กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Phenylalanine (ฟีนิลอะลานิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

ข้อมูลภาพรวมของฟีนิลอะลานิน

ฟีนิลอะลานิน (Phenylalanine) คือกรดอะมิโนที่เป็น “หน่วยโครงสร้าง” ของโปรตีน โดยฟีนิลอะลานินมีอยู่สามแบบคือ D-phenylalanine, L-phenylalanine, และแบบที่ผสมขึ้นจากห้องปฏิบัติการณ์ที่เรียกว่า DL-phenylalanine สำหรับ D-phenylalanine นั้นถูกจัดว่าเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น ที่บทบาทยังคงเป็นปริศนา ส่วน L-phenylalanine จัดว่าเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและเป็นฟีนิลอะลานินเพียงแบบเดียวที่พบในโปรตีน อาหารที่อุดมไปด้วย L-phenylalanine คือเนื้อสัตว์, ปลา, ไข่, ชีส, และนม

ฟีนิลอะลานินถูกใช้รักษาโรคผิวหนังที่เรียกว่าโรคด่างขาว (vitiligo), ภาวะซึมเศร้า (depression), โรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)), โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease), โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis), บรรเทาอาการเจ็บปวด, ใช้ในการระงับความเจ็บปวดแบบฝังเข็ม, โรคข้ออักเสบ (osteoarthritis), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), ลดน้ำหนัก, และอาการถอนแอลกอฮอล์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางคนใช้วิธีทาฟีนิลอะลานินบนผิวหนังเพื่อรักษาโรคด่างขาวและจุดด่างดำบนผิวหนังเนื่องจากการแก่ตัว (กระผู้สูงอายุ (liver spots))

ฟีนิลอะลานินออกฤทธิ์อย่างไร?

ร่างกายใช้ฟีนิลอะลานินในการผลิตสารเคมีส่งสัญญาณ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าฟีนิลอะลานินทำงานได้อย่างไร

การใช้และประสิทธิภาพของฟีนิลอะลานิน

ภาวะที่อาจใช้ฟีนิลอะลานินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคด่างขาว (vitiligo) การทาน L-phenylalanine ร่วมกับการทาครีมกัน UVA หรือทา L-phenylalanine บนผิวหนังอาจช่วยรักษาโรคด่างขาวได้ดีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ภาวะที่ฟีนิลอะลานินอาจไม่สามารถรักษาได้

  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าผู้ป่วย ADHD จะมีระดับของกรดอะมิโนอย่างฟีนิลอะลานินที่ต่ำ ดังนั้นการรักษาด้วยฟีนิลอะลานินอาจทำให้อาการของ ADHD ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานฟีนิลอะลานินก็ไม่ได้ส่งผลดังที่คาดการณ์ไว้แต่อย่างใด
  • ความเจ็บปวด การทาน D-phenylalanine ไม่ได้ช่วยลดความเจ็บปวดลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ฟีนิลอะลานินรักษาได้หรือไม่

  • การระงับประสาทแบบฝังเข็ม (Acupuncture anesthesia) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน D-phenylalanine อาจเพิ่มผลจากการระงับประสาทแบบฝังเข็มก่อนการถอนฟันได้ อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้ก็ไม่อาจเพิ่มผลของการระงับประสาทแบบฝังเข็มกับอาการปวดหลังได้
  • ผิวหนังแก่ตัว งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาครีม undecylenoyl phenylalanine 2% ที่ผิวหนังสองครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์สามารถลดรอยจุดบนผิวหนังจากการแก่ตัวได้
  • ภาวะติดสุรา (Alcoholism) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน D-phenylalanine, L-glutamine, และ L-5-hydroxytryptophan นาน 40 วันสามารถลดอาการจากภาวะถอนแอลกอฮอล์ได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีข้อมูลจากงานวิจัยทางคลินิกที่กล่าวว่า L-phenylalanine หรือ DL-phenylalanin อาจรักษาภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ยังคงต้องมีการพิสูจน์มากกว่านี้ และการทาน D-phenylalanine ก็ไม่ได้ช่วยให้อาการของภาวะนี้ดีขึ้น
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ Cari Loder's regiment ที่ประกอบด้วย L-phenylalanine, lofepramine, และการฉีดวิตามิน B12 เข้ากล้ามเนื้อเป็นเวลา 24 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยแก้ไขภาวะพิการของผู้ป่วยจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแต่อย่างใด
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) มีข้อมูลงานวิจัยที่กล่าวว่า D-phenylalanine อาจลดอาการของโรคพากินสันได้ อย่างไรก็ตามหากเป็นการทาน DL-phenylalanine นั้นไม่อาจได้ผลเช่นนั้น
  • ภาวะขาดฟีนิลอะลานิน (Phenylalanine deficiency) งานวิจัยกล่าวว่าการทานฟีนิลอะลานินอาจช่วยบรรเทาภาวะขาดฟีนิลอะลานินในเด็กที่เป็นโรค tyrosinemia ได้
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานฟีนิลอะลานินไม่ได้ช่วยลดอาการหิวของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้
  • ข้ออักเสบ (Arthritis)
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของฟีนิลอะลานินเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของฟีนิลอะลานิน

L-phenylalanine ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่พบในอาหารปกติ

L-phenylalanine จะถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อบริโภคเป็นยาหรือทาบนผิวหนังในรูปของครีมในช่วงสั้น ๆ

ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยของ D-phenylalanine

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: สำหรับกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่มีระดับฟีนิลอะลานินในร่างกายปกติ การรับประทานฟีนิลอะลานินจะถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณที่พบได้ในอาหาร อย่างไรก็ตามการที่มีฟีนิลอะลานินในระบบของมารดามีครรภ์มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อความพิการของทารกได้ โดยความเสี่ยงต่อการพิการใบหน้าของทารกจะเกิดขึ้นสูงสุดที่สัปดาห์ที่ 10-14, ที่ระบบประสาทและการเจริญเติบโตที่ระหว่าง 3-14 สัปดาห์, และความพิการที่หัวใจที่ช่วงสัปดาห์ที่ 3-8 สำหรับผู้หญิงที่ใช้ฟีนิลอะลานินเป็นปรกติและมีระดับฟีนิลอะลานินที่ปกติก็สามารถรับฟีนิลอะลานินจากอาหารเพิ่มได้ แต่ไม่ควรได้รับในปริมาณที่สูงไป สำหรับผู้หญิงที่มีระดับฟีนิลอะลานินสูง การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยฟีนิลอะลานินตามปรกติจะถูกจัดว่าไม่ปลอดภัย โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำคนกลุ่มนี้ว่าควรรับประทานอาหารที่มีฟีนิลอะลานินต่ำอย่างน้อย 20 สัปดาห์ก่อนจะเริ่มตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการพิการของทารกลง

ฟีนิลอะลานินสำหรับผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรและมีระดับฟีนิลอะลานินปรกตินั้นถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยที่จะบริโภคในปริมาณที่พบในอาหาร อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรได้รับมากกว่านั้นอีก ซึ่งณ ตอนนี้ยังคงไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ฟีนิลอะลานินทางการแพทย์ว่าส่งผลอย่างไรระหว่างการให้นมบุตร

Phenylketonuria (PKU) และภาวะอื่น ที่ทำให้มีระดับฟีนิลอะลานินสูง: ผู้ที่มีภาวะผิดปรกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายสะสมฟีนิลอะลานินมากเกินไปควรเลี่ยงการรับประทานฟีนิลอะลานิน โดยPhenylketonuria (PKU) คือหนึ่งในโรคเหล่านั้นที่เมื่อได้รับฟีนิลอะลานินจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation), ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง (stroke), และภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ มากมายตามมา PKU เป็นภาวะที่มีความร้ายแรงมากเสียจนทารกทุกคนจะต้องถูกตรวจคัดกรองหลังคลอดออกมาเพื่อชี้ชัดว่าพวกเขามีภาวะผิดปรกตินี้หรือไม่ และหากเป็น พวกเขาจำต้องได้รับอาหารชนิดพิเศษเพื่อเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ

จิตเภท (Schizophrenia): คนกลุ่มนี้ควรใช้ฟีนิลอะลานินอย่างระมัดระวังเนื่องจากฟีนิลอะลานินอาจทำให้ผู้ป่วยจิตเภทรุนแรงเกิดภาวะเคลื่อนไหวผิดปรกติ (tardive dyskinesia) ได้

การใช้ฟีนิลอะลานินร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้ฟีนิลอะลานินร่วมกับยาเหล่านี้

  • Levodopa กับฟีนิลอะลานิน

ยา Levodopa เป็นยาสำหรับโรคพากินสัน ซึ่งการทานร่วมกับฟีนิลอะลานินจะทำให้โรคพากินสันมีอาการมากขึ้น ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยา Levodopa อยู่ไม่ควรได้รับฟีนิลอะลานินเด็ดขาด

ใช้ฟีนิลอะลานินร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับภาวะทางจิต (Antipsychotic drugs) กับฟีนิลอะลานิน

ยาสำหรับภาวะทางจิตอาจทำให้กล้ามเนื้อมีอาการสั่นกระตุกได้ โดยการทานฟีนิลอะลานินร่วมกับยาภาวะทางจิตเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการนี้ขึ้น ตัวอย่างยาทางจิตมีทั้ง chlorpromazine (Thorazine), clozapine (Clozaril), fluphenazine (Prolixin), haloperidol (Haldol), olanzapine (Zyprexa), perphenazine (Trilafon), prochlorperazine (Compazine), quetiapine (Seroquel), risperidone (Risperdal), thioridazine (Mellaril), thiothixene (Navane), และอื่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับโรคด่างขาว: L-phenylalanine 50-100 mg/kg หนึ่งครั้งต่อวัน หรือ L-phenylalanine 50 mg/kg สามครั้งต่อสัปดาห์นาน 3 เดือน

ทาบนผิวหนัง:

  • สำหรับโรคด่างขาว: ครีมฟีนิลอะลานิน 10% บนผิวหนัง

เด็ก

รับประทาน:

  • สำหรับโรคด่างขาว: ฟีนิลอะลานิน 100 mg/kg สองครั้งต่อสัปดาห์นาน 3-4 เดือน

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Singh, V., Rai, R., Arora, A. et al. Therapeutic implication of L-phenylalanine aggregation mechanism and its modulation by D-phenylalanine in phenylketonuria. Sci Rep 4, 3875 (2015). https://doi.org/10.1038/srep03875. Nature. (Available via: https://www.nature.com/articles/srep03875)
Ueda, K., Sanbongi, C., Yamaguchi, M. et al. The effects of phenylalanine on exercise-induced fat oxidation: a preliminary, double-blind, placebo-controlled, crossover trial. J Int Soc Sports Nutr 14, 34 (2017). https://doi.org/10.1186/s12970-017-0191-x. Journal of the International Society of Sports Nutrition. (Available via: https://jissn.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12970-017-0191-x)
Phenylalanine: Health Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. RxList. (Available via: https://www.rxlist.com/phenylalanine/supplements.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)