ความหมายของโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นภาวะความผิดปกติของตาที่พบได้มากที่สุด โดยโรคนี้เกิดขึ้นจากเลนส์แก้วที่ตาเกิดความเสื่อมสภาพ จนสูญเสียสภาพความโปร่งแสงไป และเกิดการขุ่นมัวภายในแก้วตา
โรคต้อกระจกมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี เช่น โปรตีนภายในเลนส์แก้วตาไม่สามารถละลายน้ำได้จนทำให้เกิดความขุ่น เลนส์แก้วตามีแคลเซียมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เลนส์ตาแข็ง มักพบมากในผู้ป่วยสูงอายุ และจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่แย่ลง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุของโรคต้อกระจก
โดยปกติ แก้วตาของผู้ใหญ่จะประกอบด้วยน้ำ 65% และโปรตีน 35% ซึ่งแก้วตานี้อาจเกิดการขุ่นตัวขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น
- ได้รับออกซิเจนลดลง หรือได้รับโซเดียมและแคลเซียมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ได้รับโพแทสเซียม กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) และโปรตีนลดลง
- ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet: UV) จากแสงแดดมากเกินไป
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต้อกระจกเพิ่มมากขึ้น ได้แก่
- มีอายุมากขึ้น
- โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่
- โรคอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์
- เคยได้รับบาดเจ็บที่ดวงตามาก่อน หรือมีภาวะการอักเสบของตา
- เคยผ่าตัดดวงตามาก่อน
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) เป็นเวลานาน
- บริโภคแอลกอฮอล์มากเกินพอดี
อาการของโรคต้อกระจก
อาการแรกเริ่มของโรคต้อกระจกที่สังเกตได้ คือ สายตาของผู้ป่วยจะมัวลง เนื่องจากแก้วตาขุ่น โดยจะเริ่มจากอาการตามัวน้อยๆ เหมือนมีหมอกหรือกระจกฝ้ามาบัง และจะเริ่มมัวมากขึ้นจนมองไม่เห็น แต่ไม่มีอาการปวดตาร่วมด้วย
ส่วนอาการอื่นๆ ของโรคต้อกระจกที่พบได้ จะได้แก่
- ตาจะมัวเมื่ออยู่ในที่สว่างจ้า ซึ่งเกิดจากรูม่านตาหด
- การมองเห็นดีขึ้นเมื่ออยู่ในที่ร่ม
- เห็นภาพซ้อน (Diplopia) ในตาข้างที่เป็น
- มีอาการกลัวแสง (Photophobia)
- สายตาอาจสั้นลงในระยะแรกที่เป็นต้อกระจก เนื่องจากแก้วตามีความนูนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ หากลองส่องไฟไปที่บริเวณม่านตาของผู้ป่วยโรคต้อกระจก จะเห็นรูม่านตาผู้ป่วยเป็นสีขาว และเมื่อตรวจด้วยเครื่องตรวจภายในลูกตาหรือเครื่องส่องดูตา (Ophthalmoscope) จะพบว่าบริเวณรูม่านตามีเงาดำตามขนาด และรูปร่างของแก้วตาที่ขุ่นไป
การวินิจฉัยโรคต้อกระจก
ผู้ป่วยโรคต้อกระจกมักมีประวัติตามัวลงเรื่อยๆ โดยไม่มีอาการปวด และจะตามัวมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ๆ มีแสงสว่างมากๆ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดังนั้นเมื่อสอบถามอาการเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะตรวจตาเบื้องต้นด้วยการส่องไฟฉายดูความผิดปกติ ซึ่งจะเห็นรูม่านตาเป็นสีขาว เนื่องจากแก้วตาขุ่นขาว นอกจากนี้ ยังมีการตรวจวัดค่าสายตาซึ่งมักจะพบว่า ผู้ป่วยมีระดับสายตาลดลง
จากนั้นแพทย์อาจตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตรวจนัยน์ตาชนิดลำแสงแคบ (Slit lamp) เพื่อให้สามารถแยกประเภทความขุ่นของแก้วตาได้ว่า เป็นความขุ่นบริเวณไหน
การรักษาโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจกสามารถรักษาได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. การผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออก (Extracapsular cataract extraction: ECCE)
ซึ่งแต่เดิมแพทย์จะนิยมใช้การผ่าตัดนำเลนส์ออกพร้อมทั้งเปลือกหุ้มเลนส์ โดยใช้ความเย็นแตะที่เลนส์แล้วค่อยๆ ดึงออกมา (Intracapsular Cataract Extraction: ICCE)
แผลจากการผ่าตัดชนิดนี้จะกว้างยาวเกือบครึ่งหนึ่งของรอบตาดำ และหลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 7-10 วัน และต้องระมัดระวังการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงต้องใส่แว่นตาต้อกระจก ซึ่งจะทำให้มองเห็นภาพได้โตขึ้น แต่จะมองไม่เห็นด้านข้าง
2. การใส่เลนส์เทียม (Intraocular Lens: IOL)
เป็นการนำเลนส์เทียมเข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาที่ขุ่น และแพทย์จะนำเอาคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เข้ามาช่วยในการสลายแก้วตาแล้วดูดออกมา (Phacoemulsification)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การใส่เลนส์เทียมจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ชัดขึ้น แต่เมื่อใดที่ไม่ได้ใส่เลนส์เทียม ผู้ป่วยจะต้องใส่คอนแทคเลนส์ หรือแว่นตาแทน
ในระยะแรกของโรคต้อกระจกอาจไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้น แต่ในเวลาต่อมา ต้อกระจกจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลต่อการมองเห็นได้ องค์การอนามัยโลกยังได้กล่าวไว้ด้วยว่า โรคต้อกระจกเป็นสาเหตุของการตาบอดที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษาโรคต้อกระจก
ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรซ้อนหลังจากการผ่าตัดต้อกระจกได้ เช่น
- ตาอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
- มีเลือดออกภายในตา
- เป็นโรคต้อหิน
- หนังตาตก
- จอประสาทตาลอก
- กระจกตาบวม
- มีสารน้ำสะสมอยู่ภายในจอประสาทตา
- สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมด
- เห็นภาพซ้อน หรืออาจเกิดปัญหาจากเลนส์เทียมที่ใส่เข้าไป เช่น เลนส์หลุดออกจากที่ หรือการเกิดต้อกระจกขึ้นใหม่ (Secondary cataract)
การฟื้นฟูภายหลังจากการรักษาโรคต้อกระจก
ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นและไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยจะไม่สามารถขับรถกลับได้เองในวันที่ผ่าตัด
ดังนั้นแพทย์มักจะแนะนำให้หาคนใกล้ชิดมาเป็นเพื่อน ให้หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และหลีกเลี่ยงการย่อตัวในช่วงหลายวันแรกหลังการผ่าตัด อีกทั้งในขณะที่ร่างกายกำลังฟื้นฟู ผู้ป่วยอาจมีอาการเหล่านี้ที่บริเวณแผลผ่าตัดได้
- คัน
- รู้สึกไม่สบายเล็กน้อย
- มีสารคัดหลั่งออกมา
- ตาไวต่อแสง และการสัมผัส
นอกเหนือจากอาการเหล่านี้แล้ว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา หรือการเพิ่มความดันภายในตา รวมทั้งอาจต้องใส่แว่นป้องกัน หรือแว่นกันแดดบ่อยๆ เพื่อช่วยปกป้องตาจากแสงแดด และฝุ่นละออง
นอกจากนี้ แพทย์อาจมีการสั่งยาหยอดตาชนิดพิเศษ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ และควบคุมระดับความดันภายในตาด้วย ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว จะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในเวลา 8 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
การดูแลตนเองทั้งก่อน และหลังเข้ารับการรักษา
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค
แพทย์จะให้ความรู้เรื่องโรคต้อกระจก อาการ และการรักษา ตลอดจนผลเสียที่จะตามมาหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และอธิบายขั้นตอนการผ่าตัดอย่างง่ายและชัดเจน รวมทั้งการปฏิบัติตัวก่อน และขณะผ่าตัด
2. เตรียมพร้อมร่างกายก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนภายหลัง
เช่น เจาะเลือด ตรวจนับเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ตรวจดูเชื้อเอดส์ ตรวจปัสสาวะ ถ่ายภาพรังสีทรวงอก ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (สำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวาน) วัดความดันเลือด ล้างท่อน้ำตา และตรวจวัดกำลังหักเหแสงของแก้วตาเทียม
3. ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องตัดขนตา ล้างตา และหยอดตาข้างที่จะทำผ่าตัดตามแผนการรักษาของแพทย์ ในขั้นตอนการผ่าตัดต้อกระจกนั้นไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ แต่จะเป็นการฉีดยาชาเฉพาะที่
ดังนั้นขณะทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่งๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และพยาบาล
4. การนอนพักที่โรงพยาบาล
โดยทั่วไปผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลยภายหลังผ่าตัด และต้องมาพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้นเพื่อติดตามผลการรักษา ยกเว้นในผู้ป่วยรายที่มีปัญหาซับซ้อน หรือเดินทางไม่สะดวก ก็จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 วัน คือ ก่อนผ่าตัด 1 วัน และหลังผ่าตัด 1 วัน
5. ระมัดระวังแผล และหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง
หลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องปิดผ้าปิดตา (Eye pad) และครอบที่ปิดตา (Eye shield) ข้างที่ผ่าตัดไว้ รวมทั้งระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ไม่ก้มหน้า ไม่สั่นหน้า ไม่ไอ หรือจามแรงๆ และไม่นอนตะแคงด้านที่ผ่าตัด
นอกจากนี้ผู้ดูแลจะต้องป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ประเมินการมองเห็นของผู้ป่วย จัดวางของให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการสะดุด หรือหกล้ม
6. ทำความสะอาดแผลให้สะอาดเสมอ
หลังผ่าตัดต้อกระจกแล้ว ผู้ป่วยควรใช้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาเมื่อปวดตา รวมถึงเช็ดตาข้างที่ทำการผ่าตัด หยอดตาตามแผนการรักษาทุกวัน ทำความสะอาดใบหน้าโดยเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า เพื่อไม่ให้น้ำเข้าตาข้างที่ผ่าตัด
นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องระมัดระวังไม่ขยี้ตา และไม่ให้นิ้วแยงตา ไม่ก้มหน้าสระผม แต่ใช้วิธีนอนหงายให้ผู้อื่นสระให้แทน
7. ระมัดระวังแสงแดด
โดยผู้ป่วยจะต้องสวมแว่นตากันแสงไว้ตลอดเวลา หากต้องออกนอนบ้านก็ควรสวมแว่นตากันแดดด้วย
8. หมั่นติดตามอาการกับแพทย์
ผู้ป่วยจะต้องมาตรวจตาตามแพทย์นัดทุกครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ปวดตา ตาแดง หรือมีขี้ตามาก ให้มาพบแพทย์ก่อนนัดได้ และอย่าปล่อยให้อาการเรื้อรังไว้เด็ดขาด
โรคต้อกระจกสามารถทำให้คุณเสียการมองเห็น และใช้ชีวิตประจำได้ลำบากขึ้นหลายเท่าตัว เมื่อรู้สึกว่าดวงตาเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที นอกจากนี้ คุณยังควรหมั่นไปตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำด้วย
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพตา โรคเกี่ยวกับดวงตา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
้เราจะสามารถบำรุงสายตาได้ยังไงค่ะ?