สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นปราศจากน้ำตาลแต่ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นปราศจากน้ำตาลแต่ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย?

หลายหน่วยงานได้ออกมาเตือนการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อลดความอ้วน, ลดการเกิดโรคกลุ่มเมตะบอลิกและโรคเบาหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นสามารถให้ความหวานได้โดยไม่ได้ให้พลังงาน ทำให้มันดูเป็นคำตอบสำหรับการลดน้ำหนัก เพราะการดื่มน้ำอัดลมที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นให้พลังงาน 0 แคลอรีเมื่อเทียบกับ 150 แคลอรีในน้ำอัดลมปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม American Heart Association (AHA) และ American Diabetes Association (ADA) ได้ออกมาสนับสนุนการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพื่อลดความอ้วน, ลดการเกิดโรคเมตะบอลิกและโรคเบาหวานซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณลดการรับประทานน้ำตาลและพลังงานที่คุณรับประทานได้ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน

อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวนั้นก็มีข้อเสียเช่นกัน และนักวิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงดังกล่าว สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกัน

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติให้ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ทั้งหมด 5 ชนิดคือ saccharin, acesulfame, aspartame, neotame และ sucralose และ stevia ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่มีพลังงานต่ำ แต่การตอบสนองของร่างกายและสมองต่อสารดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน

สิ่งหนึ่งที่ต้องกังวลก็คือผู้ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นอาจจะไปเพิ่มแคลอรีจากแหล่งอื่นแทนซึ่งก็จะไม่ได้ช่วยในการลดน้ำหนักหรือทำให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพแต่อย่างใดผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังอาจเปลี่ยนวิธีการรับรสของเราอีกด้วย เนื่องจากสารให้ความหวานเหล่านี้มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำตาลมาก จึงอาจทำให้เกิดการตุ้นตัวรับน้ำตาลที่มากเกินไปและส่งผลต่อการรับรสอื่นๆ ตามมา นั่นหมายความว่าผู้ที่รับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลดังกล่าวเป็นประจำนั้นอาจจะเริ่มรับรู้รสหวานในอาหาร, ผัก หรือผลไม้ได้ลดลง ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ที่รับประทานสารดังกล่าวนั้นอาจจะเลิกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ปรุงรสและมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าแทน

สารให้ความหวานเหล่านี้ยังอาจทำให้ร่างกายต้องการความหวานเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหารหวานแทนอาหารที่ดีต่อสุขภาพและทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น งานวิจัยหนึ่งได้พบว่าผู้ที่รับประทานเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมากกว่า 21 แก้วต่อสัปดาห์นั้นจะมีแนวโน้มในการเป็นโรคอ้วนมากขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยในสัตว์ทดลองยังพบว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเสพติดได้อีกด้วย

แล้วจะรับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้จะปลอดภัยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคำนิยามของคำว่าปลอดภัยสำหรับแต่ละบุคคล และในปัจจุบันก็ยังไม่ทราบว่าผลของการรับประทานสารเหล่านี้ในปริมาณมากเป็นเวลานานๆ นั้นส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่อย่างไร

นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าการรับประทานเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำทุกวันนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคเมตะบอลิกถึง 36% และโรคเบาหวาน 67% 

แล้วเราควรเปลี่ยนกลับมาใช้น้ำตาลแทนหรือไม่?

บางทีการใช้น้ำตาลนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป มันขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ อาหารที่มีน้ำตาลตามธรรมชาติเช่นผลไม้สดมักจะมีคุณค่าทางอาหารสูงอยู่เดิม ในขณะที่การรับประทานน้ำตาลสังเคราะห์แบบเข้มข้นนั้นในปริมาณมากนั้นจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับอินซูลิน, ระดับ triglycerides, สารที่ทำให้เกิดการอักเสบและอนุมูลอิสระให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนแต่จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเรื้อรังอื่นๆ เพิ่มขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The truth about sweeteners. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/are-sweeteners-safe/)
7 best sweeteners and sugar substitutes for people with diabetes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323469)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป