณที่น้อยหรือไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณการใช้จนถึงปริมาณที่กำหนดของแต่ละภาวะตามความจำเป็น โดยปริมาณที่ใช้อาจปลี่ยนไปตามสูตรของผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือกใช้ โดยนักวิจัยส่วนมากได้ใช้สูตรสารสกัดใบแปะก๊วยมาตรฐานเป็นพื้นฐาน บางคนอาจเลือกใช้ที่ 0.5 มิลลิลิตร ของ 1:5 ทิงเจอร์มาตรฐานของใบแปะก๊วยดิบ (Tincture of the crude ginkgo leaf) เป็นเวลา 3 ครั้งต่อวันก็ได้
ควรเลี่ยงการใช้ส่วนจากต้นแปะก๊วยดิบมาบริโภค เพราะส่วนต่างๆ นั้นมีความเป็นพิษในระดับที่เป็นอันตรายต่างกัน ซึ่งพบได้แม้กระทั่งเมล็ด และอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้