แดดในช่วงนี้แรงจนส่งผลร้ายต่อผิวหนัง ออกแดดครู่เดียวก็เกิดอาการแสบร้อนผิวและออกอาการเหมือนจะเป็นลม ช่วงเวลาที่สาธารณสุขแจ้งว่าควรหลบเลี่ยงแดดเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง คือ 10.00-15.00 น. ซึ่งรังสีอุลตราไวโอเลตมีความเข้มข้นสูง เป็นช่วงที่ผิวจะมีโอกาสรับอันตรายจากแสงแดดได้มาก
1. แสงแดดทำให้ผิวไหม้
หากช่วงนี้ใครอยากได้ผิวสีแทนแล้วไปตากแดดอาจต้องผิดหวัง เพราะนอกจากผิวจะไม่เป็นสีแทนดังคิดแล้ว อาจได้ผิวไหม้กลับมาอีกด้วย โดยเฉพาะช่วงที่รังสียูวีมีความเข้มข้นสูงมากเป็นพิเศษ ก็จะสามารถแผดเผาเซลล์ผิวหนังให้เสียหายได้ง่ายๆ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผิวที่โดนแดดก็จะได้รับรังสียูวีเกินขนาด จนทำให้เส้นเลือดไหลเวียนมาที่เซลล์ผิวที่ถูกรังสียูวีทำลาย จึงเป็นสาเหตุให้ผิวมีสีแดงจัด และเกิดการไหม้เกรียมแดดในเวลาต่อมา
2. แสงแดดทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง
เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดดจัดนานๆ รังสี UV จะเข้าทำลาย DNA (Genotoxic) จนอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในแสงแดดจะมีสารกระตุ้นมะเร็งอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้รับแสงแดดจัดโดยตรงเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น
3. แสงแดดทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย
เป็นที่รู้กันว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่ช่วยป้องกันและต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่อาจทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า รังสียูวีที่ทำให้ผิวเกิดอาการไหม้แดดอาจจะส่งผลกระทบถึงการกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ และอาจส่งผลกระทบถึงระบบภูมิคุ้มกันได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถูกแดดเผา
ซ้ำร้ายหากโดนรังสียูวีทำร้ายซ้ำบ่อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ
4. แสงแดดทำให้ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
เนื่องจากรังสียูวีอาจเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายดายขึ้นโดยเฉพาะจากปรสิต
นอกจากนี้เมื่อเหงื่อออกมากเปียกเสื้อผ้าที่สวมใส่ เกิดความอับชื้นตามซอกข้อพับผิวหนังต่างๆ ยิ่งอุณหภูมิสูงยิ่งทำให้เกิดผดผื่นง่ายขึ้น หรือเด็กๆ มักชอบออกไปวิ่งเล่นกลางแจ้ง ผิวหนังสัมผัสกับสิ่งสกปรก ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบได้อีก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
5. แสงแดดทำให้เป็น โรคผิวหนัง และโรคระบบอื่นๆ กำเริบ
แสงแดดอาจทำให้โรคผิวหนังและโรคอื่นๆ หลายโรคกำเริบขึ้นได้ เช่น โรคลมพิษจากแสงแดด โรคเอสแอลอี และโรคติดเชื้อเริม เป็นต้น
6. แสงแดดทำให้ผิวพรรณเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร
เนื่องจากรังสียูวีสามารถเข้าไปทำลายคอลลาเจนในเซลล์ผิวและเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดปัญหาริ้วรอย จุดด่างดำ ความหมองคล้ำ หรือริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย และไม่เฉพาะแต่ที่ผิวหน้าเท่านั้น
ส่วนผิวที่โผล่พ้นร่มผ้าอย่างผิวบริเวณคอ แขน หรือขา ก็อาจจะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ทางที่ดีเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนจึงควรทาครีมกันแดดปกป้องผิวก่อนจะออกแดดทุกครั้ง
7. แสงแดดทำให้กระจกตาอักเสบ
หากปล่อยให้รังสียูวีทำร้ายดวงตานานๆ อาจทำให้เป็นกระจกตาอักเสบได้ โดยจะมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง และตาแดง จากนั้นจะลามไปเป็นต้อเนื้อ ต้อลม หรือต้อกระจกได้
8. แสงแดดทำให้เป็นโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจกเกิดขึ้นได้ง่ายจากรังสียูวี และยังทำให้จอตาเสื่อมสภาพลงอีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้มีการสันนิษฐานว่า ยูวีอาจไปกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน และอาจไปทำให้เกิดปฏิกิริยากับไขมันที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
สำหรับอาการของโรคต้อกระจกก็คือ เลนส์ที่แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวไปทีละน้อยๆ ซึ่งหากเป็นมากๆ ความขุ่นมัวก็จะลุกลามเข้าไปถึงส่วนกลางของกระจกตา จนทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนปกติ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
9. แสงแดดทำให้เป็นโรคต้อเนื้อ
โรคต้อเนื้อคือโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเยื่อบุตา จนกลายเป็นเนื้อสีแดงรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในตาดำ สาเหตุเกิดจากเยื่อบุตาส่วนนั้นถูกแสงยูวีจากดวงอาทิตย์มากเกินไป ซึ่งหากเป็นต้อเนื้อแล้วจะรู้สึกเคืองตา คันตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล
โดยอาการจะเป็นมากขึ้นหากไปอยู่กลางแจ้ง หรือโดนแดดโดนลม ผู้ที่ยังมีอาการไม่มากอาจไม่ส่งผลอะไรมากนัก แต่หากต้อเนื้อลุกลามไปบดบังตรงกลางของกระจกตา ก็จะมีผลต่อการมองเห็น
10. แสงแดดทำให้เป็นกระแดดและฝ้า
กระแดดและฝ้าสามารถเกิดได้โดยมีสาเหตุจากการที่รังสียูวีเอและแสงช่วงที่ตามองเห็น (Visible Light) เข้าไปกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีเมลาโนไซต์ (Melanocyte) จนทำให้ผลิตเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ซึ่งอยู่ในผิวหนังชั้นนอกส่วนล่าง (Epidermis) ออกมาจึงทำให้มีการทำงานมากผิดปกติ ยิ่งมีเมลานินมาก ผิวก็จะยิ่งมีสีเข้ม สามารถมองเห็นผิวหนังมีสีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นรอยจุดๆ เล็กที่เรียกว่ากระ หรือเป็นปื้นๆ ที่เรียกว่าฝ้า ซึ่งสาเหตุก็เพราะแสงแดดทำร้ายด้วยกันทั้งนั้น
เนื่องจากประเทศไทยเรามีแนวโน้มจะร้อนและแสงแดดแรงกล้ามากขึ้นทุกที ทางที่ดีอย่าออกไปกลางแจ้งช่วงที่แดดแรงๆ จะดีที่สุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทาครีมกันแดดอย่างน้อยสัก 15 นาทีก่อนออกแดด กางร่ม สวมเสื้อผ้าแขนขายาว สวมหมวก และสวมแว่นกันแดดทุกครั้ง เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่ต้องโดนแสงแดดปริมาณมากมาทำร้าย
ดูแพ็กเกจบำรุงผิวหน้า เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android