โรคลูปัส (Lupus) เรียกอีกอย่างได้ว่าโรคแพ้ภูมิตัวเอง เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะที่แข็งแรงเป็นปกติ ทำให้เกิดการอักเสบและบวม โดยเฉพาะบริเวณกระดูก ข้อต่อ และอวัยวะที่สำคัญอย่างตับ หัวใจ และปอด ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเกิดการโจมตีที่ส่วนใดของร่างกาย
โรคลูปัสพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุ 15-44 ปี ซึ่งอาจพบว่าอาการค่อยๆ ปรากฎ หรืออาจเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเลยก็ได้ โรคนี้วินิจฉัยอาการระยะแรกได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการทั่วไปมักใกล้เคียงกับอาการของโรคอื่นๆ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคลูปัสสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดังนี้
- โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "โรคพุ่มพวง" เป็นชนิดของโรคลูปัสที่สามารถพบได้มากที่สุด เกิดอาการได้กับทุกอวัยวะทั่วร่าง มีความรุนแรงได้ตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรงมาก โรคลูปัสชนิด SLE ถือว่ามีความรุนแรงกว่าลูปัสชนิดอื่นๆ อาจทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง ข้อต่อ ปอด ไต เลือด หัวใจ หรืออักเสบที่หลายส่วนร่วมกันก็ได้ ตามปกติโรคนี้จะมีอาการเป็นวัฏจักร ในช่วงหนึ่ง ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการอะไรเลย จนเมื่อถึงช่วงโรคกำเริบ ก็จะมีอาการปรากฏ
- โรค DLE (Discoid Lupus Erythematosus) หรือโรคลูปัสที่ผิวหนัง ผู้ป่วยอาจพบว่าผิวหนังเป็นผื่นหนาขึ้นและเป็นสะเก็ด บริเวณใบหน้า คอ และหนังศีรษะ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลได้ในเวลาต่อมา จากนั้นผื่นอาจคงอยู่ในชั่วเวลาเพียงไม่กี่วัน ไปจนถึงหลายปี และถึงหายไปก็อาจเกิดซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม โรคลูปัสชนิด DLE ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่ออวัยวะภายใน แต่องค์กร Lupus Foundation of America พบว่าผู้ป่วยจำนวนถึง 10 % จะมีการพัฒนาของโรคไปเป็น SLE (ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากความจริงผู้ป่วยเหล่านี้อาจเป็น SLE อยู่แล้ว เพียงแต่มีอาการแสดงทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น DLE ก็ได้
- โรคลูปัสใต้ผิวหนัง (Subacute Cutaneous Lupus Erythematosus) หากเป็นโรคนี้ เมื่อร่างกายสัมผัสกับแสงแดดจะเกิดอาการที่ผิวหนัง แต่รอยโรคไม่ทำให้เกิดแผลเป็น
- โรคลูปัสในทารกแรกเกิด (Neonatal Lupus) ทารกที่มีภาวะนี้มักจะมีปัญหาที่ผิวหนังและตับ บางรายอาจพบการเกิดภาวะโลหิตจางร่วมด้วย
- โรคลูปัสที่เกิดจากยา (Drug-Induced Lupus) มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคลูปัสชั่วคราวได้ เช่น ยาไฮดราซาลีน (Hydralazine) ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือยาไอโซไอนาซีด (Isoniazid) ที่ใช้รักษาวัณโรค หากเกิดลูปัสจากสาเหตุนี้ เมื่อหยุดยาแล้วมักจะหาย แต่ก็มีบางกรณีซึ่งน้อยมากที่หยุดยาแล้วก็ยังคงมีอาการของโรคลูปัสต่อไป
อาการของโรคลูปัส
ผู้ป่วยโรคลูปัส มักจะมีอาการดังนี้
- เป็นไข้
- เมื่อยล้า
- ข้อแข็ง บวม และปวด
- ปวดกล้ามเนื้อ
- แผลที่ผิวหนังแย่ลงเมื่อเจอแสงแดด
- หายใจถี่
- เจ็บหน้าอก
- ตาแห้ง
- นิ้วมือและนิ้วเท้าเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีน้ำเงินเมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรือเกิดความเครียด
- ปวดหัว สับสนมึนงง หรือสูญเสียความจำ
- ผมร่วง
- บวมที่ต่อมต่างๆ รวมถึงขา และรอบดวงตา
- เป็นแผลในปาก
- น้ำหนักลด
ประมาณ 50 % ของผู้ป่วยโรคลูปัสจะมีผื่นปีกผีเสื้อ (Butterfly rash) เอกลักษณ์หนึ่งของโรคลูปัส เกิดขึ้นบนใบหน้า ผื่นชนิดนี้จะครอบคลุมไปทั่วแก้มทั้งสองข้าง และจะคาดตรงจมูกคล้ายปีกผีเสื้อ มักมีสีแดง นูน และเป็นเกล็ด อาจเกิดขึ้นหลังจากโดนแดดหรือตอนไหนก็ได้
การอักเสบใดๆ ที่เกิดจากภาวะนี้สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ไตวาย หลอดเลือดอักเสบ เลือดออกในปอดและปอดบวม โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ การเกิดโรคลูปัสยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากเกิดในสตรีมีครรภ์ อาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรจากภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ และการคลอดก่อนกำหนด
สาเหตุของโรคลูปัส
โรคลูปัสเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าทำลายเนื้อเยื่อดีของร่างกายตัวเอง โดยเชื่อกันว่าเกิดจากความผิดปกติด้านพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพบว่าในกลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นโรคนี้อยู่ หรือมีคนในสายเลือดเดียวกันเป็นลูปัส จะเกิดการพัฒนาโรคขึ้นเมื่อไปสัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอกบางอย่าง เช่น แสงแดด การติดเชื้อ การกินยาบางชนิด
กลุ่มเสี่ยงที่มักเกิดโรคลูปัส
ลูปัสเป็นโรคพบบ่อยในเพศหญิง อายุระหว่าง 15-45 ปี เชื้อชาติแอฟริกัน-อเมริกัน ฮิสปานิก และเอเชียน-อเมริกัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การตรวจและวินิจฉัยโรค
ยังไม่มีการตรวจโรคใดๆ ที่เป็นมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยโรคลูปัส การระบุโรคนี้ค่อนข้างยาก เพราะอาการเริ่มต้นมักเหมือนกับอาการของโรคอื่นๆ จึงอาจต้องใช้เวลาเป็นหลักเดือนหรือปีในการวินิจฉัยโรคลูปัส บางครั้งแพทย์อาจใช้เครื่องมือและการตรวจอื่นๆ ช่วยในการวินิจฉัยโรค ได้แก่
- การตรวจร่างกายทั้งหมด
- การตรวจประวัติการเจ็บป่วยและอาการ
- การตรวจเลือดและปัสสาวะ
- การตรวจชิ้นเนื้อไต (โดยตัดเอาเนื้อเยื่อไตชิ้นเล็กๆซึ่งจะตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์)
- การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนัง
เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง คุณอาจต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาให้แพทย์พิจารณาด้วย
- อาการทั้งหมดที่คุณเป็น
- ประวัติการรักษาพยาบาลของครอบครัว
- ยารักษาโรคและอาหารเสริมทั้งหมดที่คุณใช้อยู่
- ตัวกระตุ้นใดๆก็ตามที่อาจทำให้อาการของคุณแย่ลง
ที่มาของข้อมูล
- Mayo Clinic, Lupus (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lupus/symptoms-causes/syc-20365789)
- Yvette Brazier, What is Lupus, (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323653.php)