เหล่าคนรักสุขภาพหลายคนอาจรู้มาว่าการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปไม่ดีต่อร่างกาย แต่ชีวิตขาดหวานไม่ได้ จึงเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ติดป้าย “Sugar free” หรือ “ปราศจากน้ำตาล” แทน แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเมื่อรับอาหารและเครื่องดื่มเหล่านั้นเข้าไปก็ยังได้รสชาติหวานอยู่ ดังนั้นแล้วมันจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมจริงหรือ HonestDocs มีคำตอบ
น้ำตาลทำให้อ้วนได้อย่างไร?
ก่อนจะพูดถึงอาหารและเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล หรือมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ก่อนอื่นมาทำความรู้จักน้ำตาลจริงๆ กันก่อน ว่ามันจะทำให้คุณอ้วนได้อย่างไร
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาหารส่วนใหญ่ที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นพลังงานคือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรต จากข้าว แป้ง พืชหัว เช่น เผือก มัน โดยปกติแล้วคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม สามารถให้พลังงานแก่ร่างกายได้ประมาณ 4 กิโลแคลลอรี่เทียบเท่ากับ 1 กรัมของอาหารประเภทโปรตีน เมื่อเรารับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเข้าไป จะถูกย่อยเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงานสำหรับเซลล์ต่างๆในร่างกาย และน้ำตาลส่วนที่เหลือจะถูกสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อในรูปแบบไขมัน เรียกว่า ไกลโคเจน หรือเป็นพลังงานสำรอง และจะถูกสะสมไว้เรื่อยๆหากไม่ถูกนำมาเผาผลาญเป็นพลังงาน ทำให้เราอ้วนขึ้นนั่นเอง
เมื่อน้ำตาลต่ำหรือสูงเกินไป ร่างกายมีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง?
ร่างกายของคนเราถือว่าป็นสิ่งมหัศจรรย์ สามารถรักษาระดับฮอร์โมนและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่สภาวะปกติได้อยู่เสมอ แม้คุณจะรับประทานน้ำตาลมากว่าปกติ หรือแทบจะไม่ได้รับประทานอะไรเลย ร่างกายก็ยังมีแหล่งพลังงานมาใช้ในการทำงานต่างๆ ได้
ทั้งนี้ ความไม่สมดุลของน้ำตาลก็มีผลระยะยาวทำให้อวัยวะภายในบกพร่อง ก่อให้เกิดเป็นโรคประจำตัวยอดนิยมต่างๆ ได้ เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
อาการขาดน้ำตาลหรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทางการแพทย์เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) จะมีอาการเวียนศีรษะ หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลีย หน้ามืด ใจสั่น ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ นอนไม่ค่อยหลับ ในทางกลับกัน หากร่างกายมีน้ำตาลในเลือดมากจนเกิดไป หรือเรียกว่าภาวะไฮเปอร์ไกลซีเมีย (Hyperglycemia) จะทำให้มีอาการกระหายน้ำมาก มองเห็นไม่ชัด ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นลม หมดสติ ทั้งนี้เกิดจากเลือดข้น หนืด ทำให้การไหลเวียนไปอวัยวะต่างๆ ไม่ดี จึงทำให้มีอาการดังกล่าวนั่นเอง
Sugar free นั้นดีจริงหรือไม่?
ความจริงแล้วเครื่องดื่มหรืออาหารที่เขียนว่า “Sugar free” นั้นใส่สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือเรียกอีกชื่อว่า สารแอสปาร์แตม (Aspartame) มีลักษณะเป็นผงสีขาว ระดับความหวานจะหวานกว่าน้ำตาล 200 เท่า แต่ให้พลังงานต่ำ ทำให้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมาก เพราะใช้ในปริมาณน้อย
ข้อดีของสารแอสปาร์แตมคือให้พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งน้ำตาลเทียมชนิดนี้ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากบริโภคมากเกินไปจนร่างกายขับออกไม่หมด ก็สามารถทำให้ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดโรคอ้วน ยิ่งไปกว่านั้น แอสปาร์เทมเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนี้หากรับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นระยะเวลานาน สมองก็จะกระตุ้นให้อยากกินน้ำตาลมากขึ้นกว่าเดิม จนต้องรับประทานของหวานมากกว่าปกติ ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
หวานแค่ไหนถึงเรียกว่าพอดี?
ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้รับประทานน้ำตาลเพียงวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 25 กรัมต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. ที่รณรงค์ให้มีการใช้น้ำตาลซองสำหรับใส่เครื่องดื่มให้ขนาดเล็กลง ภายใต้โครงการ “หวานพอดีที่ 4 กรัม” เพื่อช่วยลดปริมาณการบริโภคน้ำตาลในแต่ละวัน
หญ้าหวาน ทางเลือกใหม่แทนน้ำตาล
องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป อนุญาตให้มีการใช้สารสกัดยาหวานเป็นสารทดแทนน้ำตาลสามารถผสมในเครื่องดื่มได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และประเทศไทยอนุญาตให้มีการผลิตและจำหน่ายหญ้าหวานได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ใบหญ้าหวานจะมีสารให้ความหวาน ชื่อว่าสเตวิโอไซด์ (Stevioside) โดยจะมีรสหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักและผู้ที่มีโรคประจำตัว สามารถช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด