ทับทิม สุดยอดราชินีแห่งผลไม้ มีประโยชน์ทั้งต้น

ทับทิม ผลไม้ขึ้นชื่อ "ราชินีแห่งผลไม้" มาพร้อมกับคุณประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพมากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทับทิม สุดยอดราชินีแห่งผลไม้ มีประโยชน์ทั้งต้น

ทับทิม เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของคุณประโยชน์ที่มากมายจนได้รับสมญาว่า ราชินีแห่งผลไม้ ไม่เพียงเท่านั้นทับทิมยังเป็นผลไม้ที่มีการนำมาใช้ในวงการแพทย์มาแล้วนับพันปี 

ในปัจจุบันมีกระแสการรับประทานกันทั่วโลก ไม่ว่าจะในรูปแบบผลทับทิมสด น้ำผลไม้สกัดเพื่อสุขภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประโยชน์ของทับทิม

1. วิตามินซีสูงมาก

ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก ในน้ำทับทิมเพียง 1 แก้ว มีวิตามินซีถึงร้อยละ 40 ของปริมาณที่เราต้องการในหนึ่งวัน (สำหรับผู้ใหญ่) ด้วยปริมาณวิตามินซีที่สูงในระดับนี้จึงมีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหวัด หรือแพ้อากาศได้อย่างดี

2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ

การรับประทานทับทิมสด หรือจะคั้นเอาแต่น้ำ จะช่วยให้ผิวพรรณดูสดใส เนื่องจากทับทิมมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย ลดการเกิดริ้วรอยในผิวของเรา และด้วยปริมาณวิตามินซีที่สูงจึงช่วยในเรื่องทำให้ผิวกระจ่างใส 

นอกจากนี้เรายังสามารถใช้น้ำทับทิมประมาณ 1 ช้อนชา ทาบริเวณใบหน้า ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยในการบำรุงผิวหน้าให้ดูเต่งตึงมากขึ้นได้อีกด้วย

น้ำมันจากเมล็ดและสารสกัดจากเปลือกผลทับทิมมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนัง โดยกระตุ้นการสร้างและยับยั้งการทำลายคอลลาเจน และพบจากการทดลองในหนูว่า สารสกัดที่มี ellagic acid ร้อยละ 90 จะช่วยยับยั้งไม่ให้ผิวคล้ำเนื่องจากรังสีอุลตราไวโอเลตได้ รวมทั้งสามารถป้องกันการทำลายผิวจากรังสีอุลตราไวโอเลตชนิด เอ 

จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ข้อนี้สามารถยืนยันได้จากที่ในปัจจุบัน มีเครื่องสำอาง หรือครีมหลายชนิดได้นำทับทิมไปเป็นส่วนประกอบสำคัญ 

3. หลอดเลือดและหัวใจดีขึ้น

ในทางการแพทย์มีการวิจัยแล้วพบว่า ทับทิมมีสรรพคุณช่วยในการทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดภาวะการขาดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เมื่อรับประทานน้ำทับทิมวันละ 50ซีซี จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 5 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำทับทิมมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือดของผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ลดระดับการเกิดออกซิเดชันของไขมัน และช่วยเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด สารสกัดจากดอกและเปลือกทับทิม และ ellagic acid ช่วยลดคอเลสเตอรอล  LDL  VLDL  ไตรกลีเซอไรด์ และช่วยเพิ่ม HDLได้อีกด้วย

4. ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

สาร ellagic acid ที่พบในทับทิมมีฤทธิ์ต้านมะเร็งในเนื้อเยื่อหลายชนิด เช่น ลำไส้ ทางเดินอาหาร ตับ ปอด ลิ้น และผิวหนัง โดยมีฤทธิ์กระตุ้นการเกิดกระบวนการตายของเซลล์มะเร็ง (apoptosis) บางชนิด มีฤทธิ์ต้านสารก่อมะเร็ง เช่น nitrosamines, azoxymethane, mycotoxins และ polycyclic aromatic hydrocarbons  

5. ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ตำรับยาที่มีเปลือกผลทับทิมเป็นส่วนประกอบ เมื่อนำมารักษาอาการท้องเสียในเด็กและทารก 305 คน  ทารกจำนวน 281 คนในจำนวนนี้ อาการท้องเสียหายไปภายใน 1 - 3 วัน และทารกอีก 9 คนมีอาการดีขึ้น ส่วนจำนวนที่เหลือไม่มีรายงาน

6. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

น้ำทับทิมสามารถป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อในลำไส้เล็กและลดการถ่ายเหลวได้ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษ คือ Listeria monocytogenes และสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ Bifidobacterium breve และ B. infantis ซึ่งช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และช่วยระบบขับถ่าย  สารสกัดจากเปลือกผลทับทิมมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ และอุจจาระร่วง

7. ประโยชน์อื่นๆ 

  • ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องในหญิงมีครรภ์ 
  • ช่วยปรับสมดุลในวัยหมดประจำเดือน 
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ 
  • ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน 
  • เสริมสุขภาพกระดูกลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน 
  • ป้องกันการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ
  • ลดการเกิดตกขาว 

เรียกได้ว่า ทับทิมมีสรรพคุณมากมายจริงๆ สำหรับผลไม้ชนิดนี้ นอกจากเมล็ดทับทิมส่วนที่เรานิยมรับประทานกันแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กัน ในทางการแพทย์แผนไทยนำส่วนต่างๆของทับทิมมาใช้เป็นยารักษาผู้ไข้ (คำเรียกในสมัยนั้น) ได้ดังนี้

  • ใบ : สามารถทำน้ำยาบ้วนปาก หรือล้างตาได้ ยาพอกที่ทำจากใบสามารถช่วยบรรเทาอาการผมร่วงได้อย่างดี
  • เปลือก : มีฤทธิ์ฝาดสมาน ช่วยสมานแผล ลดการเกิดริ้วรอยในผิวของเรา ใช้รักษาแผลหิด กากเกลื้อน และมีสรรพคุณเกี่ยวกับการรักษาโรคในทางเดินอาหาร เช่น รักษาอาการท้องร่วงได้ 
  • เปลือกของลำต้น และราก : สามารถนำมาทำเป็นยาถ่ายพยาธิได้อีกด้วย โดยนำมาผสมกับกานพลู และอาจใส่ดีเกลือต้มกับน้ำประมาณสามถ้วย มีสรรพคุณในการถ่ายพยาธิ
  • ดอก : มีสรรพคุณในการสมานแผล และบรรเทาอาการอักเสบของหูชั้นใน

ทับทิม ถือเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ในทุกส่วนของต้น ไม่ใช่เพียงแต่เมล็ด หรือน้ำทับทิม จึงไม่แปลกใจเลยที่ผลไม้ชนิดนี้จะได้รับสมญานามว่า "ราชชินีแห่งผลไม้"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการใช้ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

  1. นำเปลือกทับทิมมาต้มกับน้ำจนเดือด ให้เด็กดื่มน้ำทับทิมครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง และ 1 ช้อนโต๊ะ สำหรับผู้ใหญ่ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ แก้ท้องร่วง
  2. ใช้เปลือกแห้งฝนน้ำรับประทาน แก้ท้องร่วง

ชาใบทับทิม ดีไหม?

สามารถรับประทานได้ในปริมาณพอเหมาะ ไม่ควรรับประทานแทนน้ำ กรณีรับประทานต่อเนื่อง ไม่ควรรับประทานเกิน 3 สัปดาห์ 

ดื่มน้ำทับทิมก่อนนอน ช่วยอะไร?

จะช่วยในการฟื้นฟูและซ่อมแซมร่างกาย เนื่องจากมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ยับยั้งการทำลายคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง

บริโภคมากๆ อันตรายไหม? 

ยังไม่พบรายงานความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ยาทุกชนิดและพืชสมุนไพรทุกชนิดที่รับประทานเข้าไปต้องถูกกำจัดออกจากร่างกายด้วยตับและไตทั้งสิ้น กรณีรับประทานปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน คาดว่า จะส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อตับและไตได้ อีกทั้งทับทิมมีฤทธิ์ฝาดสมาน อาจส่งผลให้ท้องผูกได้

โทษของทับทิม มีอะไรบ้าง?

กรณีผู้รับประทานแพ้ทับทิม จะเกิดผื่นลมพิษ การบวมที่ลิ้น ริมฝีปาก มือ แขน ใบหน้า คันตา ตาแดง ระคายเคืองจมูก หายใจลำบาก และอาจเกิดภาวะแพ้รุนแรง (anaphylactic)ได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สํานักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ทับทิม (http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/punica.html)
วัลวิภา เสืออุดม ระพีพันธุ์ ศิริเดช วิภาพรรณ ชนะภักดิ์และระพีพร ชนะภักดิ์,ทับทิมผลไม้เพื่อสุขภาพ Healthy pomegranate fruit (http://scijournal.hcu.ac.th/data), ธันวาคม 2559
รองศาสตราจารย์. ดร. กรกช อินทราพิเชฐ รองศาสตราจารย์. ดร. กนกอร อินทราพิเชฐ รองศาสตราจารย์. ดร. ศจีรา คุปพิทยานันท์, ทับทิม (Punica granatum) ไทยเพื่อสุขภาพ (http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5152/1/Fulltext.pdf), ตุลาคม 2555

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)