กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Vitiligo (โรคด่างขาว)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคด่างขาว เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์ผลิตสีตาย ทำให้ร่างกายหยุดผลิตสารเมลานินจนเกิดเป็นรอยด่างสีขาวบนผิวหนัง สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • โรคด่างขาวแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ โรคด่างขาวที่กระจายเป็นหย่อมๆ เนื่องจากบริเวณที่เกิดด่างขาวได้กระจายตัวไปอยู่ทั่วทั้งร่างกาย กับโรคด่างขาวเฉพาะที่ ซึ่งจะเกิดด่างขาวแค่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายเท่านั้น
  • โรคด่างขาวส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ และความมั่นใจต่อผิว ผู้ป่วยโรคนี้จึงจะปกปิดรอยด่างด้วยเครื่องสำอาง
  • ยังไม่มีวิธีรักษาโรคด่างขาวให้หายขาดได้ แต่จะเป็นการจ่ายยา หรือฉายแสงเพื่อฟื้นฟูเม็ดสีผิวให้กลับมากลมกลืน ไม่แตกต่างกันจนเกินไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจเลเซอร์แก้ปัญหาผิว

ความหมายของโรคด่างขาว

โรคด่างขาว (Vitiligo) เป็นโรคที่ทำให้สีผิวกลายเป็นรอยด่างสีขาวอ่อนๆ บนผิวหนัง มีขอบเขตชัดเจน และอาจส่งผลกระทบถึงสีผม สีตา บริเวณรอบปากและด้านในปาก รูจมูก ช่องทวารหนัก อวัยวะสืบพันธุ์ และสะดือ

โรคด่างขาวมีสาเหตุการเกิดไม่แน่ชัด เป็นความแปรปรวนของภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายเซลล์เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดสีในผิวหนัง และในส่วนต่างๆ ของร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยเฉลี่ยประมาณ 2% ของประชากรทั่วโลกจะเป็นโรคด่างขาว โรคด่างขาวมักจะเริ่มพบก่อนอายุ 40 ปีในช่วงอายุ 10-30 ปี

อาการของโรคด่างขาว

คนส่วนมากที่เป็นโรคด่างขาวนั้นจะมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นปกติ เพราะโรคนี้ไม่ได้ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ระคายเคืองหรือส่งผลต่ออวัยวะภายในร่างกาย แต่จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ภายนอกมากกว่า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดทางอารมณ์ได้

อาการแรกของโรคด่างขาวคือ ผิวหนังมีรอยด่างและกลายเป็นสีอ่อนหรือสีขาวขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อจุดที่ถูกแดดเป็นส่วนมาก ได้แก่ ใบหน้า ปาก แขน มือ และเท้า 

อาจพบร่วมกับ โรคไทรอยด์ เบาหวาน โลหิตจางบางชนิด โรคผมร่วงเป็นหย่อม 

ส่วนสัญญาณอื่นๆ ของโรคด่างขาวจะมีดังนี้

  • มีผิวอ่อนลงบริเวณรักแร้และสะดือ ข้อศอก ข้อมือ ขาหนีบ
  • ผมกลายเป็นสีขาวหรือเทาก่อนอายุ 35 รวมไปถึงผมบนกระหม่อม ขนตา หรือขนบนใบหน้า เช่น คิ้วหรือเครา
  • สูญเสียสีในเยื่อเมือก รวมถึงบนริมฝีปาก หรือเนื้อเยื่อภายในช่องปาก จมูก ช่องทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธุ์
  • สูญเสียสีในจอประสาทตา ทำให้สีของดวงตาผู้ป่วยอาจดูเปลี่ยนไป

นอกจากนี้ โรคด่างขาวอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์เม็ดสีซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบหูชั้นในด้วย จนอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินบางส่วน หรือทั้งหมดไป ซึ่งการสูญเสียการได้ยินไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับโรคด่างขาว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณพบอาการดังกล่าว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะหากคุณมีอายุต่ำกว่า 40 ปี

ชนิดของโรคด่างขาว

สีผิวที่เปลี่ยนแปลงไปจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคด่างขาวที่เป็น ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้นด้วย โดยโรคด่างขาวสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 

1. โรคด่างขาวที่เกิดกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ

โรคด่างขาวที่เกิดกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ (Non-segmental) เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดและมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "รอยด่างขาวที่เป็นทั้งสองข้าง" โดยจะแบ่งเป็น 

  1. ด่างขาวที่กระจายตามส่วนต่างๆ ทั่วไป (Vitiligo vulgaris) ส่วนมากจะพบในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ 
  2. ด่างขาวที่เกิดได้ทั่วทั้งตัว (Generalized vitiligo)

อาการของโรคด่างขาวชนิดนี้ ได้แก่

  • มีรอยด่างสีอ่อนเริ่มก่อตัวขึ้นบริเวณทั้งสองข้างของร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มก่อตัวขึ้นบริเวณข้อมือ มือ ปลายนิ้ว หรือรอบๆ ดวงตา และเท้าก่อน
  • สีผมจางลงอย่างรวดเร็ว และจะหยุดไปชั่วขณะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มกลับมาเป็นใหม่อีกครั้ง วงจรของการขึ้นและหยุดของสีผมนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตลอดช่วงชีวิตของคุณ

2. โรคด่างขาวเฉพาะที่

โรคด่างขาวเฉพาะที่ (Segmental) มีอีกชื่อเรียกว่า "โรคยูนิลาเทอรอล วิทิลิโก" (Unilateral vitiligo) ซึ่งอาการของโรคด่างขาวชนิดนี้ มีดังต่อไปนี้

  • มีรอยด่างที่ก่อตัวขึ้นบนผิวหนังข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย เช่น ซีกหน้าข้างหนึ่ง แขนหรือขาข้างหนึ่ง
  • สูญเสียสีผม ทำให้ส่งผลกระทบต่อสีผมบนศีรษะ ขนตา ขนคิ้ว และขนบนใบหน้า
  • ผิวจะเป็นสีด่างตั้งแต่อายุน้อยๆ และจะเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นค่อยหยุด

สาเหตุของโรคด่างขาว

โรคด่างขาวจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เมลาโคไลต์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ผลิตสีผิวตาย หรือหยุดผลิตเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีผิวของคนเรานั่นเอง และยังไม่มีการทราบสาเหตุของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคด่างขาวได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เกิดจากโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง หรืออีกชื่อเรียกคือ "โรคพุ่มพวง" (Systemic Lupus Erythematosus: SLE) หรือ "โรคลูปัส" (Lupus) ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ป้องกันร่างกายหันมาโจมตีเซลล์ที่สร้างเม็ดสี
  • โรคไทรอยด์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำร้ายตนเอง และเป็นโรคที่มักเกี่ยวข้องกับโรคด่างขาวบ่อยที่สุด เพราะโรคด่างขาวที่เกิดกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ยังเป็นสัญญาณของโรคต่อมไทรอยด์ในวัยเด็กได้ด้วย
  • พันธุกรรม โดยพบว่าโรคด่างขาวมักเกิดขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้
  • การสัมผัสกับสารเคมีอุตสาหกรรม 
  • การถูกแสงแดด 
  • ความเครียด
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ก็อาจทำให้เกิดอาการของโรคด่างขาวได้

การวินิจฉัยโรคด่างขาว

คุณควรไปพบแพทย์ หากคุณมีอาการของโรคด่างขาว โดยแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติการรักษา รวมถึงสอบถามว่า คุณเคยมีคนในครอบครัวเป็นโรคด่างขาว หรือเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเองหรือไม่ 

นอกจากนี้ แพทย์อาจเก็บตัวอย่างผลเลือดเพื่อนำไปตรวจโรคไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน และตรวจตาเพิ่มเติม รวมถึงอาจมีการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังเพื่อหาโอกาสการเกิดโรคผิวหนังอื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจต้องการวินิจฉัยในรูปแบบอื่นด้วย เพื่อตรวจหาโรคอื่นๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุของโรคด่างขาว หรือมีอาการคล้ายคลึงกับกับโรคด่างขาวได้ เช่น

  • โรคที่ทำให้เกิดอาการตาอักเสบ
  • โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ที่นอกเหนือจากโรคต่อมไทรอยด์ 
  • โรคที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง เช่น โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของเลือด
  • การติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพยาธิ เช่น 
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสีผิว ดวงตา และการได้ยิน เช่น การสูญเสียเม็ดสีรอบๆ ดวงตาและปาก (Piebaldness) กลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรม (Tuberous sclerosis) และกลุ่มอาการวาร์เดนเบิร์ก (Waardenburg's syndrome)

นอกจากการตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว คุณควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงการใช้ยา อาหารเสริม อาหารที่รับประทาน และการรักษาโรคอื่นๆ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ใช้ด้วย

การรักษาโรคด่างขาว

แม้ว่าไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดสำหรับโรคนี้ แต่มีหลายการบำบัดที่สามารถรักษาโรคด่างขาวได้

โรคด่างขาว เป็นโรคที่ทำให้ผิวหนัง ผม ดวง เยื่อเมือก (ของปาก ริมฝีปาก รูจมูก ช่องทวารหนัก และอวัยวะสืบพันธุ์) และบริเวณอื่น ๆ มีสีอ่อนลง โดยทั่วไปแล้วโรคนี้มักจะไม่มีอาการปวดหรือมีอาการรุนแรงแต่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคภูมิหลังที่สำคัญหรือโรคที่ไม่ค่อยพบ ซึ่งจะภาวะแทรกซ้อนในตัวมันเอง

โรคด่างขาวสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

ไม่มีวิธีการักษาให้หายขาดสำหรับโรคด่างขาว ยกเว้นเสียแต่ว่าโรคนี้นั้นเกิดจากโรคพื้นหลังที่สำคัญซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถึงกระนั้น โรคด่างขาวสามารถควบคุมได้ด้วยหลาย ๆ วิธีเพื่อฟื้นคืนเม็ดสีไปที่ผิวหนังและลดสีผิวที่แตกต่างกัน

การรักษาโรคด่างขาว

การรักษาของคุณอาจเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง วิธีรักษาด้วยเครื่องสำอางเริ่มตั้งแต่การทาครีมที่จัดเป็นยาไปจนถึงการรักษาด้วยเลเซอร์ และการรักษาด้วยแสง

การรักษาที่ดีที่สุดของคุณขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่โรคด่างขาวปรากฏ สุขภาพ และอายุของคุณ รวมถึงระยะเวลา และความสามารถทางการเงินในการรักษา (ประกันสุขภาพอาจไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาด้วยเครื่องสำอาง)

ถ้าคุณเลือกวิธีรักษาทางการแพทย์ ยิ่งคุณตอบสนองต่อรอยด่างของโรคด่างขาวที่ปรากฏบนตัวขึ้นเร็วเท่าไร จะยิ่งเพิ่มโอกาสของความสำเร็จทางการรักษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอางสำหรับโรคด่างขาว

การปกปิดรอยด่างขาวด้วยเครื่องสำอางนั้นปลอดภัย และไม่แพง คุณสามารถใช้รองพื้นที่ให้การปกปิดมาก หรือเครื่องสำอางที่ช่วยให้ผิวเป็นสีแทนด้วยตัวเองเพื่อให้ได้ภาพลักษณ์ในแบบที่คุณต้องการ โดยทั่วไปแล้ว การใช้เครื่องสำอางนั้นปลอดภัย และอ่อนโยนพอสำหรับเด็กแม้ว่าจะต้องใช้ทุกวันก็ตาม

การทายาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับโรคด่างขาว

ยาทาที่จ่ายบ่อยที่สุดสำหรับโรคด่างขาวคือ ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดแรง

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีสีผิวกลับคืนมาภายใน 4-6 เดือน ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีอาการดังนี้

  • ผู้ที่เพิ่งได้รับการตรวจพบ
  • ผู้ที่มีโทนสีผิวค่อนข้างคล้ำ
  • รอยด่างที่เกิดบริเวณใบหน้า (ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ซึ่งเหมือนกับการรักษาชนิดอื่นๆ ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพหากทาบริเวณมือและเท้า)

ผลข้างเคียงของยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์มีดังนี้

  • การเกิดผิวบางถ้าทายาเป็นเวลานาน (โดยทั่วไปแล้วมากกว่า 1 ปี) ผิวหนังอาจบางลง แตก และแห้งได้
  • อาจมีรอยหรือเส้น (ที่เรียกกันว่า รอยแตกลาย) เกิดขึ้นบนผิวหนัง

การรักษาด้วยแสง (การส่องไฟ) สำหรับโรคด่างขาว

โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วยการส่องไฟมักจะทำให้สำนักงานของแพทย์ คลินิก หรือโรงพยาบาล การรักษาด้วยแสงมักจะรวมกับยารักษาอื่น ๆ เช่นยาทา

1. การฉายแสง Narrowband UVB (NB-UVB) สำหรับโรคด่างขาว

การส่องไฟ UVB (NB-UVB) เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายสำหรับการรักษาโรคด่างขาว และกลายเป็นมาตรฐานของการรักษาในหลาย ๆ พื้นที่ 

โดยการรักษาประเภทนี้ แพทย์ใช้ความยาวคลื่น 311 นาโนเมตร (nm) ถ้าเทียบกับการรักษา UVA แบบเก่า การรักษาชนิดนี้ใช้ขนาดรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตที่น้อยกว่าซึ่งให้รอยแดง และรอยไหม้ที่น้อยกว่า รวมถึงยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าอีกด้วย

การรักษาด้วยวิธีนี้นั้นใช้ทั่วร่างกายด้วยการใช้อุปกรณ์ที่สามารถถือได้ด้วยมือ ซึ่งจะฉายแสงไปยังรอยของโรคด่างขาวอย่างตรงจุด การรักษาแบบทั่วร่างกายอาจใช้เวลาน้อยกว่าการรักษาแบบจำเพาะ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ พยายามสัมผัสรังสีของแสงให้น้อยที่สุด

คุณต้องทำการรักษา NB-UVB ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งหมดเป็น 48 การรักษาหรือมากกว่า

2. การส่องไฟด้วยเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์สำหรับโรคด่างขาว

การรักษาด้วยเลเซอร์ที่มีชื่อเรียกว่า "เอ๊กไซเมอร์" เป็นการส่องไฟชนิดที่ใหม่กว่า และปล่อยแสงประเภท (ความยาวคลื่นเดี่ยว) ที่มีความคล้ายกับ UVB แต่มีความจำเพาะมากกว่าด้วยการใช้ความยาวคลื่นที่สั้นกว่า เพียง 308 nm 

โดยทั่วไปแล้วจะให้การรักษาวิธีนี้ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์นาน 6 เดือน

3. การใช้ยา Psoralen และ การรักษาด้วยแสง UVA (PUVA) สำหรับโรคด่างขาว

การรักษาชนิดนี้จะรวมกับการใช้ยา psoralen ซึ่งเป็นยาที่เพิ่มความไวต่อแสง พร้อมกับการรักษาด้วยแสง UVA ยา Psoralen มีในรูปแบบที่สามารถรับประทานได้และในรูปแบบที่ทาบนผิวหนัง การรักษาสามารถทำได้อาทิตย์ละครั้งหรือนานเป็นปี

ผลเสียของการรักษาด้วยการส่องไฟสำหรับโรคด่างขาว

การรักษาโดยการส่องไฟเป็นวิธีรักษาที่ใช้เวลานาน และมีค่ารักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนผลเสียอื่น ๆ ของการรักษาด้วยแสงมีดังนี้

  • การรักษาแบบจำเพาะอาจไม่ช่วยป้องกันรอยใหม่ให้เกิดขึ้น
  • การรักษาทั้งหมดสามารถทำให้เกิดรอยไหม้ และรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง
  • มีการสงสัยว่าการรักษาด้วยแสงอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • ในการรักษา PUVA ยา psoralen เพิ่มความไวต่อแสง คุณจะอาจประสบกับรอยไหม้ ตุ่มพอง และอาการคันอย่างรุนแรง หรือเกิดโรคต้อกระจก

การผ่าตัดสำหรับโรคด่างขาว

ถ้าการใช้ยา และการรักษาด้วยแสงไม่เห็นผลสำหรับคุณ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม การผ่าตัดนั้นดีที่สุดสำหรับ ผู้ใหญ่ที่มีอาการของโรคด่างขาวแบบคงที่มาเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่า และ ผู้ที่ไม่เกิดรอยแผลเป็นง่าย

ขั้นตอนการผ่าตัดสำหรับโรคด่างขาวมีดังนี้

1. การปลูกถ่ายผิวหนัง: นำส่วนเล็ก ๆ ของผิวปกติที่มีสีของคุณถูกจะถูกปลูกถ่าย (grafted) ไปที่ส่วนที่มีสีอ่อน อาการข้างเคียงอาจมี การเป็นแผลเป็น ผิวที่มีลักษณะคล้ายก้อนกรวด สีผิวเป็นหย่อม ๆ และมีการติดเชื้อ การปลูกถ่ายผิวหนังมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อทำบนรอยเล็ก ๆ บนผิวหนัง

2. การปลูกถ่ายตุ่มพอง: ตุ่มพองจะเกิดขึ้นบนผิวหนังปกติของคุณผ่านการดูด ด้านบนของตุ่มพองจะถูกเอาออกและปลูกถ่ายเพื่อให้ได้ผิวหนังที่มีสีอ่อนกว่า ความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้คือ ผิวที่มีลักษณะคล้ายก้อนกรวดและความล้มเหลวที่จะเปลี่ยนสีผิวใหม่ในจุดนั้น การปลูกถ่ายประเภทนี้มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดแผลเป็น

3. การสัก: แพทย์ประจำตัวของคุณเพิ่มเม็ดสีโดยการสักในจุดเล็ก ๆ วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพที่สุดในผู้ที่มีสีผิวคล้ำและในรอบ ๆ ริมฝีปาก ความเสี่ยงที่พบได้คือความยากลำบากในการสีผิวที่เข้ากับ การจางของรอยสัก และการกระตุ้นรอยใหม่ของโรคด่างขาว

การรักษาด้วยตัวเองที่บ้านหรือการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกสำหรับโรคด่างขาว

วิธีอื่น ๆ ที่คุณอาจลองทำด้วยตนเอง 

  • ทาครีมกันแดดทุกครั้ง นี่เป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับทุก ๆ คน โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นโรคด่างขาว เพราะวิธีนี้ช่วยปกป้องผิวของคุณจากการมีผิวเป็นสีด่างในภายภาคหน้าและผิวเสีย
  • การรักษาที่มีชื่อว่า climatotherapy เป็นการรักษา ด้วยการใช้น้ำแร่จากทะเลสาบ Dead Sea และการอาบแดด อาจเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคด่างขาวระดับต้น 

โรคด่างขาวอาจมีปัจจัยทำให้เกิดโรคที่อยู่เหนือการควบคุม แต่เราก็สามารถลดโอกาสการเกิดโรคที่ส่งผลต่อความมั่นใจในภาพลักษณ์ได้ด้วยการดูแลสุขภาพผิวให้แข็งแรงเสมอ 

และหากพบว่า ผิวหนังของตนเองมีสีคล้ายกับโรคด่างขาว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย และรักษา เพื่อที่ผิวหนังของคุณจะได้รับการฟื้นฟูให้กลับมีสีกลมกลืนกันโดยเร็ว ไม่ทำให้เสียความมั่นใจในการพบปะผู้คนในทุกๆ วัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitiligo: Practice Essentials, Background, Pathophysiology. Medscape. (Available via: https://emedicine.medscape.com/article/1068962-overview)
Vitiligo: More than skin deep. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/blog/vitiligo-more-than-skin-deep-2019092617885)
Vitiligo. DermNet NZ. (Available via: https://dermnetnz.org/topics/vitiligo/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นด่างขาวอยากหายทำยังไงดีคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกสาวอายุ6ขวบเป็นโรคด่างขาวบนใบยาวประมาณ30เซนติเมตรเป็นมาประมาณ3เดือนแล้วครับมีโอกาสรักษาหายไม่ครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคด่างขาวรักษาได้ไหมครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคด่างขาวจะเกิดจากการทานกลูต้า คอลลาเจนได้หรือเปล่าคะในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคด่างขาว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นโรคด่างขาวรักษาใด้ใหม
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ