กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Fentanyl (เฟนทานิล)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เฟนตานิลเป็นยาในกลุ่มโอพิออยด์ (opioid)ซึ่งใช้เป็นยาในการระงับอาการปวด หรือใช้ร่วมกับยาอื่นในการดมสลบ เฟนตานิลถือเป็นยาเสพติดและการการนำไปใช้ผิดวิธี โดยนำไปเสพเป็นสารเสพติดร่วมกับเฮโรอีน (heroine) และโคเคน (cocaine) เฟนตานิลออกฤทธิ์รวดเร็วแต่ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ไม่นานนัก คือไม่เกินหนึ่งหรือสองชั่วโมง ในทางการแพทย์ เฟนตานิลบริหารโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดด ยารับประทานำ หรือใช้ในรูปแบบของแผ่นแปะผิวหนัง ในบางประเทศยังมีในรูปแบบของสเปรย์พ่นจมูก ยาเฟนตานิลถูกค้นพบครั้งแรกโดย Paul Janssen ในปีค.ศ. 1960 และมีการใช้เป็นยาในสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1968 ในปีค.ศ. 2015 ทั่วโลกมีการใช้เฟนตานิลในทางการแพทย์กว่า 1600 กิโลกรัม ในปีค.ศ. 2017 เฟนตานิลจีดเป็นยากลุ่มโอพิออยด์สังเคราะห์ที่มีการปใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในทางการแพทย์ เฟนตานิลในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนังยังอยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลกอีกด้วย

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Fentanyl ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Durogesic Patch ยาชนิดแผ่นแปะ 12 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง จากผู้ผลิตชื่อ Jenssen-Cilag
  • Fentanyl GPO ยาชนิดแผ่นแปะ 12 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง จากผู้ผลิตชื่อ GPO
  • Fentanyl Hexal (ยาชนิดแผ่นแปะ 25 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง, ยาชนิดแผ่นแปะ 37.5 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง, ยาชนิดแผ่นแปะ 50 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง, ยาชนิดแผ่นแปะ 67 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง, ยาชนิดแผ่นแปะ 75 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง) จากผู้ผลิตชื่อ Hexal
  • Fentanyl Janssen-Cilag ยาฉีด ขนาด 2 มิลลิลิตร จากผู้ผลิตชื่อ Jenssen-Cilag
  • Fentanyl Sandoz ยาชนิดแผ่นแปะ 12 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง จากผู้ผลิตชื่อ Sandoz

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดเรื้อรังรุนแรง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาก่อนใช้ยาดมสลบ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาเสริมของยาดมสลบ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Fentanyl

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เฟนทานิล เป็นยากลุ่มระงับอาการปวด ชนิดโอพิออยด์ (opioid) ที่มีความรุนแรงสูง มีฤทธิ์เพิ่มเทรชโฮลด์ (threshold) ความเจ็บปวด รบกวนการรับรู้ความเจ็บปวด และยับยั้งการส่งผ่านสัญญาณความเจ็บปวด โดยจับกับตัวรับอย่างจำเพาะเจาะจง (stereospecific) ในระบบประสาทส่วนกลาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้ของยา Fentanyl

ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดเรื้อรังรุนแรง ยาในรูปแบบแผ่นแปะ ขนาด 12 ถึง 100 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง การเพิ่มลดขนาดยาขึ้นอยู่กับการใช้ยากลุ่ม opioid ก่อนหน้านี้ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ในผู้ที่ตอบสนองต่อการใช้ยา opioid ขนาดยาเริ่มต้น น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยที่มีการใช้ยา opioid ในขนาดสูง ขนาดเริ่มต้นขึ้นอยู่กับขนาดการใช้ opioid ในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนหน้า ในระหว่างการเปลี่ยนจากการใช้ยารูปแบบอื่นมาเป็นยารูปแบบแผ่นแปะ ควรค่อยๆลดการใช้ยาในรูปแบบอื่นระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้เปลี่ยนแผ่นแปะทุก 72 ชั่วโมง และเปลี่ยนบริเวณที่แปะทุกครั้งที่แปะยาแผ่นใหม่ หลีกเลี่ยงการแปะยาซ้ำในบริเวณเดิม ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องปรับลดขนาดยา ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาก่อนใช้ยาดมสลบ ยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 50-100 ไมโครกรัม โดยให้ยาก่อนทำการดมยาสลบ 30-60 นาที ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องปรับลดขนาดยา ข้อบ่งใช้สำหรับเป็นยาเสริมของยาดมสลบ ยาในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ในผู้ป่วยที่หายใจได้เอง ขนาดเริ่มต้น 50-200 ไมโครกรัม ตามด้วยขนาดเสริม 50 ไมโครกรัม ขนาดยาสูงสุด 200 ไมโครกรัม ให้ยาในอัตรา 0.05-0.08 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที สำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ขนาดเริ่มต้น 300-3500 ไมโครกรัม ตามด้วยขนาดเสริม 100-200 ไมโครกรัม ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย การให้ loading dose ให้แบบ bolus ผ่านทางหลอดเลือดดำ ขนาดประมาณ 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที โดยให้ในช่วง 10 นาทีแรก ตามด้วยให้แบบ infusion ขนาดประมาณ 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องปรับลดขนาดยา

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Fentanyl

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Fentanyl

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยากลุ่มโอพิออยด์ (opioid) ได้ 
  • ห้ามใช้ยานี้เพื่อบรรเทาอาการปวดแบบเฉียบพลัน หรืออาการปวดอื่นที่ไม่ใช่อาการปวดชนิดรุนแรงหรืออาการปวดหลังผ่าตัด  
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะกดทางเดินหายใจทั้งแบบเฉียบพลันและแบบรุนแรง 
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคปอดที่เกิดความผิดปกติของโครงสร้าง 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลที่ศีรษะ ความดันในกระโหลกสูง 
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต โรคตับ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วย Myasthenia gravis 
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นช้า
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะของโรคปอดเช่น COPD 
  • การใช้ยาเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดความทนต่อยา การเสพติดต่อยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ 
  • การหยุดใช้ยาแบบทันทีอาจนำไปสู่อาการถอนยา แนะนำให้ค่อยลดขนาดยาเพื่อป้องกันความเสี่ยงนี้ 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Fentanyl

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ หายใจลำบาก หลอดลมหดตัว laryngospasm คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นช้า อาการบวมน้ำ กดระบบประสาทส่วนกลาง สับสน มึนงง ง่วงนอน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หลอดเลือดส่วนปลายขยาย เพิ่มความดันในกระโหลก อาการคัน เกิดผื่น ผิวหนังอักเสบ เลือดออกที่เหงือก ส่งผลต่อการรับรส เหงือกร่น ระคายเคืองคอ แผลในจมูก น้ำมูกไหล อาการไอ ปัสสาวะคั่ง อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ การกดระบบทางเดินหายใจ

ข้อมูลการใช้ยา Fentanyl ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา และอยู่ใน category D กรณีใช้ขนาดสูงหรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน คือ ไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 2

ข้อมูลการเก็บรักษายา Fentanyl

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส ป้องกันจากแสง

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fentanyl: Uses, Dosage, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/fentanyl.html)
Fentanyl | Drug Overdose. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/drugoverdose/opioids/fentanyl.html)
Fentanyl: Use, abuse, side effects, and warnings. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/308156)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)